ภาคใต้!!เดินหน้าพัฒนาต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัยประเดิมแห่งแรกที่“ระนอง”

พุธ ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๕๙
(วันที่ 22 กรกฎาคม 2558)นายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวหลังเป็นประธานประชุมสรุปผลการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยและระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของอาหารจังหวัดระนองว่า ระนองถือเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้และเป็นจังหวัดที่3 ของประเทศในการพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัย โดยพบว่าระบบอาหารปลอดภัยของจังหวัดระนองมีจุดเด่นเช่นเดียวกับอุดรธานีและสระบุรีคือมีการทำงานแบบบูรณาการและมีนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้งานอาหารปลอดภัยมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง ระบบคุณภาพอาหารปลอดภัยของระนองอยู่ใน‘ระดับอ้างอิง’ ซึ่งพบว่าผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภคฯและน้ำแข็งหลอด ผ่านมาตรฐานระดับสูง มีร้าน อาหารที่ผ่านมาตรฐานClean Food Good Taste Plus ถึง 3 แห่ง มีสถานที่ผลิตอาหารที่ได้มาตรฐาน Primary GMP ต้นแบบ รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้าที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อไปว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์มุ่งเน้นการเสริมสร้างระบบคุณภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐานและมีการบริหารจัดการสุขภาพอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยในปี 2558 นี้ได้เร่งรัดให้ดำเนินนโยบายเรื่องอาหารปลอดภัยของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการป่วย การเสียชีวิต ด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) ดำเนิน “โครงการพัฒนาต้นแบบบูรณาการระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2558” ขึ้น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายอาหารปลอดภัยของประเทศทุกระดับ สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยอาหาร และแนวทางระบบการควบคุมอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศ ที่จะทำให้เกิดการบูรณาการจัดการระบบอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดเพื่อสร้างจังหวัดต้นแบบอาหารปลอดภัยในระดับบูรณาการ สำหรับเป้าหมายในปี 2558 นี้ จะมีการนำร่องพัฒนาต้นแบบจังหวัดอาหารปลอดภัยใน 4 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี สระบุรี ระนอง และเชียงราย ส่วนอีก 72 จังหวัดที่เหลือจะให้ประเมินตัวเองตามเกณฑ์ PFSS (Provincial Food Safety Standard) และ IHR (International Health Regulation) ซึ่งสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาต้นแบบบูรณาการงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดอย่างเป็นระบบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ใน 6 ประเด็นหลัก คือ 1.น้ำดื่มและน้ำแข็ง 2.นมโรงเรียน 3.ผักและผลไม้ 4.เนื้อหมูและไก่ 5.เกลือไอโอดีน 6.การควบคุมสถานประกอบการค้า ร้านอาหาร ตามมติเร่งรัดการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

นายธนชีพ พีระธรณิศร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดระนอง ถือเป็นจังหวัดหนึ่งในการนำร่องพัฒนาให้เป็นจังหวัดต้นแบบอาหารปลอดภัย ภายใต้ “โครงการพัฒนาต้นแบบบูรณาการระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2558” เนื่องจากเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน ติดต่อกับชายแดน (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์) มีด่านอาหารและยาในการส่งออกและนำเข้าอาหาร สสอป. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยของประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบอาหารทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งนอกและในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้จังหวัดระนองมีการพัฒนาระบบบริการด้านอาหารที่มีคุณภาพและมาตรฐานตลอดห่วงโซ่อาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ได้ทำการปรับปรุงและพิมพ์คู่มือเกณฑ์และกระบวนการมาตรฐาน (SOP) ให้จังหวัดระนองได้นำไปเป็นแนวทางการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารของจังหวัด ตลอดจนการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาจังหวัดต้นแบบอาหารปลอดภัยเพื่อรองรับระบบงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดระนองตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ

นายแพทย์สุริยะ คูหะรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนองเปิดเผยว่าได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เป็นแนวทางการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง และมุ่งมั่นพัฒนาองค์กร พัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบการดำเนินงาน เสริมสร้างขวัญกำลังใจ การทำงานเป็นทีมร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยมีการดำเนินงานอาหารปลอดภัยเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ได้มีการประเมินและค้นหาความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย พบว่า 1 ใน 5 ปัญหาสำคัญของจังหวัด คือ จุลินทรีย์ในน้ำบริโภคฯ/น้ำแข็งหลอด จึงได้มีการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหา โดยให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งภาคราชการและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีระบบการตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ ทำให้ผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท และน้ำแข็งหลอด ผ่านตามเกณฑ์ GMP ร้อยละร้อย รวมทั้งมีผลการตรวจวิเคราะห์ น้ำบริโภคฯ และน้ำแข็งหลอดผ่านมาตรฐาน 100% นอกจากนี้ยังมีระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า เช่น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ กระเพาะปลาตากแห้ง ปูเค็ม เป็นต้น โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าสารปนเปื้อนตกค้างไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่างในปี 2558 รวมถึงมีสถานที่ผลิตอาหาร Primary GMP เป็นต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้มีร้าน Clean Food Good Taste Plus ในจังหวัดถึง 3 แห่ง ได้แก่ 1.จ่าจ้าคอฟฟี่ 2.เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น3.ฟาร์มเฮ้าส์ ซึ่งการพัฒนาจังหวัดระนองสู่การเป็นจังหวัดที่มีต้นแบบระบบคุณภาพอาหารปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสื่อสารให้ประชาชน หน่วยงาน ผู้ประกอบการ สมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ตลอดจนการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ การประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้บริโภค ตระหนักและให้ความร่วมมือเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาดและได้มาตรฐาน เพื่อประชาชนจะได้ปลอดภัย มีสุขภาพดีและห่างไกลโรค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025