ปส. จัดกิจกรรมสัมพันธ์เครือข่ายเฝ้าระวังภัยทางรังสี ณ จังหวัดขอนแก่น

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๓๕
ด้วยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีภารกิจสำคัญในการกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเฝ้าระวังภัยทางรังสีจากสิ่งแวดล้อม โดยมีการติดตั้งสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสี รวมจำนวน ๒๐ แห่ง ในทุกภาคทั่วประเทศไทย โดยจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถานีเฝ้าระวังภัยดังกล่าวติดตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่ง ปส. มีแผนดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวสู่ประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น โดยกำหนดจัด "กิจกรรมสัมพันธ์เครือข่ายเฝ้าระวังภัยทางรังสี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)" ในวันศุกร์ที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องหน้าเมือง ชั้น ๓ โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น

ทั้งนี้ทางปส. เห็นว่า กิจกรรมดังกล่าวมีประโยชน์ และสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ลงสู่ท้องถิ่นต่อไปในอนาคต จึงขอเรียนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฯ ในวันและเวลาดังกล่าว และโปรดตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ภายในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ โดยสามารถติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๓๘ ๑๘๘๑ ต่อ ๓๐๑ หมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๓๘ ๓๓๒๕ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ