โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี คืนกำไรให้สังคม จัด “โครงการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ” พร้อมเปิด “สถาบันเต้านมสมิติเวช” ศูนย์กลางการรักษามะเร็งเต้านมอย่างครบครัน

พฤหัส ๐๖ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๔๗
โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ถือเป็นสาขาหนึ่งในเครือสมิติเวช ที่มุ่งเน้นและมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำที่พร้อมจะให้บริการชาวฝั่งธนบุรีได้อย่างครบครัน โดยได้จัดทำ “โครงการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ขึ้น พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำทางด้านการรักษามะเร็งเต้านม จึงได้เปิด “สถาบันเต้านมสมิติเวช” ขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการรักษามะเร็ง เต้านมที่มีประสิทธิภาพ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งทางด้านศัลยกรรมเต้านมและด้านมะเร็งวิทยา ในวันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2558 เวลา 9.30-12.00น. ณ บริเวณโถงกลาง ชั้น 1 อาคาร A โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี

นายแพทย์อดินันท์ กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี กล่าวเปิดงานว่า “เนื่องด้วยในปัจจุบันมะเร็งเต้านมคร่าชีวิตหญิงไทยสูงเป็นอันดับ 1 ปีละเกือบ 3,000 คน ป่วยกว่า 34,000 คน ล่าสุดพบผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากถึง 19 ล้านคน ดังนั้นโรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี จึงได้ก่อตั้ง “สถาบันเต้านมสมิติเวช” (Samitivej Breast Institute) เพื่อให้การดูแลรักษาเต้านมของสตรีอย่างครบครัน พร้อมกันนี้เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เราจึงได้จัดทำ “โครงการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล โดยการคัดเลือกผู้ป่วยมะเร็งเต้านมยากไร้ จากการส่งต่อโดยโรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 8 ราย พร้อมเชิญชวนผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เข้าร่วมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม จำนวน 83 ราย โดยสถาบันเต้านมสมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี จะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจของโรงพยาบาลที่ตั้งใจที่จะทำประโยชน์เพื่อช่วยเหลือสังคม”

พิธีเปิด “สถาบันเต้านมสมิติเวช” ในครั้งนี้ ได้มีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Save Your Breasts, Save Your Life” โดย ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งทางด้านศัลยกรรมเต้านมและด้านมะเร็งวิทยาชื่อดังทั้ง 3 ท่าน นำทีมโดย ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเต้านมสมิติเวช รพ.สมิติเวช ธนบุรี ที่มาให้ความรู้ในเรื่องของการเจาะลึกถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมการผ่าตัดมะเร็งเต้านม รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และวิธีการที่จะทำให้ผู้หญิงตระหนักถึงภัยร้ายของโรคมะเร็งเต้านม

พร้อมด้วย รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ หัวหน้าสถาบันเต้านมสมิติเวช รพ.สมิติเวช ธนบุรี กล่าวถึง “การผ่าตัดหาต่อมน้ำเหลืองเซลติแนลที่รักแร้ เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ โดย การฉีดสีเพื่อหาจุดเริ่มต้นของการแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง (Sentinal Lymps Node Biopsy) แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถพิจารณาผ่าตัดเนื้อร้าย พร้อมกับเลาะต่อมน้ำเหลืองในเวลาเดียวกัน โดยผู้ป่วยไม่ต้องกลับมาทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองซ้ำอีกครั้ง เมื่อได้ทำการตรวจอย่างละเอียดและทราบผลที่ชัดเจนว่าเป็นเนื้อร้าย พร้อมทั้งระยะของมะเร็งแล้ว แพทย์จะทำการพิจารณาร่วมกับผู้ป่วย เพื่อทำการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายแสง หรือยาต้านมะเร็งชนิดกิน”

และ พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลกรรมเต้านม รพ.สมิติเวช ธนบุรี กล่าวถึง “นวัตกรรมการผ่าตัดแบบ Scarless LD flap (Scarless Latissimus Dorsi flap) ซึ่งเป็นการใช้เนื้อบริเวณแผ่นหลังมาผ่าตัดตกแต่งเสริมทรวงอก โดยยังคงรูปร่างของขนาดเต้านมได้อย่างใกล้เคียงขนาดปกติ และไม่เกิดรอยแผลเป็นบริเวณแผ่นหลัง”

ด้าน คุณเบญจมาศ เกียรติวงศ์ ผู้มีประสบการณ์ตรงจากการคลำเต้านมด้วยตนเอง และตัดสินใจผ่าตัดก้อนเนื้อที่สถาบันเต้านมสมิติเวช รพ.สมิติเวช ธนบุรี ได้เล่าถึงประสบการณ์ในครั้งนี้ว่า “หลังอาบน้ำทุกวัน ก็จะ คลำเต้านมด้วยตัวเองค่ะ อยู่มาวันหนึ่ง ก็คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม เริ่มกังวลจึงได้เข้าไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่เนื่องด้วยอายุเพียงแค่ 24 ปี แพทย์จึงทำการตรวจเพียงอัลตร้าซาวนด์ให้เท่านั้น เพราะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม ผลอัลตร้าซาวนด์ออกมาว่า พบก้อนซีสต์จำนวนหลายก้อน ซึ่งกระจายอยู่ และมีหนึ่งก้อนที่มีขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร จึงตัดสินใจเข้ารับบริการที่สถาบันเต้านมสมิติเวช รพ.สมิติเวช ธนบุรี เพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์ได้เสนอทางเลือก โดยการเจาะถุงน้ำและดูดเซลล์จากก้อนเต้านมเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (Fine Needle Biopsy) หรือ การผ่าตัดเนื้องอกออกจากเต้านม (Excision Breast Mass) ด้วยข้อดีและข้อเสียของการรักษาทั้ง 2 วิธี ประกอบกับการให้คำแนะนำโดยแพทย์ ทำให้ตัดสินใจเลือกวิธีที่ 2 การผ่าตัดเนื้องอกออกจากเต้านม ตอนแรกกลัวมากค่ะ เพราะไม่เคยผ่าตัดเลยในชีวิต แต่แทบไม่น่าเชื่อค่ะ มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่ไม่ถึงชั่วโมงการผ่าตัดก็เสร็จสิ้น หลังจากนั้น 1 อาทิตย์ ก็มาฟังผลชิ้นเนื้อ ทำให้โล่งใจมากเลยค่ะ เพราะผลชิ้นเนื้อปกติ ไม่พบเซลล์เนื้อร้าย ก็อยากจะฝากถึงผู้หญิงทุกคนนะคะ ว่ามันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด นอกจากเราจะสามารถตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองแล้ว การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้เราได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้สามารถตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้อง นอกจากนั้นแพทย์ยังได้ให้โอกาสเราเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ และเลือกวิธีการรักษาด้วยตัวเราเอง ถึงแม้เราอายุยังน้อย แต่ก็อย่าได้นิ่งนอนใจค่ะ”

เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง จึงอยากเชิญชวนผู้หญิงไทยทุกคน หันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพเต้านมของท่านอยู่เป็นประจำ หมั่นตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติ ควรรีบมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากใครที่สนใจโครงการดีๆ นี้ สามารถร่วม “โครงการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ได้ที่ สถาบันเต้านมสมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี “Save Your Breasts, Save Your Life”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ