เอ็มเว็บ อัพเกรด Sanook! Mail ฟรีเว็บเมล์ฉบับคนไทย ความจุ 1 กิ๊ก พร้อมฟังก์ชั่นเทียบชั้นเวอร์ชั่นนอก

พฤหัส ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๐๕ ๑๓:๓๙
กรุงเทพฯ--10 พ.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่น
เอ็มเว็บ อัพเกรดบริการฟรีเว็บเมล์ฉบับคนไทย “สนุก! เมล์” (Sanook! Mail) เต็มอัตราเทียบชั้นเว็บเมล์ต่างประเทศ เพิ่มขนาดพื้นที่เป็น 1 กิกะไบต์ พร้อมการแสดงผลสองภาษา ไทย-อังกฤษ ระบบบล็อคอีเมล์ต้องห้าม และสแกนอีเมล์ขยะและไวรัส ฟังก์ชั่นการตอบกลับและส่งต่ออัตโนมัติ แถมรูปแบบ 11 เทมเพลท ให้เลือกได้ตามความชอบ
นายกษมาช นีรปัทมะ รองประธานบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง Sanook! Mail เวอร์ชั่นใหม่ว่า “นอกจากการพัฒนาในครั้งนี้จะทำให้ Sanook! Mail เป็นฟรีเว็บเมล์แรกของประเทศไทยที่ให้พื้นที่อีเมล์ใหญ่ที่สุดถึง 1 กิกะไบต์แล้ว Sanook! Mail ยังเป็นบริการเว็บเมล์ที่ใช้งานง่าย มีฟังก์ชั่นครบครันตามมาตรฐานฟรีเว็บเมล์ระดับสากล แต่มีความเร็วเหนือกว่าเนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ในประเทศ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบหรือ Theme ให้เลือกมากถึง 11 รูปแบบ ซึ่งผู้ใช้บริการ Sanook! Mail สามารถเลือกเปลี่ยนได้อย่างจุใจ”
ฟังก์ชั่นต่างๆ ของบริการ Sanook! Mail ประกอบด้วย
การแสดงผลของคำสั่งบนแถบเครื่องมือที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
มีระบบตรวจเช็คไวรัส ที่จะทำการตรวจจับและสกัดกั้นไวรัสในอีเมล์อัตโนมัติก่อนที่ผู้ใช้จะเปิดกล่องเมล์ เมื่อระบบตรวจพบไวรัสในอีเมล์ที่ส่งถึงผู้ใช้ ระบบจะทำการซ่อมแซมไฟล์ที่แนบติดมากับอีเมล์ แต่หากระบบไม่สามารถซ่อมแซมได้ ระบบจะทำลบไฟล์แนบซึ่งติดไวรัสมานั้นทิ้งไป ผู้ส่งอีเมล์จะได้รับการแจ้งเตือน ถึงไวรัสที่ตรวจพบและผลการดำเนินการกับไวรัสนั้นเช่นกัน โดยที่โปรแกรมป้องกันไวรัสนี้จะถูกปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยทุกๆ 3 ชั่วโมง หรือทุกเมื่อที่มีการค้นพบไวรัสใหม่ โปรแกรมจะทำงานอิสระจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติม
ระบบกรองเมล์ขยะ จะทำการตรวจสอบเมล์ทุกฉบับที่ผู้อื่นส่งมา หากเป็นเมล์ขยะ จะถูกคัดแยกไปยังกล่องเมล์ขยะโดยอัตโนมัติ
ระบบรายชื่อต้องห้าม ผู้ใช้สามารถทำการเพิ่มรายชื่อเมล์ไม่พึงประสงค์เข้าสู่รายชื่อต้องห้าม เพื่อที่จะไม่รับเมล์นั้นอีกในอนาคต ผู้ใช้สามารถเพิ่มชื่ออีเมล์หรือโดเมนของผู้ส่งไว้ในรายชื่อต้องห้าม ซึ่งจะทำให้อีเมล์ของผู้ส่งที่ใช้ชื่อนั้นจะไม่มาถึงกล่องเมล์ได้อีก
ระบบตอบกลับอัตโนมัติ เมื่อมีอีเมล์มาถึง ระบบจะตอบเมล์นั้นกลับไปอัตโนมัติตามข้อความที่ผู้ใช้กำหนดไว้ในระบบ
ระบบส่งต่ออัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความสะดวกในการใช้อีเมล์ในกรณีที่ผู้ใช้ Sanook! Mail เป็นเจ้าของอีเมล์อื่นด้วย ผู้ใช้สามารถกำหนดให้อีเมล์ที่เข้ามาในสนุก! เมล์ ถูกส่งต่อไปยังอีเมล์ที่ระบุไว้โดยอัตโนมัติด้วยระบบ Auto Forward
สำหรับ Theme ทั้ง 11 เทมเพลทนั้น ประกอบด้วย รูปแบบ Sanook ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานที่กำหนดให้ โดยผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้ตามต้องการ ได้แก่ Dog, Football, Game, Horoscope, Love, Movie, Music, QQ, World Chat และ Travel
“เราตั้งใจพัฒนาบริการ Sanook! Mail ให้เป็นอีเมล์หลักประจำตัวที่จะรองรับทุกการใช้งานอีเมล์ และด้วยมาตรฐานเดียวกันกับเว็บเมล์ระดับสากล แต่สามารถให้บริการได้เร็วกว่า เราหวังว่าบริการ Sanook! Mail จะได้รับการตอบรับอย่างดี และเป็นบริการเว็บเมล์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยทุกคนต้องมีแอคเคาท์เป็นของตัวเองในอนาคตอันใกล้” นายกษมาช กล่าวทิ้งท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
อัญชลิกา เค้าสงวนศิลป์ ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / พชรวดี จุโลทัย
บริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)
โทร 0 2979 7760 โทร 0-2662-2266
อีเมล์: [email protected]จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ