CAC เชิญแปดผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนเสริมกระบวนการรับรอง

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๓๗
ดร. บัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ทางคณะกรรมการ CAC ได้เพิ่มข้อกำหนดเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระบวนการรับรองบริษัทที่ผ่านการประเมินตนเองว่ามีนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนด โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับในภาคเอกชนมาร่วมทำหน้าที่คณะกรรมการพิจารณารับรอง (Certification Committee) เพื่อเสริมมาตรฐานและความเข้มแข็งให้กับกระบวนการรับรอง

CAC เป็นโครงการที่บริษัทเอกชนเข้าร่วมโดยสมัครใจเพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจที่สะอาด ปลอดคอร์รัปชัน ล่าสุดมีจำนวนบริษัทเอกชนเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันกับ CAC แล้ว 485 บริษัท (เป็นบริษัทจดทะเบียน 280 บริษัท) ขณะที่จำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเพิ่มขึ้นเป็น 122 จาก 78 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557

"การเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการพิจารณารับรองจะทำให้ระบบการรับรองของ CAC เข้มแข็งมากขึ้นจากประโยชน์ที่จะได้จากความรู้และประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิในภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ตรงในการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระบวนการรับรองของ CAC ที่จะต้องรองรับจำนวนบริษัทเข้าร่วมโครงการที่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก" ดร. บัณฑิต กล่าว

คณะกรรมการพิจารณารับรอง (Certification Committee) ที่ผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ CAC ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ แปด ท่าน ซึ่งจะทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคำขอรับรองของบริษัทตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด

นอกจากนี้ ทาง CAC ได้เพิ่มข้อกำหนดให้บริษัทจัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการขอการรับรอง รวมถึงได้กำหนดกรอบเวลาให้บริษัทที่ยื่นประกาศเจตนารมณ์ต้องมีการดำเนินการให้ผ่านการรับรองภายใน 18 เดือนหลังการเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ หลังจากนั้นบริษัทจะต้องรอเวลาอีก 6 เดือนก่อนจะสามารถขอยื่นเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ใหม่

การประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันและการจ่ายสินบนของบริษัทที่เข้าร่วม ส่วนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC หมายถึงบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC และได้ผ่านกระบวนการประเมินตนเอง ที่มีการสอบทานและลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ว่าบริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตครบถ้วนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด ซึ่งกระบวนการรับรองของโครงการ CAC รวมถึงการชี้แจงข้อมูลและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้กับคณะกรรมการ CAC พิจารณา ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อสงสัยหรือบริษัทเคยมีข่าวเกี่ยวกับการทุจริตมาก่อน

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิแปดท่านที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ CAC ให้เป็นคณะกรรมการพิจารณารับรองที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 ดร. กอปร กฤตยากีรณ ประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองและรองประธานคณะกรรมการ CAC

2 นาย ประสัณห์ เชื้อพานิช กรรมการผู้แทนจากสภาวิชาชีพบัญชี

3 นาย ยุทธ วรฉัตรธาร กรรมการผู้ชำนาญด้านธรรมาภิบาล

4 นาย สุรพงษ์ ชูรังสฤษฎิ์ กรรมการผู้แทนจากสมาคมผู้ตรวจสอบภายใน

5 นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

6 นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้แทนบริษัทสมาชิกที่ผ่านการรับรองจาก CAC

7 นาย ยงเกียรติ์ กิตะพาณิชย์ กรรมการผู้แทนบริษัทสมาชิกที่ผ่านการรับรองจาก CAC

8 นาย อนุวัฒน์ จงยินดี กรรมการผู้แทนบริษัทสมาชิกที่ผ่านการรับรองจาก CAC

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CAC และรายชื่อของบริษัทที่ได้ประกาศเจตนารมณ์และผ่านการรับรองได้จาก: , http://www.thai-cac.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ