รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ รองศาสตราจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ประธานคลัสเตอร์พลังงงาน และ สิ่งแวดล้อม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากภาวะวิกฤตเรือนกระจกผนวกกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก อนาคตมนุษย์จะต้องพบภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปริมาณใช้น้ำเพิ่มขึ้น 2 เท่า ของอัตราการเพิ่มประชาการในศตวรรษที่ผ่านมา และภายในปี 2025 การใช้น้ำในประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 50 % และประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้น 25 % และประชากรโลก 1.9 พันล้านคน จะอยู่ในประเทศที่มีการขาดแคลนน้ำ และ2ใน3ของประชากรโลกจะอยู่ในภาวะวิกฤตขาดน้ำ
จากเหตุการณ์นี้ส่งผลประทบอย่างมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านผลผลิตทางการเกษตรในปีพ.ศ. 2623 ครั้งใหญ่ โดยประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงเรื่องน้ำสูง สำหรับประเทศไทยในปี2550 ประเทศไทยปล่อยก๊าซคาร์บอน 277.5 ล้านตันเป็นอันดับ 23 ของโลก ดังนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ และนั้นคือถึงเวลาการปรับตัวของทุกภาคส่วนของประเทศที่จะต้องดำเนินการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้บรรลุเป้าหมาย ประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สูงเป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย มีค่าGHG emission 22% ส่วนอินโดนีเซีย 37 %
ส่วนมาตรการที่ลดปริมาณคาร์บอนที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยคือ การควบคุการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่อาจส่งผลต่อการลดขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยคือ 1.สินค้าจะต้องแสดงค่าลดคาร์บอนด์ Carbonfootprint 2) Sectorial approach อุตสาหกรรมที่ปล่อย GHG สูง
รศ.ดร.ธำรงรัตน์ กล่าวต่อว่า ทิศทางตลาดโลกอนาคตกำลังเปลี่ยนไป สินค้าและผลิตภัณฑ์จะต้อง เป็น กรีน โปรดักส์ จะมีแต่ Eco-products และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO หรือใบประกาศ และการลดคาร์บอนในการผลิต ตั้งแต่เลือกวัตถุดิบ จนถึงขบวนการใช้งานเมืองถึงมือผู้บริโภค โดยนำขบวนการ การประเมินวัฏจักรชีวิต ( Life cycle assessment ) หรือ LCA มาใช้และมีเครื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
สำหรับอุตสาหกรรมปัจจุบันการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมนั้น จะมีมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 14000 รับรอง แต่ด้วยเหตุกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมโลก กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ สินค้าต้องติดฉลากแสดงถึงการลดปริมาณคาร์บอนตามขบวนการLAC หรือติดฉลาก Carbon ในอนาคตดังนั้นอุตสหกรรมไทยจะต้องปรับตัว ปัจจุบันไทยมีการนำร่องใช้แค่ 25 โรงงาน จำนวน 28 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่จะมีเพียง ติดฉลากรับรองสินค้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นฉลากเคลม จำนวน 1,388 ผลิตภัณฑ์ จาก 389 บริษัท
ดังนั้นการทิศทางอุตสาหกรรมไทย จะต้องทำความเข้าในเรื่องการมีฉลาก Carbon Footprint จะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่อย่างเร่งด่วนเช่นกัน และการออกแบบสีเขียว สำหรับภาคเอกชนที่นำขบวนการประเมินวัฏจักรชีวิต LCA มาใช้ในอุตสาหกรรมที่น่าจับตา
ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเรียนรู้ข้อมูลดีๆ พัฒนาการต่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ การถ่ายทอดโนฮาวใหม่ๆที่งาน ที่งาน Thailand LAB 2015 และ LIFE Sciences Asia 2015 ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในวันที่ 9-11กันยายน 2558 ที่ EH 105 และ EH 107 ณ ไบเทค บางนา โดยบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิกฟิก จำกัด (VNU Exhibitions Asia Pacific) ได้ร่วมมือกับ สมาคมต่างๆ ทั้งในประเทศและในภูมิภาค จัดงานประชุมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัย งานวิเคราะห์และตรวจสอบ ตลอดจนด้านนวัตกรรมเครื่องมือแล็บ
สามารถลงทะเบียนเข้าชมงาน ได้ที่ www.thailandlab.com หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. Tel: +662-670-0900 Ext. 201-209 Fax: +662-670-0908 Email:[email protected] Website: www.thailandlab.com Facebook Page:www.facebook.com/ThailandLab Twitter: twitter.com/ThailandLAB YoutubeChannel:www.youtube.com/ThailandLab