"ปัจจัยที่กองทุน FIF ของบริษัทได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน เนื่องจากทีมผู้จัดการกองทุนมีมุมมองที่แม่นยำในการมองเห็นศักยภาพของการทำกำไรที่โดดเด่นของบางกลุ่มอุตสาหกรรม หรือสินทรัพย์ในบางภูมิภาค รวมทั้งให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อคัดสรรกองทุนหลัก ส่งผลให้ บลจ.กรุงศรี เป็นผู้นำด้านการคัดเลือกกองทุนหลักที่ลงทุนในต่างประเทศที่มีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอและได้รับการตอบรับที่ดีจาก ผู้ลงทุน อีกทั้ง ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวน และตลาดตราสารหนี้ไทยให้ผลตอบแทนลดลง ผู้ลงทุนจึงมีการจัดสรรเงินมาลงทุนยังกองทุน FIF เพิ่มขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนทุกสภาวะเศรษฐกิจ"
"FIF 2 กองทุนที่เป็นกองทุนดาวเด่นและมีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอของ บลจ.กรุงศรี เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นและมีนโยบายจ่ายปันผลทั้งคู่ ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเฮลธ์แคร์อิควิตี้ปันผล(KF-HEALTHD) มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลัก JP Morgan Global Healthcare Fund โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยต่อรอบปีบัญชี และกองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนเฮดจ์ปันผล(KF-HJAPAND) ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลัก Eastspring Investments – Japan Dynamic Fund โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยต่อรอบปีบัญชี"
"ล่าสุด ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กองทุน KF-HEALTHD ได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน มูลค่ารวมกว่า 187 ล้านบาท โดยกองทุน KF-HEALTHD มีการจ่ายเงินปันผลไปแล้ว 3 ครั้ง มูลค่ารวม 1.50 บาท/หน่วยลงทุน* นับจากวันจัดตั้งกองทุนในเดือนสิงหาคมปี 2557 ส่งผลให้ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุน KF-HEALTHD มีจำนวนลูกค้าใหม่เพิ่มสูงขึ้น 390% จากวันจัดตั้งกองทุน" (ข้อมูล : บลจ.กรุงศรี 25 มิ.ย. 58)
"รวมถึงกองทุนKF-HJAPAND ก็ได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนมูลค่ารวมกว่า 64 ล้านบาท โดยกองทุน KF-HJAPAND มีการจ่ายเงินปันผลไปแล้ว 1 ครั้ง มูลค่ารวม 0.50 บาท/หน่วยลงทุน* นับจากวันจัดตั้งกองทุนในเดือนกุมภาพันธ์ ปี2558 ทั้งนี้ กองทุน KF-HJAPAND มีจำนวนลูกค้าใหม่เพิ่มสูงขึ้น 197% จากวันจัดตั้งกองทุน" (ข้อมูล : บลจ.กรุงศรี 25 มิ.ย. 58)
"บริษัทยังมีมุมมองที่ดีต่อการกระจายการลงทุนในต่างประเทศ โดยสถานการณ์ในกรีซไม่ได้ส่งผลกระทบกับกองทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทแต่อย่างใด และบริษัทเล็งเห็นถึงโอกาสการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะกลาง–ยาว โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจเฮลธ์แคร์ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของประชากรทั่วโลกที่กำลังเข้าสู่วัยชราและมีอายุขัยยาวนานขึ้น จึงมีการใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้นถือเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจเฮลธ์แคร์ในหลายภูมิภาคทั่วโลก"
"นอกจากนี้ กองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นก็มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 (ข้อมูล : Eastspring Investments ณ 31 พ.ค. 2558) รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ บรรยากาศการลงทุนที่เป็นบวก และมุมมองที่ดีขึ้นของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการญี่ปุ่นที่เอื้อต่อการเติบโตของตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี" นายอลันกล่าว
หมายเหตุ:
*ประวัติจ่ายปันผลกองทุน KF-HEALTHD ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในเดือนสิงหาคม ปี 2557 (บาท/หน่วย) ธ.ค. 57=0.40 บาท / มี.ค. 58 = 0.75 บาท มิ.ย. 58 = 0.35 บาท
*ประวัติจ่ายปันผลกองทุน KF-HJAPAND ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2558 (บาท/หน่วย) มิ.ย. 58 =0.50 บาท
คำเตือน:
1. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
2. ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
3. กองทุน KF-HJAPAND, KF-HEALTHD มีการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก กองทุนจึงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ/ หรือการเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักได้ลงทุน
4.กองทุน KF-HJAPAND จะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในหลักทรัพย์สินในสกุลเงินตราต่างประเทศที่กองทุนถืออยู่ เทียบกับสกุลเงินบาท ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
5. กองทุน KF-HEALTHD จะไม่ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงิน จึงอาจมีความเสี่ยงสูงจากอัตราแลกเปลี่ยน/ หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนแรกเริ่มได้ ในอนาคต กองทุนอาจทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น