"ปีติพงศ์" ชี้หลังเกษตรกรร่วมมือหยุดสูบน้ำเข้านา ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้น เตรียมปูพรมเจ้าหน้าที่เกษตรสแกนเข้มพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบเพื่อเร่งช่วยเหลือเริ่มจันทร์ 20 กค.นี้

จันทร์ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๙
วันนี้ (18 ก.ค.58) นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์เพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี ณ สระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิชัยพัฒนา และลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์พื้นที่สุ่มเสี่ยงที่อาจจะขาดแคลนน้ำเพื่อพบปะเกษตรกรในพื้นที่ ต.หนองหมู อ.วิหารแดง จ.สระบุรี. จากนั้นได้รับฟังบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ณ ประตูระบายน้ำพระศรีเสาวภาค โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ (ปากคลองระพีพัฒน์แยกใต้) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีที่ได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าหลังจากนี้ไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งจากการติดตามปริมาณน้ำในสระน้ำพระราม 9 ที่มีความจุน้ำทั้งหมด 32 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 24 ล้านลูกบาตรเมตร และสามารถระบายน้ำออกไปใช้ได้อีก 12 ล้านลูกบาตรเมตร ซึ่งเพียงพอกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และโดยรอบสระเก็บน้ำ โดยมีพื้นที่ทางการเกษตร 2 หมื่นไร่ 700 ครัวเรือน

ส่วนสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัดหลังจากขอความร่วมมือเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด หยุดการสูบน้ำเพื่อการเกษตรเป็นการชั่วคราวมาตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น 12 เซนติเมตร ทำให้กรมชลปประทานสามารถระบายน้ำไปยังพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้เพิ่มมากขึ้นสำหรับภาคการเกษตร แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องขอความร่วมมือเกษตรกรหยุดสูบน้ำอีก 2 วัน เพื่อประเมินปริมาณน้ำที่คงเหลืออยู่จริง เพื่อนำมาจัดสรรให้แก่พื้นที่เกษตรตามลำดับความสำคัญ โดยไม่ส่งผลกระทบกับปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและผลักดันน้ำเค็มที่ปล่อยน้ำลงมาจาก 4 เขื่อนหลัก

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยการดึงน้ำฝั่งตะวันตก จากเขื่อนศรีนครินทร์-วชิราลงกรณ โดยระบายผ่านคลองจรเข้สามพัน ลงแม่น้ำท่าจีนแล้วผันเข้าคลองผ่านประตูน้ำผักไห่-เจ้าเจ็ด ลงแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางไทร นั้นแม้ว่าสามารถทำได้ แต่ไม่อยากทำ เพราะทราบดีว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเช่นกัน

นายปีติพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศคาดว่าจะมีพื้นที่ข้าวเสี่ยงได้รับความเสียหายประมาณ 1.4 ล้านไร่ โดยในวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคมนี้ กระทรวงเกษตร ฯได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ เพื่อสำรวจว่าพื้นที่ใดบ้างสุ่มเสี่ยงที่อาจจะขาดแคลนน้ำที่ชัดเจน เช่น พื้นที่ที่ปลูกข้าวและอยู่ระหว่างต้นข้าวตั้งท้อง พื้นที่ที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และพื้นที่ที่ปลูกข้าวหลังเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดก่อนจะประมวลผลเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ต่อไป อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือตอนนี้ ประกอบด้วย 1. การจ้างงานเพื่อปรับปรุงระบบชลประทาน 2.สนับสนุนเกษตรกรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แทนการปลูกข้าว 3.ส่งเสริมการหารายได้เสริมในชุมชน ทั้งเพื่อการบริโภคในชุมชนและเหลือจำหน่าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๑๘ รพ.ยันฮี และ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ประสาน องค์กรทำดี มูลนิธิกระจกเงา และ กัน จอมพลัง มอบน้ำดื่มและยารักษาโรค มูลค่ากว่า 6
๐๘:๓๔ โรงพยาบาลยันฮี ฉลองความสำเร็จ 40 ปี ตอกย้ำผู้นำด้านสุขภาพและความงามครบวงจร พร้อมมอบสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ผ่าตัดรักษาต้อเนื้อฟรี 20 ราย
๐๘:๔๓ อบรมผู้ประกาศฯ ไทยพีบีเอส อัดแน่นคุณภาพ มุ่งเตรียมพร้อมผู้ประกาศหน้าใหม่สู่วงการสื่อ
๐๘:๓๘ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ขอชวนร่วมงาน Global Day of Discovery และคอนเสิร์ตสุดพิเศษจาก บุรินทร์
๐๘:๔๔ คริสตี้ส์ เอเชีย: การประมูลศิลปะศตวรรษที่ 20/21 ในเดือนพฤศจิกายน
๐๘:๕๖ ไทยพีบีเอส จับมือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผลักดัน หม่อมเป็ดสวรรค์ สู่ตลาดคอนเทนต์ ระดับสากล ในงาน TIFFCOM
๐๘:๔๕ ครั้งแรกในไทย! ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจโรงงานสกัดแยกโลหะมีค่าจากวัสดุใช้แล้ว ยกระดับสู่มาตรฐานสากล
๐๗:๒๔ Chappell Roan ตอกย้ำความปัง HOT TO GO! ส่งวิดีโอแดนซ์รวมแก๊ง Pink Pony Club จาก South East Asia
๐๗:๕๗ JPARK ร่วมพิธีเปิด Tops สาขา JPark Avenue Nonthaburi
๐๘:๔๓ การเคหะแห่งชาติจับมือสปสช.นำร่องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ 5 ชุมชนฟรี