กระทรวงอุตฯเชื่อม National Single Window ทันสิ้นปี AEC Blueprint ขับเคลื่อนตามแผนทุกประการ

พฤหัส ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๑๑
กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมเชื่อมต่อระบบกับ National Single Window เช่นเดียวกับอีก 36 หน่วยงานภายในสิ้นปีนี้ ส่วน AEC Blueprint จุดประกายเร่งพัฒนาผลิตภาพไทย เดินหน้าได้ตามแผนเสร็จทันต้อนรับประชาคม ASEAN ต้นปี 2559 อย่างแน่นอน

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการประชุมของคณะอนุกรรมการประชาคมอาเซียนของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ผ่านมา โดยมีผลจากการประชุมในครั้งนั้นหลายประการที่น่าสนใจ ซึ่งผลดำเนินการสำคัญที่เป็นความคืบหน้าในปัจจุบันและช่วงต่อไป ดังนี้คือ

ในส่วนของมาตรการเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ National Single Window (NSW) นั้น หน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องดำเนินการเชื่อมต่อระบบ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (สอน.)กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.)โดยสถานะล่าสุด สอน. กพร. กรอ. และ สฟอ. ได้ดำเนินการเชื่อมต่อระบบแล้ว สำหรับ สมอ. อยู่ในระหว่างดำเนินการโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนศกนี้ อย่างไรก็ตามการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกันนั้น ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งเท่านั้น ยังต้องให้ทุกหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้ง 36 แห่ง ที่สำคัญ อาทิ กรมศุลกากร, กรมการค้าต่างประเทศ, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ประสานความร่วมมือบูรณาการข้อมูลของแต่ละฝ่ายให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีในอนาคต

ดังที่ทราบว่า National Single Window (NSW) เป็นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ บูรณาการเพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จจากการติดต่อเพียงจุดเดียว โดยมุ่งที่จะลดต้นทุนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรม และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ ลดขั้นตอนการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เอกสารต่างๆ เช่น ใบอนุญาตการนำเข้า ใบอนุญาตการส่งออกและใบรับรองต่างๆ ที่ออกโดยหน่วยงานหนึ่งสามารถที่จะจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างอัตโนมัติไปให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันระบบ NSW ของประเทศไทย มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเชื่อมโยงข้อมู]อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนยังได้พัฒนาระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทางด้านอุตสาหกรรม การค้าระหว่าง NSW ของแต่ละประเทศให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนหรือ ASEAN Single Window (ASW) เพื่อให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็นตลาดเดียวและมีฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมร่วมกัน (Single Market and Production Base)

นอกจากนั้น ยังมีผลดำเนินการสำคัญหลังจากมีการประชุมอนุกรรมการในครั้งนั้นอีกประการหนึ่งคือ การดำเนินการตาม พิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 เพื่อเป็นการรองรับประชาคม ASEAN ในช่วงต้นปี 2559 โดยขณะนี้ดำเนินการไปตามแผนทุกประการ

เมื่อประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม AEC Blueprint และการเข้าสู่ AEC เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว ภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งนักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ไปจนถึงบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง ควรเล็งเห็นโอกาสทองเมื่อ AEC รวมเป็นหนึ่งเดียว (ASEAN as one) ซึ่งจะก่อให้เกิดขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้น การขยายการส่งออก และโอกาสทางการค้า จากการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สินค้าได้เคลื่อนย้ายได้ง่ายขึ้น และสร้างโอกาสทางการค้าในอุตสาหกรรมภาคบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร สุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการและภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างเสริมโอกาสในการลงทุนในขณะที่อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียนจะลดน้อยลง ที่สำคัญจะเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าทั่วโลก และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลก

ก้าวต่อไปของไทยหลังปี 2558 (Post AEC 2015) ไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วน หมายรวมถึงประชาชน นักธุรกิจผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรม โดยหากภาคอุตสาหกรรมยังไม่มีความพร้อม ก็ต้องเร่งพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้พร้อมรับกับการแข่งขันทั้งในมิติของ Supply Side และ Demand Side เช่นพัฒนาผลิตภาพหรือพัฒนาในเชิงนวัตกรรมเพื่อแข่งขันในตลาดระดับภูมิภาคและระดับโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ