จากผลของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Oxford Handbook of Training โดยStuart Elliot ในปี 2014 ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่แรงงานคนกว่า 80% ในโลกแห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึงในอีก 4-5 ปีนื้ หุ่นยนต์ไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง มนุษย์เป็นผู้สร้างหุนยนต์เหล่านี้ขึ้นมา ที่ผ่านมาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหุ่นยนต์มีอยู่ 3 สาขาวิชาหลักคือ 1)วิศวกรรมเครื่องกล 2)วิศวกรรมไฟฟ้า และ 3)วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันหุ่นยนต์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์แบบเดิมๆ อีกต่อไป วิศวกรในหลายมหาวิทยาลัยทำงานใก้ลชิดกับนักจิตวิทยาเพื่อสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานได้สอดคล้องกับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโลกของการเรียนรู้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง มีหลากหลายสาขาวิชาที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อย่างที่เราคาดเดาไม่ถึง มาเปิดโลกทัศน์กับความหลากหลายของอาชีพในด้านการสร้างหุ่นยนต์แห่งโลกอนาคตกับวิทยากรพิเศษ ดร.ธันยวัต สมไจทวีพร (ดร.ปอ) อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) นอกจากนี้แล้วท่านยังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับโลก เหรียญทองเหรียญแรกของประเทศไทยในงาน “ 40th International Exhibition of Geneva ” ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิท และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย