เผยความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก

พุธ ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๒๒
เผยความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กโดยใช้ไขกระดูกจากแม่หรือพ่อสำเร็จ ซึ่งเดิมต้องจากพี่น้องเท่านั้น

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง เลขาธิการ กองทุนโรคมะเร็งในเด็กในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เปิดเผยว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กซึ่งอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี มีอุบัติการณ์ในแต่ละปีสูงกว่า 1,000 ราย โดยโรคมะเร็งเด็กที่พบมากที่สุดคือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ร้อยละ 30 รองลงมาคือโรคมะเร็งสมอง ร้อยละ 20 โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ร้อยละ 15 โรคมะเร็งต่อมหมวกไต ร้อยละ 10 ส่วนโรคมะเร็งไต โรคมะเร็งกระดูกและกล้ามเนื้อลาย โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งลูกนัยน์ตา และโรคมะเร็งอื่นๆ พบในสัดส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 5 แต่พบว่าโรคมะเร็งในเด็กมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่าผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเด็ก แบ่งเป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน โดยร้อยละ 80 ของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันในเด็กเป็นชนิด acute lymphoblastic leukemia (ALL) ส่วนอีกประมาณร้อยละ 20 เป็นชนิด acute myeloid leukemia (AML) ซึ่งในปัจจุบันอัตราการรอดชีวิตที่หมายถึงการหายขาดจากโรคของ ALL มีได้ประมาณร้อยละ 80 จากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด ส่วน AML มีอัตราการรอดชีวิตประมาณร้อยละ 50 จากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด แต่ถ้าได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกจะมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 เช่นเดียวกัน

แต่การปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นเซลตัวอ่อนจากผู้ให้จะต้องมีเนื้อเยื่อ HLA (Human Leukocyte Antigen) ตรงกันกับผู้ป่วย โดยผู้ที่จะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันได้จะต้องเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน แต่โอกาสที่พี่น้องท้องเดียวกันจะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าพี่น้องของผู้ป่วยจะมีโอกาสให้ไขกระดูกกับผู้ป่วยได้ทุกราย สำหรับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พี่น้องท้องเดียวกันที่จะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันกับบุคคลทั่วๆ ไปมีโอกาสประมาณ 1: 50,000 เท่านั้น ล่าสุดแพทย์ทางโรคมะเร็งในเด็กได้ค้นคว้าวิจัยเอาไขกระดูกจากแม่ พ่อหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พี่น้องท้องเดียวกันมาใช้ในการปลูกถ่ายไขกระดูกได้สำเร็จ ซึ่งเดิมใช้ไม่ได้เนื่องจากมีปฏิกิริยาต่อต้านเป็นอย่างมาก แต่การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายสูงรายละ ประมาณ 1ล้านบาท

ปัจจุบันยังมี ผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กอีกเป็นจำนวนมากที่ขาดโอกาสในการเข้ารับการรักษาเนื่องมาจากความขาดแคลนทุนทรัพย์ กำลังรอรับการช่วยเหลือจากกองทุนฯ แต่กองทุนยังขาดแคลนปัจจัยสนับสนุนอีกมากและคงเป็นเรื่องที่น่ายินดีหากท่านได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมแบ่งปันน้ำใจช่วยคืนชีวิตใหม่ที่สดใสให้แก่หนูน้อยเหล่านั้น เพียงร่วมบริจาคเข้าบัญชีชื่อ "กองทุนโรคมะเร็งในเด็ก ในพระอุปถัมภ์ฯ" ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา อ่อนนุช บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 133-2-08742-3 โดยใบเสร็จรับเงินสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.childrencancerfund.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ