กรุงไทยปิดระบบอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว

อังคาร ๒๘ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๔:๐๙
ธนาคารกรุงไทยปิดระบบอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวของลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าไม่สามารถใช้บริการบางประเภท ในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคมนี้ ระหว่างเวลา 00.00 น. –03.00 น.

นางศิริพร นพวัฒนพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารจำเป็นต้องปิดระบบอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว ในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคมนี้ ระหว่างเวลา 00.00 น. – 03.00 น. เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขยายตัวของลูกค้าและธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยกระดับคุณภาพบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าของธนาคาร ไม่สามารถใช้บริการบางประเภท ได้แก่ บริการฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มและเอดีเอ็ม, การเบิกเงินหรือซื้อสินค้าด้วยบัตรเดบิต, KTB netbank, KTB Corporate Online, KTB Contact Center เฉพาะบริการตรวจสอบบัญชี, KTB BIZ Payment เฉพาะบริการตรวจสอบการยินยอมหักบัญชีเพื่อชำระค่าบริการ รวมทั้ง Booth Exchange ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

ธนาคารขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นชั่วคราวในครั้งนี้ หากลูกค้ามีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้า หมายเลข 02 111 1111

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ