โจนาส กรัทเซอร์ ช่างภาพอิสระ ที่มีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพในเรื่องสิทธิมนุษยชน การแสวงหาผล ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นช่างภาพแห่งปี ประจำปี 2558 ซึ่งได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวน 4,000 ดอลลาห์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,500 ดอลลาห์สหรัฐ จากภาพข่าวประเภท “ในเหตุการณ์ข่าว” ส่วนผู้ชนะคนอื่นๆ ได้แก่ การถ่ายภาพประเภท ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว ภาพเล่าเรื่อง (Photo essay) และภาพถ่ายชุดพิเศษที่อุทิศให้กับ "สิ่งแวดล้อม" ซึ่งการถ่ายภาพได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท อินโดรามา จำกัด
การแข่งประกวดภาพถ่ายจากทั่วเอเชีย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสมาคมผุ้สื่อข่าวต่างประเทศ (เอฟซีซีที) และ ไลท์ร็อคเก็ต (www.lightrocket.com) แพล็ตฟอร์มภาพถ่ายที่ถ่ายในเอเชียที่ให้บริการแบบออนไลน์ให้กับ สมาชิกจากทั่วโลก ซึ่งในปีนี้ได้รับความสนใจในการส่งภาพถ่ายจากช่างภาพส่งร่วมประกวดมากกว่า 140 คน และภาพถ่ายจำนวนเกือบ 3,000 ภาพซึ่งผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 7 ประจำปี 2558 ได้แก่
ช่างภาพดีเด่นประจำปี : โจนาส กรัทเซอร์
ภาพในเหตุการณ์ข่าว
รางวัลที่หนึ่ง: โจนาส กรัทเซอร์ (การชุมนุมในประเทศไทย)
รางวัลชมเชย: พอลลา บรอนสไตน์(ผู้ลี้ภัยชาว โรฮิงญา ในเมียนมา)
ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
รางวัลที่หนึ่ง: โพรบาล ราชิด (คนงานเดินสายไฟในบังคลาเทศ)
รางวัลชมเชย: สก็อต บาร์บัวร์ (ราฟาเอล นาดาล ณ การแข่งขันเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน)
รางวัลชมเชย: มเดนนิส เอ็ม ซาบังงัน (สีสันของชีวิตในฟิลิปปินส์)
สิ่งแวดล้อม
รางวัลที่หนึ่ง: รูเบ็น ซัลกาโด เอสคุเดโร (พลังงานโซลาในเมียนมา)
รางวัลชมเชย: เดนิโล โอ วิคตอเรียโน จูเนียร์ (ผุ้ที่ไปโบสถ์เป็นประจำต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ)
รางวัลชมเชย: นาเรนดา ชเรสธา (การปกป้องป่าในเนปาล)
ภาพเล่าเรื่อง
รางวัลที่หนึ่ง: อนิค ราห์มัน (ภัยพิบัติเรือข้ามฟากในบังคลาเทศ)
รางวัลชมเชย: อาร์ทูโร โรดริเกย์ซ (ภาพถ่ายวิถีชีวิตผุ้คนในเมียนมา)
รางวัลชมเชย: มินซายาอูลย์ (การทำเหมืองหยกในเมียนมา)
ท่านสามารถเข้าชมภาพที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รวมถึงรางวัลชมเชยทั้งหมดของการแข่งขัน ได้ที่เว็บไซต์ http://www.lightrocket.com/fcct-lightrocket-contest/
การแข่งประกวดภาพถ่ายของเอฟซีซีที ไลท์ร้อคเก็ต มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2550 ที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จัก เป็นอย่างดีในฐานะงานประกวดภาพถ่ายที่สำคัญที่สุดของเอเชีย โดยเป็นงานที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในวงการช่างภาพที่เป็นการย้ำเตือนถึงความสำคัญของภาพถ่ายเชิงข่าวในภูมิภาคเอเชียนั้นเต็มไปด้วยชีวิตชีวา และเปี่ยมไปด้วยทักษะและความชำนาญแม้จะมีแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในวงการอุตสาหกรรมสื่อ ที่สร้างความลำบากในการเลี้ยงชีพให้เหล่าช่างภาพก็ตาม
ในการประกวดครั้งนี้เหล่าคณะกรรมการต่างแสดงความชื่นชมต่องานภาพถ่ายของ โจนาส กรัทเซอร์ ช่างภาพชาวสวีเดนซึ่งเกิดเมื่อปี 2524 กรัทเซอร์ได้ย้ายมาทำงานที่ประเทศไทยเมื่อปี 2552 กรัทเซอร์ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปทำงานทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในชมพูทวีปอยู่เป็นประจำ ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ลงบนหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารในแถบสแกนดิเนเวียน รวมไปถึง สื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเคยเป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงของการประกวดถ่ายภาพ ไอซีพี เบส ยัง โฟโทกราฟเฟอร์ ในปี2544
ทางคณะกรรมการรู้สึกประทับใจและแปลกใจเป็นอย่างมากกับผลงานในปีที่ผ่านของ โจนาส กรัทเซอร์ ที่รวบรวม เอาภาพถ่ายรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งเอเชียได้อย่างคลอบคุลมและรวดเร็ว และอยู่ในสภาพการทำ งานที่ ยากเย็นอยู่ตลอด งานของเขาเป็นนำเสนอด้วยมุมมองที่ลึกซึ้งราวกับรายงานสด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาพพื้นที่ที่ถูกลืม หรือในเขตพื้นที่ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ รูปถ่ายที่ส่งเข้าประกวดของเขานั้นรวมถึงการติดตาม เจ้าหน้าที่กฎหมายอิสลาม ที่่เป็นกองตำรวจส่วนขบวนการสันติภาพอาเจะห์ในประเทศอินโดนีเซีย และ โพรไฟล์ภาพชุดเยาวชนสตรี ในอินเดียที่กำลังรวมตัวกันเพื่อต่อสู้ กับการละเมิดสิทธิทางเพศ และการละเมิด ในรูปแบบอื่นๆ และชุดของภาพที่เผยให้เห็นความเสื่อมโทรม ของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินงานโรงฟอกหนัง ที่ไม่ได้มาตรฐานในบังคลาเทศ สิ่งที่คณะกรรมการรู้สึกต่อชุดภาพของกรัทเซอร์แต่ละชุดคือ การรายงาน ผ่านภาพถ่ายในมุมมองที่กว้างขึ้น จากการมีพื้นฐานทางวัฒธรรมที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ เหล่าคณะกรรมการยังประทับใจเหล่าภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดในหมวดของสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก หมวดหมู่พิเศษที่จัดตั้งขึ้นในปีนี้ มุ่งเน้นไปที่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในเอเชีย
เจ้าของรางวัลชนะเลิศในหมวดนี้ ได้แก่ รูเบ็น ซัลกาโด เอสคุเดโร ที่ได้ส่ง 10 ภาพถ่ายพอร์ทเทรต การใช้พลังงานโซลาในชีวิตประจำวันของชาวเมียนมา คณะกรรมการชอบในการหยิบประเด็น ที่สำคัญมานำเสนอ คือเรื่องความขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลของประเทศที่กำลังพัฒนานี้ คณะกรรมการ กล่าวว่า พวกเขาประทับใจ การเล่าเรื่องผ่านภาพถ่ายที่ดุซ้ำๆให้แตกต่างกันได้อย่างน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ เอสคุเดโร คือช่างภาพอิสระ ที่ลาออกจากอาชีพการเป็นนักเขียนแอนนิเมชั่นวิดิโอเกม เพื่อวิ่งตามความฝันของการเป็นช่างภาพ สารคดี เขาได้ใช้เวลาสองปีที่ผ่านมาทำงานในเมียนมา มีเป้าหมายเพื่อการสร้างความตระหนักให้กับประเทศนี้ ผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศจำนวนมาก รวมถึง ไทม์ จีอีดอ และ อัล จาซีรา-อเมริกา
เจ้าของรางวัลชนะเลิศในหมวดภาพในเหตุการณ์ข่าว หมวดภาพสารคดีพิเศษ และหมวดภาพชุด ได้รับเงินรางวัล จำนวน 1,500 ดอลลาห์สหรัฐ ผู้ชนะเลิศในหมวดสิ่งแวดล้อมได้รับเงินรางวัลจำนวน 2,000 ดอลลาห์สหรัฐ ช่างภาพดีเด่นประจำปี ได้รับเงินรางวัลจำนวน 4,000 ดอลลาห์สหรัฐเงินรางวัลทั้งหมดรวมเป็นจำนวนเงิน 10,500 ดอลลาห์สหรัฐ โดยเป็นความอนุเคราะห์ของ อินโดรามา เวนเจอร์ และ จีพี กรุ๊ป
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ จะจัดแสดงผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งหมดที่อาคารของสมาคม ระหว่างการแสดงนิทรรศการพิเศษ การแสดงนิทรรศการพิเศษนี้จะมีพิธีเปิดงานโดยกระทรวงการเที่ยว ในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 นี้ โดยเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมเป็นเกียรติเข้าร่วมชม นิทรรศการภาพถ่ายดังกล่าวในคืนวันงานประกาศรางวัล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และงานนิทรรศการ จะจัดแสดงไปจนสิ้นเดือนกันยายน
งานประกวดภาพถ่ายนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าขาดกำลังการสนับสนุนจากผุ้สนับสนุนที่มากมายของ สมาคมนักข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย และพันธมิตรสื่อมวลชน อย่างไลท์ร็อคเก็ต
ไลท์ร็อคเก็ต (www.lightrocket.com) คือแพล็ตฟอร์มออนไลน์อันทันสมัย ที่ให้บริการภาพถ่าย และภาพเขียนศิลปินจากทั่วโลก โดยจับมือกับผุ้นำในธุรกิจอย่าง เก็ตตี้ อิมเมจ ไลท์ร็อคเก็ต มอบบริการ ให้กับผุู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ และช่างภาพมืออาชีพอย่างจริงจัง เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุน นำเสนอ อนุรักษ์และแจกจ่ายผลงานของพวกเขาออกไป ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสในรายได้จากการขายภาพถ่าย ด้วยเช่นกัน
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตโพลีเอสเตอร์รวมของโลก และเป็นผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลเครื่องใช้ในครัวเรือนและส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ วัสดุสิ่งทอและอื่นๆ ซึ่งอินโดรามาคือผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันเอฟซีซี ที่ให้การสนับสนุน เงินรางวัลของการแข่งขันในปีนี้
จีพี กรุ๊ป เป็นกลุ่มคนที่ลงฐานอยู่ในกรุงเทพฯ ที่มีความสนใจในการทำเหมืองแร่ การบริการ ลอจิสติก การผลิต รวมถึงประเภทอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยเริ่มจากการเป็น บริษัทเทรดการค้าในเมียนมา เมื่อปี 2411
ไทย แอร์เอเชีย สายการบินต้นทุนต่ำ ที่ดำเนินงานภายใต้ปรัชญา “ใครๆ ก็บินได้” ที่ได้ เปลี่ยนภาคธุรกิจการบินในภูมิภาค ช่วยให้นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่มีโอกาสบินสู่ท้องฟ้าได้อย่างง่ายดาย จากเพียงหนึ่งในเส้นทางระหว่างกัวลาลัมเปอร์ และลังกาวี เมื่อปี 2545 ปัจจุบัน แอร์เอเชียบินไปกว่า88 จุดหมายปลายทาง และให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารไปแล้วกว่า 220 ล้านคน และยังคงเติบโตต่อไปเรื่อยๆ
โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ ประเทศไทย (ทีคิวพีอาร์) บริษัทอิสระชั้นนำ ให้บริการด้านการปรึกษาและเพิ่มมูลค่า ให้กับลูกค้าภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยทีคิวพีอาร์ให้การสนับสนุนทางด้านการจัดการและการปรึกษา ด้าน การประชาสัมพันธ์ ในการประกวดในปีนี้
บลูม ดิจิตัล โฟโต้ แล๊ป หนึ่งในแล็ปภาพถ่ายที่เชื่อถือได้มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ให้การสนับสนุน กับทางสมาคมฯมายาวนาน
ดอคคิวเมนทารี่ อาร์ท เอเชีย เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทย ให้การสนับสนุนการผลิต และการเผยแพร่ภาพถ่ายและภาพยนตร์เชิงสารคดีในเอเชีย ทางองค์กรมีออฟฟิซสูง2 ชั้น ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้บริการจัดการแผนงานอื่นๆ เพื่อเผยแพร่การทำงานเชิงสารคดี รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมและยังมีหลักสูตร3 เดือน สำหรับช่างภาพและผู้สร้างภาพยนตร์ ที่สนใจทำงานเกี่ยวกับวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือโครงการ เพื่อสิทธิมนุษยชนด้วย
การประกวดครั้งนี้ได้รับเกียรติจากช่างภาพมืออาชีพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางร่วมเป็นกรรมการตัดสินผู้ชนะในแต่ละประเภท
เซดริค อาร์โนล ช่างภาพสัญสองชาติอังกฤษ/ฝรั่งเศส เขาเริ่มอาชีพของเขาในลอนดอน และเบลฟัสต์ให้กับ เอเจนซี่ชื่อ ซิกมา ประจำอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่ปลายปี 2544 ปัจจุบันรับงานอิสระเป็นหลักทั้งในกรุงเทพฯ และลอนดอน มุ่งเน้นรบโปรเจ็คระยะยาวทั้งานถ่ายภาพพอร์ทเทรต และงานหนัง งานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ ในสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมาก อาทิ ไทม์ นิวส์วีค สเทิร์น ซันเดย์ ไทม์ส แมกกาซีน เอฟที เลอ มอนด์ และนิวยอร์ค ไทม์ส งานของเซดริคยังเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมขององค์กรเอกชน สถาบัน และพิพิธภัณฑ์ อาทิ เอสโอเอเอส มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน และชิ้นงานสะสมในหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ
แพทริค บาร์ตา เป็นบรรณาธิการของ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลและอดีตบอร์ดบริหารของสมาคมนักข่าวต่างประเทศ แห่งประเทศไทย ประจำอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่ปี 2547 บาร์ตา มุ่งเน้นไปที่การพัฒนา การสืบสวนโครงการขององค์กร เพิ่องานวารสารทั่วโลก รวมถึงโครงการที่บูรณาการภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และสื่อเชิงโต้ตอบ เขามีส่วนช่วยในการเปิดการแข่งประกวดภาพถ่าย เอฟซีซีที/ไลท์ร็อคเก็ต ในปี2550 และยังคงเป็นหนึ่งในกลุ่ม ผู้จัดงานหลัก
โรลองด์ เนอวู ช่างภาพชาวฝรั่งเศสที่ผ่านงานมาแล้วหลายประเทศทั่วโลก เขาค่อนข้างเป็นที่รู้จักอย่างดี ในผลงานภาพถ่ายช่วงที่เขมรแดงเข้ายึดกัมพูชาในปีพ.ศ.2518 เขาเดินทางเพื่อเก็บภาพเหตุการณ์ปะทะกัน ในตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน กลุ่มกบฏทัวเร็คในประเทศมาลี ทั้งยังรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์ ในแอฟริกา เขายังเป็นช่างภาพภาพนิ่งของการถ่ายทำภาพยนตร์มากมายทั้งในสหรัฐอเมริกาและเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เขาแต่งงานและมีบุตรสองคน อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535
ประวัติของผู้ชนะรางวัลในปีนี้
สกอตต์ บาร์เบอร์ คือช่างภาพมือรางวัล ที่เกิดที่ไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ที่เขาเริ่มอาชีพของเขาที่ เดลี่ เปเปอร์ ก่อนที่เขาย้ายสู่ออสเตรเลียและหลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปที่ลอนดอนเพื่อเป็นช่างภาพให้กับ เก็ตตี้ อิมเมจ ตั้งแต่ปี 2545–2551 ส่งภาพข่าวให้ในอังกฤษ ตุรกี ปากีสถาน และทั่วทุกที่ รางวัลของเขาในอดีตยังรวมถึงรางวัลชนะเลิศ ของการประกวดการประกวดภาพถ่าย โซนี่ เวิลด์ โฟโต้กราฟฟี อวอร์ดและ พิคเจอร์ ออฟ เดอะ เยียร์ อินเตอร์เนชันแนล (POYI)
พอลลา บรอนสไตน์ เป็นหนึ่งในช่างภาพที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในเอเชีย มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ด้านภาพข่าวในพื้นที่ที่มีการปะทะกัน และงานภาพประเภทสารคดี เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงหลายรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลพูลิเซอร์ ในสาขาภาพถ่ายนานาชาติยอดเยี่ยมแห่งปี รางวัลจากสมาคมช่างภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติ และรางวัลล่าสุดจากญี่ปุ่น (เดย์ เจแปน) เธอได้รับรางวัลช่างภาพดีเด่น จากการแข่งขันประกวดภาพถ่ายของ เอฟซีซีที/ไลท์ร็อคเก็ต ในปี 2553 เธอทำงานให้กับหนังสือพิมพ์แถวหน้า ของสหรัฐอเมริกา รวมถึง เดอะ ฮาร์ทฟอร์ด คูแรนท์ เดอะชิคาโก ทริบูน ก่อนที่จะย้ายเข้ามาประจำที่อยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นช่างภาพให้กับ เก็ตตี้ อิมเมจ อยู่มากกว่าสิบปี ก่อนที่จะออกมาเป็นช่างภาพอิสระ ที่ส่งงานประจำให้กับ เก็ตตี้ อิมเมจ
รูเบ็น ซัลกาโด เอสคูเดโร เป็นช่างภาพอิสระที่เกิดุในกรุงแมดริด ประเทศสเปน เขาเคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากกอาชีพการเป็นผู้สร้างสรรค์วิดีโอเกมส์ เพื่อเดินตามความฝันในการเป็นช่างภาพประเภทภาพถ่ายสารคดี รูเบ็นใช้เวลาสองปีหลังทำงานในประเทศเมียนมา โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจของทั่วโลกให้กับประเทศนี้ซึ่งผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ในสื่อแถวหน้า ของโลกมากมาย อาทิ ไทม (Time) จีอีโอ (GEO) และอัล จาซีรา-อเมริกา (Al Jazeera-America)
โจนัส เกร็ทเซอร์ เกิดเมื่อปีพ.ศ.2525 ที่สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เขาเริ่มทำงานในปีพ.ศ. 2549 ด้วยการเป็นผู้ช่วยช่างภาพ รวมทั้งยังเคยทำงานร่วมกับ โจนัส คาร์ลส์สัน ช่างภาพดังจากนิตยสาร Vanity Fair ด้วย จากนั้นอีก 3 ปี โจนัส เกร็ทเซอร์ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพและเริ่มต้นการทำงานเป็นช่างภาพข่าวอิสระ เขารับงานถ่ายภาพประเภทนี้ให้กับหนังสือพิมพ์Scandinavian Daily และหนังสือพิมพ์อื่นๆ จากหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพที่ถ่ายในประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่อยู่ในชมพูทวีป โจนัสได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจาก อินเตอร์เนชั่นเนล เซ็นเตอร์ อ็อฟ โฟโตกราฟี สาขาช่างรุ่นใหม่ยอดเยี่ยม ประจำปีพ.ศ.2554 เข้าใจความสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องจากสิ่งแวดล้อม สถานการณ์การเมือง โดยเฉพาะอย่างการปัญหาการค้ามนุษย์
มินซายาร์ อู ช่างภาพสารคดีและช่างภาพหนังสือพิมพ์จากนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เกิดปีพ.ศ.2531 ในนครย่างกุ้ง และเริ่มสนใจในสายงานสื่อสารมวลชนเมื่อ 4 ปีก่อน หลังเข้าอบรมการด้านการถ่ายภาพ และการถ่ายทอดเรื่องราวในเทศกาลงานYangon Photo มินซายาร์ พิเศษตรงที่เขาได้ประยุกต์ภูมิหลัง ที่เข้าเคยเป็นนักศึกษาแพทย์มาก่อนเข้าไปด้วย โดยภาพถ่ายที่เป็นภาพเกี่ยวกับการให้กำเนิดที่ถ่ายใน โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้งของเขาชนะรางวัลยอดเยี่ยมด้วย จากนั้นเขาจึงเริ่มการถ่ายภาพให้กับ สำนักข่าวต่างชาติหลายแห่ง รวมทั้งสำนักข่าวรอยเตอร์ นิวยอร์ค ไทมส์ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค และยังถ่ายภาพให้กับนิตยสารอื่นๆ อีกมากมายด้วย สำหรับผลงานภาพถ่ายที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น คือภาพถ่ายเกี่ยวกับการเมืองและเรื่องที่เป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมของประเทศเมียนมาร์ โดยภาพถ่ายของเขาถูกจัดแสดงในเทศกาลภาพถ่ายในหลายประเทศ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก จีนและญี่ปุ่น
อนิค ราห์แมน เกิดในปีพ.ศ.2531 ที่กรุงธากา ประเทศบังคลาเทศ เขาเป็นช่างภาพข่าวอิสระ ที่ฝึกฝนจากประสบการณ์ด้วยตัวเอง โดยทำงานส่วนใหญ่ในบ้านเกิดและมีบริษัท Nur Photo Agency จากอิตาลี และ Redux Pictures ของสหรัฐฯ เป็นตัวแทนดูแลด้านซื้อ-ขายผลงานภาพถ่ายของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนจบ ในสาขาการตลาดแต่เขากลับสนใจด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนี่เองที่ผลักดันให้เขากลายเป็น ช่างภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ภาพถ่ายของอนิคได้ถูกจัดแสดงในนิทรรศการในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ มาแล้วหลายครั้ง รวมทั้งในงาน Angkor Photo Workshops เขาได้รับรางวัลยกย่องหลายรางวัล เช่น รางวัล รางวัลชมเชยจากสมาคมช่างภาพข่าวแห่งชาติ ปี2557 รางวัล พอร์ทเทรต; ไฟนอลลิส; โฟโตรามา เฟส 2557 (Portraits; Finalist, Fotorama Fest 2014) และรางวัล ไฟนอลลิส แมคนัม30 อันเดอร์30 2558 (Finalist, Magnum 30 Under 30 ปี2558)
ปราบัล ราชิด ช่างภาพสารคดี จากรุงธากา ประเทศบังคลาเทศ ภาพถ่ายของเขา ได้รับการตีพิมพ์ ลงในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างประเทศมายมากหลายฉบับ เช่น นิตยสาร ฟอร์บ(Forbes) เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล (The Wall Street Journal) เดอะ เทเลกราฟ โฟกัส(The Telegraph Focus )ผลงานของปราบัล ไม่เพียงจะจัดแสดงในประเทศบ้าน เกิดเท่านั้น แต่ยังเคยตระเวนจัดแสดงมาแล้วทั้งใน เยอรมนี อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ขณะที่ผลงานบางส่วนของเขาได้รับการคัดเลือก ให้ไปจัดแสดงในส่วนแสดงถาวรของพิพิธภัณฑ์ Kiyosato Museum of Photographic Arts ประเทศญี่ปุ่นปราบัลยังคว้ารางวัล ที่ 1 ในการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว เอฟซีซีที/ไลท์ร็อคเก็ท 2553 ประเภทภาพถ่ายสารคดีอีกด้วย
อาร์ทูโร รอดริเกวซ เริ่มถ่ายภาพให้กับสำนักข่าว EFE (สำนักข่าวแห่งชาติของประเทศสเปน) ขณะที่เขามีอายุเพียง 17 ปี หลังจากนั้นเขาก็ทำงานถ่ายภาพให้กับหนังสือพิมพ์หลายแห่ง รวมทั้งสำนักข่าวแถวหน้าอย่าง รอยเตอร์ และสำนักข่าว APในสเปนมาหลายปี ต่อมาเขาทำงานเป็นช่างภาพอิสระอยู่ในหลายประเทศ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานของอาร์ทูโรปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ของประเทศสเปนและสื่อดังอย่าง The International Heral Tribune, The Washington Post, USA Today, Stern, Paris Match และ Greenpeace โดยในปีพ.ศ.2550 อาร์ทูโร ก็คว้ารางวัลมาได้อีกสองรางวัล หนึ่งในนั้นได้จากการแข่งประกวดภาพถ่ายผู้สื่อข่าวโลก
เดนนิส เอ็ม สะบางัน เป็นช่างภาพอาวุโสที่ ยูโรเปียน เพรสโฟโต้ เอเจนซี่ ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนที่เขาจะร่วมงานกับ epa ในปี 2546 เขาทำงานให้กับหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ของฟิลิปปินส์ ระหว่างปี 2549 – 2551 เขายังดำรงตำแหน่งประธานบริหารของศูนย์ช่างภาพนักข่าวที่ฟิลิปปินส์ ผลงานที่โดดเด่นของสะบางัน ได้แก่ ภาพข่าวเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี2547 เหตุการณ์ความไม่สงบในเมียนมา การต่อต้านผู้ก่อการร้ายในปากีสถาน และอัฟกานิสถานของอเมริกา การแข่งขันบอลโลก และบอลยูโร คัพ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ประจำปี 2551 และ 2555 การแข่งขันเทนนิสรายการ ออสเตรเลียน โอเพ่น ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน และการเสด็จเยือนฟิลิปปินส์ของ พระสันตะปาปา เป็นที่น่าเสียดาย สะบางัน เสียชีวิตลงแล้วเมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ บ้านเกิดของเขา เขาจะยังอยู่ในความทรงจำของทุกคน และการแข่งขันในปีนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง ของหน้าชีวประวัติของสะบางันด้วยเช่นกัน
นาเรนดรา ชเรสธธา เป็นช่างภาพข่าวจาก เนปาล เขาได้เข้าร่วมกับสถาบันนักข่าวนานาชาติในเบอร์ลิน และถ่ายภาพให้กับหลายสำนักข่าว ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับ ยูโรเปียน เพรสโฟโต้ เอเจนซี่ ในปี 2546 เขาได้บันทึก 2 หน้าประวัติศาสต์สำคัญของเนปาล อันได้แก่ เหตุการณ์การก่อจลาจลของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาชาวเมารี ระหว่างปี 2539 – 2548 และการชุมนุมก่อจลาจลครั้งใหญ่เมื่อปี 2549 นอกจากนี้ เขาคือคนที่เข้าไปเก็บภาพในการประชุมบนจุดที่สูงสุดของโลก การประชุมที่ฐานค่ายเอเวอร์เรสในปี 2552 เขาได้รับรางวัลเนปาล นิว แอคชีฟเวอร์ รางวัลยอดเยี่ยมของ งานภาพยนตร์นานาชาติในกาฐมาณฑุ และรางวัลยอดเยี่ยมจากงานประกวดภาพถ่ายระดับชาติเนปาล
เดนิโล โอ วิคทอเรียโน จูเนียร์ เป็นสมาชิกของสโมสรกล้อง ริซัล มีความสนใจทางด้านเหตุปัจจัยทางสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และสวัสดิภาพเด็ก เขาได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขาช่างภาพแห่งปีถึง 3 ปีซ้อน จาก สภาพันธ์ของมูลนธิช่างภาพฟิลิปปินส์ ได้แก่ปี2555 – 2557 และยังได้รับรางวัล Ani ng Dangal หรืองานไฮไลท์เฉลิมฉลองเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีในฟิลิปปินส์ ที่จัดโดย คณะกรรมการวัฒนธรรมและศิลปะแห่งชาติฟิลิปปินส์ ในปี 2555 และ 2558
ภาพถ่ายสำหรับการใช้งานร่วมกับข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้
การชุมนุมในประเทศไทย – รางวัลชนะเลิศ หมวดภาพในเหตุการณ์ โดย โจนาส กรัทเซอร์
หมายเหตุ ภาพถ่ายนี้สามารถใช้ร่วมกับข่าวประชาสัมพันธ์นี้ และข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว เอเชีย-แปซิฟิค 2558 ของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ(FCCT)/LightRocket เท่านั้น และหากมีการนำภาพนี้ ไปเพื่อการใช้งานอื่นๆ ต้องให้เครดิตลิขสิทธิ์ภาพกับ © Jonas Gratzer
สงวนลิขสิทธิ์สำหรับภาพถ่ายในการประกวดอื่นๆ
ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] กรณีต้องการภาพเพิ่มเติมหรือต้องการข้อมูลภาพเพื่อแบ่งปันที่หน้าเว็บไซท์ของคุณ