“สระบุรี” พร้อมพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัย

ศุกร์ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๓๑
"สระบุรี" พร้อมพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัย การันตีด้วย 2 ผลงานเด่นทั้งปัญหาสารเคมีในผักผลไม้และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำลดลง..อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

(เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา) นายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารระดับจังหวัดของจังหวัดสระบุรีซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีและกล่าวว่าที่ผ่านมารัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะยกระดับคุณภาพ ด้านบริการสาธารณสุขและสุขภาพประชาชน เน้นการจัดระบบบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยได้เร่งรัดให้ดำเนินงานนโยบายดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการป่วย การเสียชีวิต ด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย และในปีงบประมาณ 2558 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) ดำเนิน"โครงการบูรณาการระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2558" ขึ้น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายอาหารปลอดภัยของประเทศทุกระดับสอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยอาหาร (International Health Regulation : IHR, 2005) และแนวทางระบบการควบคุมอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศ (Codex Committee on Food Import and Export Inspection and Certification System : CCFICS ; CAC / GL 82 – 2013) ที่จะทำให้เกิดการบูรณาการจัดการระบบอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดเพื่อสร้างจังหวัดต้นแบบอาหารปลอดภัยในระดับบูรณาการ

สระบุรีนับเป็นจังหวัดที่2 ของการนำร่องพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัย จากการติดตามงานระบบอาหารปลอดภัยพบว่าจังหวัดสระบุรีมีการทำงานแบบบูรณาการและมีนโยบายของรัฐที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้งานอาหารปลอดภัยดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องส่งผลให้ระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยอยู่ในระดับอ้างอิง โดยพบว่าผลการตรวจวิเคราะห์หายาฆ่าแมลงในผักผลไม้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ในขณะที่ผลการตรวจหาค่าโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำลดลงจากร้อยละ 24.64ในปี 2556เหลือเพียงร้อยละ 11.18 ในปี 2558

ด้วยผลงานดังกล่าวจึงสามารถพัฒนาสระบุรีฯสู่การเป็นต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัยได้ ส่วนอีก 72 จังหวัดที่เหลือจะให้ประเมินตัวเองตามเกณฑ์ PFSS (Provincial Food Safety Standard)และ IHR (International Health Regulation)ซึ่งสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาต้นแบบบูรณาการงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดอย่างเป็นระบบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดให้ครบทั้ง 6 ประเด็น ตามมติเร่งรัดของกระทรวงสาธารณสุขคือ 1.น้ำดื่มและน้ำแข็ง 2.นมโรงเรียน 3. ผักและผลไม้ 4.เนื้อหมูและไก่ 5.เกลือไอโอดีน 6.การควบคุมสถานประกอบการค้าร้านอาหาร

นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระบุรีกล่าวเพิ่มเติมว่าจังหวัดสระบุรีได้มีการดำเนินงานอาหารปลอดภัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ได้มีการประเมินและค้นหาความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัยพบว่า ปัญหาที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี 2 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ และปัญหายาฆ่าแมลงปนเปื้อนในผักผลไม้ จึงได้มีการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหา สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพได้มีการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้าที่ใช้น้ำมันทอดอาหาร การให้ความรู้ในการสังเกตและตรวจสอบน้ำมันแก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนมอบป้าย "ร้านนี้ไม่ใช้น้ำมันเสื่อมสภาพ" แก่ร้านค้าที่มีผลการสุ่มตรวจน้ำมันทอดอาหาร มีค่าโพลาร์ไม่เกินมาตรฐาน 3 ครั้งติดต่อกัน สำหรับการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ นอกจากภาคราชการแล้วภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยเกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ส่วนผู้รวบรวมและผู้จำหน่ายได้มีระบบการตรวจสอบสารปนเปื้อนในผักผลไม้ก่อนออกสู่ท้องตลาด นอกจากนี้ตลาดวงษ์ทองซึ่งเป็นตลาดค้าส่งของจังหวัดสระบุรี ได้มีระบบการสุ่มตรวจสอบอาหารที่จำหน่ายและมีมาตรการดำเนินการกับผู้ประกอบการหากพบการปนเปื้อน จากผลการสุ่มตรวจเฝ้าระวังโดยรถหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ได้เก็บตัวอย่างอาหารในตลาด ตลาดนัด ตลาดค้าส่ง ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน โรงอาหารในโรงพยาบาล ตรวจวิเคราะห์หายาฆ่าแมลงในผักผลไม้พบปลอดภัย 100% สำหรับผลการตรวจหาค่าโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำพบลดลงจากร้อยละ 15.17 ในปี 2557 เหลือเพียง ร้อยละ 11.18 ในปี 2558

จากนั้นนายแพทย์ประวิ อ่ำพันธุ์ สาธารณสุขนิเทศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายธนชีพ พีระธรณิศร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัยและคณะ ได้ลงพื้นที่จังหวัดสระบุรีเพื่อประเมินผลและให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบคุณภาพอาหารปลอดภัยจังหวัด รวมทั้งลงตรวจเยี่ยมแปลงปลูกผักคลีนฟาร์ม อำเภอหนองแซง, สมเกียรติ ผักอร่อย อำเภอเมืองสระบุรี ซึ่งเป็นโรงงานคัด ตัดแต่ง แพ็คบรรจุผักสด มีห้องแลปที่ผ่านการประเมินจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นการเติมเต็มให้จังหวัดสระบุรี สามารถก้าวสู่การเป็นจังหวัดต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยทั้งในเรื่องของระบบข้อมูลและประสิทธิผลการดำเนินงาน ทำให้ประชาชนและผู้ที่มาเยี่ยมเยียนจังหวัดสระบุรีมั่นใจได้ว่าอาหารที่นี่มีคุณภาพและความปลอดภัยซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ