มรภ.สงขลา จับมือ บสย. ชี้ช่องผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุน

จันทร์ ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๖
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลา จับมือ บสย. พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย หวังเพิ่มศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินทุน ชี้ประเทศไทยควรให้ความสำคัญต่อการสร้างรายได้ชุมชน ในฐานะเศรษฐกิจฐานรากของสังคม

น.ส.อมราวดี วงศ์เทพ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลาเปิดเผยว่า ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ร่วมกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการSMEs เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดย่อมได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งเข้ารับการฝึกอบรมในหัวข้อการจัดทำแผนธุรกิจและการเตรียมแผนธุรกิจ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อขอสนับสนุนทางการเงิน วิทยากรโดย คณะอาจารย์และทีมงาน มรภ.สงขลา นอกจากนั้น ยังมีการให้ความรู้จาก บสย. เกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน อาทิ วิธีการเดินบัญชี (Bank Statement) การเตรียมเอกสารข้อมูลทางธุรกิจ การสรุปข้อมูลเพื่อขอสินเชื่อ เป็นต้น วิทยากรโดย นายคมสัน วัฒนวนาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บสย. ซึ่งโครงการที่จัดขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งด้านการบริหารการเงิน ต้นทุน การตลาด ตลอดจนได้ข้อมูลและรับทราบถึงหน่วยงานสนับสนุนที่สามารถให้คำปรึกษาทางการเงิน หรือการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและช่วยเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ เกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ประการสำคัญ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็ง และมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น

ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลา กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่สำคัญ และเป็นการกระจายความเสี่ยงของการขยายตัวในเศรษฐกิจระดับมหภาค ทดแทนการพึ่งพาบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพสินค้าและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลา และ บสย. จะเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อย สามารถพัฒนาธุรกิจในเขตภาคใต้ตอนล่างให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการทุกระดับ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

เศรษฐกิจระดับชุมชนและภูมิภาค เป็นเศรษฐกิจฐานรากที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ จะเห็นได้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และกำลังได้รับการผลักดันให้เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ชุมชน อย่างไรก็ตาม ในระดับจุลภาคความสำเร็จของเศรษฐกิจชุมชนในแต่ละชุมชนค่อนข้างแตกต่างกันตามฐานทุนของชุมชนและศักยภาพในด้านการประกอบการเชิงธุรกิจ อาทิ การจัดการองค์กร การเงิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด เป็นต้น ตลอดจนคุณภาพของงานฝีมือและการใช้เทคโนโลยีร่วม ฉะนั้นประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสนองตอบความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็วในภาวะที่มีการแข่งขันที่รุนแรง และความเสี่ยงสูงเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่เคยมีมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน” ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ