สจล. โชว์ “น่านโมเดล” ตัวอย่างความสำเร็จการออกแบบพื้นที่ชุมชน เพื่อลดปัญหาอุทกภัย พร้อมแนะ 4 ฟังก์ชั่นปรับวิถีการใช้น้ำอย่างยั่งยืน

อังคาร ๑๑ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๓๙
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และภาคีเครือข่ายจังหวัดน่าน จัดทำโครงการพัฒนาชุมชนนำร่อง ณ จังหวัดน่าน หรือ

“น่านโมเดล” มุ่งเน้นแก้ปัญหาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ปัญหาเรื่องอุทกภัยและภัยแล้ง ปัญหาด้านการเกษตร และปัญหาด้านพลังงานผ่านการนำองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาเป็นแม่แบบในการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนน่านอย่างเหมาะสม ภายใต้แนวคิด

“การออกแบบเพื่อชีวิต (Design for life)” อันประกอบไปด้วย 4 ฟังก์ชั่นหลัก ได้แก่ 1.การกักเก็บน้ำ 2.การบริหารจัดการบริโภค 3.การบำบัดน้ำเสีย 4.การผลิตเพื่อการบริโภค โดยประยุกต์การออกแบบทางศิลปะร่วมกับการสำรวจลักษณะพื้นที่ ตลอดจนใช้

องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พัฒนาชุมชนสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการพึ่งตนเอง และพัฒนาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแนวคิด “The Master of Innovation: เจ้าแห่งนวัตกรรม” ของสถาบัน

ที่พร้อมเป็นฟันเฟืองสู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.thผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชฐ โสวิทยสกุล คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สังคมไทยมีลักษณะการอยู่อาศัยในรูปแบบของชุมชนเป็นส่วนใหญ่ การจะพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวทันชาติที่พัฒนาแล้วนั้น จะต้องอาศัยความความร่วมมือกันของทุกๆ ชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเอง ตลอดจนสามารถรองรับกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างการพัฒนาเมือง และชุมชน โดยในภาคเมืองนั้นจะเป็นการพัฒนาในระบบที่มีความทันสมัยในทุกๆ ด้านให้มีความพร้อมที่จะรองรับความเจริญที่เข้ามา แตกต่างกับชุมชนที่มีระบบการพัฒนาในรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมของงบประมาณ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาชุมชน จนกลายเป็นความล้าหลังในการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อให้ประเทศไทยก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงดังนั้น สจล. ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ตระหนักถึงการใช้องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และภาคีเครือข่ายจังหวัดน่านในการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนนำร่อง ณ จังหวัดน่าน หรือ “น่านโมเดล” มุ่งเน้นการแก้ปัญหาประเทศไทยอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาเรื่องอุทกภัยและภัยแล้ง ปัญหาด้านการเกษตร และปัญหาด้านพลังงาน ผ่านการนำนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมมาใช้เป็นแม่แบบในการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนน่านอย่างเหมาะสม โดยใช้หลักการออกแบบที่ไม่ได้เป็นเพียงการนำศิลปะเข้ามาประยุกต์ใช้ แต่เป็นการย้อนกลับมาสำรวจลักษณะพื้นที่ชุมชนตั้งแต่ต้น พร้อมกับผนวกการเชื่อมโยงงานสถาปัตยกรรมเข้ากับวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาบูรณาการความต้องการในทุกมิติ อันได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ ด้านการศึกษา ด้านความเป็นอยู่ และด้านวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการพึ่งตนเองและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชฐ โสวิทยสกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดทำโครงการดังกล่าว ประกอบไปด้วย 3 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ สวนเอเดน อำเภอเวียงสา ชุมชนต้นน้ำน่าน อำเภอท่าวังผา และศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านห้วยพ่าน อำเภอเชียงกลาง โดยดำเนินการพัฒนาภายใต้แนวคิด “การออกแบบเพื่อชีวิต (Design for life)” อันหมายถึงการออกแบบที่สามารถปรับปรุง พัฒนา หรือแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปคนภายนอกมักมองว่าความยั่งยืนของชุมชนมีความหมายในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่แนวทางการดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.นั้น จะเน้นเรื่องการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทุกมิติ ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของการทำงานในฐานะนักออกแบบเพื่อชุมชน ที่ไม่ใช่แค่การมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านศิลปะ แต่ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ตั้งแต่เรื่องเกษตรกรรม การชลประทาน สิ่งแวดล้อม อาหาร การศึกษา หรืออื่นๆ เพราะทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนของมนุษย์ในทุกสังคม โดยแนวคิด “การออกแบบเพื่อชีวิต

(Design for life)” ประกอบไปด้วย 4 ฟังก์ชั่นหลัก ได้แก่1. ฟังก์ชั่นการกักเก็บน้ำ ชุมชนจะได้รับการออกแบบตามกายภาพที่เหมาะสมของของพื้นที่นั้นๆ โดยพื้นที่จะถูกออกแบบให้กักเก็บน้ำได้ในหลายรูปแบบอาทิ อ่างกักเก็บน้ำ นากักเก็บน้ำ ภูเขากักเก็บน้ำ เขื่อนกักเก็บน้ำ2. ฟังก์ชั่นการบริหารจัดการบริโภค การดำเนินอุตสาหกรรม พื้นที่ในชุมชนจะถูกออกแบบให้มีบ่อน้ำที่ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน โดยแต่ละแหล่งน้ำจะมีองค์ประกอบแวดล้อมของแหล่งน้ำที่หลากหลายตามความเหมาะสม อาทิ แหล่งน้ำที่ 1 มีการปลูกข้าว ปลูกผัก ฟาร์มเห็ด แหล่งน้ำที่ 2 มีการปลูกข้าว ฟาร์มเห็ด ฟาร์มหมู แหล่งน้ำที่ 3 ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ โดยแต่ละแหล่งน้ำจะถูกออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย3. ฟังก์ชั่นการบำบัดน้ำเสีย ทุกชุมชนจะได้รับการออกแบบที่ผนวกฟังก์ชั่นในการบำบัดน้ำเข้าไปด้วย ผ่านรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Treatment Grass Plot ทุ่งหญ้าบำบัด แหล่งอาหารบำบัดน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยบำบัดน้ำ4. ฟังก์ชั่นในการผลิตเพื่อการบริโภค การผสมผสาน การทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ผสมผสาน พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์

ที่หลากหลาย สอดคล้องตามฤดูกาล เพื่อสร้างสมดุลของการดำเนินชีวิต โดยการออกแบบดังกล่าวนอกจากจะตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่แล้ว ก็ยังตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และสามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ด้วยอย่างไรก็ตาม คุณค่าหลักของ “การออกแบบเพื่อชีวิต (Design for life)” ไม่ใช่แค่การสร้างแบบแปลนที่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องมอบประโยชน์และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นด้วย ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว แปลนของชุมชนที่ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนจะประกอบด้วยพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์ในชุมชน อาทิ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ นาข้าว บ่อน้ำ และที่อยู่อาศัย ก็จะไม่ขาดแคลนอาหาร ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้คนในพื้นที่มีอาชีพ มีรายได้จากการค้าขายผลผลิตต่างๆศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรมากที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตแบบพึ่งตนเอง และพอเพียงตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นหนึ่งในวิถีทางที่จะนำประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน แต่อุปสรรคหลักใหญ่ของการพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้นั้น ก็คือการขาดความรู้ และความเข้าใจของประชากรพื้นที่ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตร ด้านการจัดการพื้นที่ และด้านการรองรับภัยพิบัติ เป็นต้น ดังนั้น สจล. ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทยจึงได้มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษา และบุคลากรคุณภาพ ที่จะมาช่วยพัฒนา และส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประชากร รวมไปถึงทำการวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ภายใต้แนวคิด “The Master of Innovation: เจ้าแห่งนวัตกรรม” อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ตลอดจนมุ่งบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็น 1 ใน 10 สถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของอาเซียน ในปี 2563สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version