ก.ไอซีที หนุนสินค้า Green ICT แข่งอาเซียน

อังคาร ๑๑ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๒๓
กระทรวงไอซีที หนุนผลิตภัณฑ์ ICT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green ICT กระตุ้นผู้ประกอบการไทยยกระดับมาตรฐาน-ชูจุดเด่นสินค้าสร้างความได้เปรียบในตลาดอาเซียน

นางสาวรัจนา เนตรแสงทิพย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)ในฐานะรองประธานคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนโครงการตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)เปิดเผยว่า การดำเนินงานด้านการรับรองผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ซึ่งในส่วนของกระทรวงไอซีที โดยสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ให้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ICT ได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ICT ในประเทศไทยเน้นการแข่งขันด้านราคาและผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อแต่เนื่องจากปัจจุบันมีการเปิดตลาดเสรีมากขึ้นและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ส่งผลให้การแข่งขันด้านคุณภาพและราคาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ขนาดของตลาดที่ใหญ่ขึ้นส่งผลให้มีผู้ขายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และทำให้เป็นปัญหากับผู้ซื้อว่าจะสามารถเลือกจัดซื้อจัดหาผลิตภัณฑ์ ICT ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน จึงจำเป็นต้องส่งเสริมในเรื่องของการผลิตและการใช้สินค้า ICT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green ICT) สินค้าต้องมีมาตรฐาน และมีระบบการตรวจสอบรับรองที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระในการดำเนินการและปัญหาในการจัดซื้อจัดหาของทุกฝ่ายได้ ตลอดจนเพื่อเป็นมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ ICT ไทย

นอกจากนี้ จะต้องมีการปรับกระบวนการจัดซื้อจัดหา โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตที่จะต้องมีการส่งสินค้าไปตรวจสอบและขึ้นทะเบียนสินค้าที่ผ่านการรับรอง ในขณะที่ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ขึ้นทะเบียนผ่าน http://ni3.mict.go.th/greenict/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ ICT โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า มีสมรรถนะดี ทนทานต่อการใช้งาน และประหยัดพลังงาน ซึ่งกระบวนการจัดซื้อจัดหาผลิตภัณฑ์จะต้องมีคณะกรรมการร่วมกันกำหนดคุณสมบัติ (สเปก) และกรอบราคา มีหน่วยงานที่เป็นกลางเพื่อตรวจสอบสินค้าและขึ้นทะเบียน และหน่วยงานที่จะจัดซื้อจัดหาสามารถเข้ามาค้นหาสินค้าตามทะเบียน

“ในส่วนของกลุ่มอาเซียนนั้นได้มีการหารือเรื่องการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นไอทีและอิเล็กทรอนิกส์อยู่บ้าง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากกฎระเบียบการตรวจสอบของแต่ละประเทศไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องคือ การสร้างตลาดใหม่ การนำเสนอจุดเด่นของสินค้าหรือประสบการณ์ที่มีมากกว่า หรือสิ่งที่ประเทศอื่นยังไม่มี เพื่อสร้างความได้เปรียบให้สินค้า” นางสาวรัจนา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ