นักวิจัยไทย - ญี่ปุ่น ถอดบทเรียนจากสึนามิและน้ำท่วม แนะวิธีรับมือภัยพิบัติต่อจากนี้

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๒
นักวิจัยไทยและญี่ปุ่นแนะวิธีตั้งรับภาวะวิกฤตผ่านการเรียนรู้จากสึนามิและน้ำท่วม ในเวทีประชุม เชิงปฏิบัติการ “Crisis Management : Shared experiences and Lesson learned between Japan and Thailand” ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ สาธร

ดร. ศิริพร วัชชวัลคุ หัวหน้าศูนย์ประสานงานโครงการวิจัยเชิงนโยบาย สกว. ด้านสถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นักวิจัยไทยและญี่ปุ่น ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะเหตุการณ์สึนามิและอุทกภัยเพื่อหาแนวทางตั้งรับหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก โดยนักวิจัยทั้ง 2 ประเทศ ต่างมีความตรงกันว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โลกของเรา มีแนวโน้มเกิดภัยธรรมชาติได้บ่อยและรุนแรงขึ้น ไม่ว่าประเทศนั้นๆ จะเคยเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติแล้วหรือไม่ ควรมีการจัดแผนรับมือภาวะวิกฤตที่อาจขึ้นโดยไม่คาดคิด

ดร.ดาเตะ ฮิโรโนริ นักวิจัยจาก ม.เรียวโคคุ ประเทศญี่ปุ่น ได้บอกเล่าถึงตัวอย่างเหตุการณ์การเกิด สึนามิในญี่ปุ่นว่า นอกจากจะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ผู้ประสบภัยยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อันเนื่องมาจากการพลัดพรากจากคนรักที่สูญหาย สึนามิจึงเป็นมหันตภัยที่ไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อร่างกายของผู้ที่จากไปเท่านั้น แต่ยังผลต่อสภาพจิตใจของผู้ที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นการเยียวยาสภาพจิตใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ที่ต้องให้ความใส่ใจในยามที่ประเทศเกิดภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติที่เราไม่อาจต้านทานได้

ดร.โอคูโบ โนริโกะ ม.โอซาก้า นักวิจัยจากญี่ปุ่นอีกท่าน ได้แนะนำให้คนไทยเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ โดยกล่าวว่า พลเมืองทุกคนต้องรู้หน้าที่ในการช่วยเหลือตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอการช่วยเหลือจากภาครัฐ อย่างเดียวถึงจะผ่านพ้นเหตุการณ์วิกฤตไปได้ อย่างไรก็ตามตนมีข้อเสนอแนะคือ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำหนังสือคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะวิกฤตเพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือภัยพิบัติที่อาจขึ้นในอนาคต

ด้าน รศ.ดร.นิตยา วัจนะภูมิ จากวิทยาลัยโลกคดีศึกษา ม.ธรรมศาตร์ ผู้ทำการศึกษาประเด็น “การจัดการในภาวะวิกฤตอย่างเหตุการณ์น้ำท่วมใน จ.ปทุมธานีและ จ.นนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.2554” กล่าวว่า อุทกภัยร้ายแรงของคนไทยครั้งนั้น เป็นปัญหาใหญ่เกินกว่าที่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นจะตั้งรับได้ ไทยเรามีการทำงาน ที่เป็นขาดความเป็นระบบและเชื่อมต่อ ระหว่างตัวแทนของภาครัฐระดับจังหวัดและผู้ประสบปัญหา ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤตมีความสำเร็จมากขึ้น คือการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงานเมื่อเกิดภาวะวิกฤต พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลที่สำคัญในภาวะวิกฤตที่ถูกต้องและรวดเร็ว อย่างสม่ำเสมอ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION