พพ. ชู “บางกระทุ่มโมเดล” หวังสร้างชุมชนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้พลังงานทดแทน

จันทร์ ๒๗ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๒๕
พพ. ชู “บางกระทุ่มโมเดล” หวังสร้างชุมชนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้พลังงานทดแทน นำร่องโครงการส่งเสริมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตกล้วยตากบางกระทุ่ม เป็นสินค้าโอทอป รสชาติอร่อยขึ้นแถมลดต้นทุนด้านพลังงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนปีละกว่า 6 ล้านบาทต่อปี และเตรียมขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ เช่น ชุมชนผลิตข้าวแต๋น และอาหารทะเลตากแห้ง เป็นต้น

นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธานในงานเปิดตัวโครงการส่งเสริมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน ที่ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก โดยได้เชิญนายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล ปลัดจังหวัดพิษณุโลก นายธงชัย ทุ่งโพธิแดง นายอำเภอบางกระทุ่ม ผู้บริหารจาก พพ. และผู้แทนจากชุมชนกล้วยตากบางกระทุ่ม เข้าร่วมงาน

นายธรรมยศ กล่าวว่า พพ. ได้ร่วมมือกับกลุ่มวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มาประมาณ 5 ปีแล้ว จนได้ต้นแบบที่เหมาะสมกับการอบกล้วยในเชิงพานิชย์ จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมระบบอบแห้งดังกล่าวที่ชุมชนกล้วยตามบางกระทุ่ม โดยในโครงการดังกล่าวได้จัดสร้างระบบอบแห้งแสงอาทิตย์ให้กับชุมชน จำนวน 30 ระบบ ให้แก่ผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของชุมชนและจัดตั้งกลุ่ม “บางกระทุ่มโมเดล” และเบื้องต้นผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะออกค่าใช้จ่ายร้อยละ 70 ในการติดตั้งเพื่อสร้างระบบอบแห้งดังกล่าว และพพ. ได้ให้การสนับสนุนส่วนหนึ่ง โดยขณะนี้โครงการ บางกระทุ่มโมเดล ที่ได้ใช้ระบบอบแห้งแสงอาทิตย์ดำเนินการติดตั้งเรียบร้อย และได้ผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ซึ่ง พพ. คาดว่าจะมีการขยายผลระบบอบแห้งแสงอาทิตย์นี้ ไปยังชุมชนอื่นๆ ที่สนใจต่อไป

ทั้งนี้ รูปแบบชุมชนบางกระทุ่มโมเดล แห่งนี้ ได้นำระบบอบแห้งแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตกล้วยตาก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของอำเภอบางกระทุ่ม หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “กล้วยตากบางกระทุ่ม” โดยกล้วยตากจะมีรสชาติหอมหวานอร่อย โดยการติดตั้งระบบอบแห้งแสงอาทิตย์ ได้ช่วยให้ชุมชนสามารถผลิตกล้วยตากที่มีคุณภาพได้เพิ่มขึ้น ลดความเสียหายจากการผลิตกล้วยตากที่เกิดจากการเปียกฝน แก้ปัญหาการรบกวนจากแมลงและสัตว์ต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนสูงถึงกว่า 6 ล้านบาทต่อปี และการติดตั้งระบบอบแห้งแสงอาทิตย์จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 2 ปี

“จากการสำรวจ พพ. พบว่า ระบบอบแห้งที่สมาชิกชุมชนได้รับจากโครงการ ฯ นี้ จะช่วยให้ผู้ผลิตกล้วยตากสามารถผลิตได้ทั้งปี ซึ่งจะช่วยให้ชาวสวนกล้วยซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนบางกระทุ่ม ขายกล้วยได้ราคาดีตลอดทั้งปีอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คนในหมู่บ้านมีงานทำตลอดทั้งปีเช่นกัน จากกิจกรรมที่ต่อเนื่องของการผลิตกล้วยตาก เช่น การปอกกล้วย และการแบนกล้วย เป็นต้น โดยโครงการนี้นอกจากจะทำรายได้ให้กับชุมชนแล้ว ยังจะช่วยให้เกิดการสืบสานวัฒนธรรมของชุมชนในการสร้างอาชีพให้ยั่งยืนอีกด้วย” นายธรรมยศกล่าว

สำหรับแนวทางการขยายผลของโครงการส่งเสริมระบบอบแห้งแสงอาทิตย์รูปแบบเดียวกับบางกระทุ่มโมเดลแห่งนี้ เบื้องต้น พพ. จะได้มีโครงการขยายผลไปยังชุมชนกล้วยตากในพื้นที่ข้างเคียง และชุมชนอื่น ๆ เช่น ชุมชนข้าวแต๋น และชุมชนผลิตอาหารทะเลตากแห้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ