กฟผ. จับมือ องค์การสวนสัตว์ ปลูกป่าให้ช้างคืนถิ่น บนพื้นที่ 300 ไร่ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ป่าสมบูรณ์ หวังแก้ปัญหาช้างเร่ร่อน

อังคาร ๐๔ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๑๖
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 นายถาวร กุลโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการ “ปลูกป่า เพื่อช้างและสิ่งแวดล้อม ภายในโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และองค์การสวนสัตว์ โดยนับเป็นครั้งแรกที่ให้ขบวนช้างนำต้นกล้าที่ประกอบไปด้วย ต้นกันเกรา ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ รวมไปถึง ต้นมะกำ, ต้นมะค่าโมง, ต้นประดู่, ต้นยางนา ฯลฯ มาให้ปลูกบนพื้นที่ 300 ไร่

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ เป็นดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีการเลี้ยงช้างมากที่สุด ทำให้คนกับช้างมีความผูกพันเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การจัดโครงการปลูกป่าเพื่อช้างและสิ่งแวดล้อมล้อม จึงถือเป็นกิจกรรมดีๆ เพื่อช้าง เพื่อคน เพื่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมตามวิถีของชุมชนชาวกูย และชุนชนบริเวณโดยรอบให้มีส่วนร่วมในการรักษ์ป่าต่อไป

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฟผ.ได้ดำเนินโครงการปลูกป่าร่วมกับหน่วยงานต่างๆมาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน รวมพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศกว่า 4 แสนไร่ โดยในโครงการนี้ กฟผ. ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณปลูกและบำรุงรักษา โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2560 บนพื้นที่ 300 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสวนป่าดงภูดิน เพื่อต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน

ด้านนายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ กล่าวว่า โครงการปลูกป่าเพื่อช้างและสิ่งแวดล้อม ภายในโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ หรือ โครงการช้างคืนถิ่น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างอย่างยั่งยืน แก้ปัญหาช้างเร่ร่อนในเมืองหลวง พัฒนาคุณภาพชีวิตและดูแลสวัสดิภาพช้าง ซึ่งถือเป็นโครงการที่น้อมนำแนวพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงรับสั่งให้องค์การสวนสัตว์ดูแลและอนุรักษ์ช้างพันธุ์ไทย เนื่องจากช้างถือเป็นสัญลักษณ์ของชาติควรได้รับความคุ้มครองให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม การจัดโครงการปลูกป่าเพื่อช้างและสิ่งแวดล้อมฯ ครั้งนี้ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าให้มีความสมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตช้างและสวัสดิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนและชุมชนร่วมกันฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ช้างและคนในชุมชนได้มีพื้นที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลรักษาป่าในพื้นที่ธรรมชาติอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ