ธรรมศาสตร์เผยผลความก้าวหน้าสู่ความเป็นนานาชาติ

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๔๑
ธรรมศาสตร์สร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างชาติกว่า 300 แห่งใน 40 ประเทศ ทั่วโลก เป็นต้นแบบการพัฒนาระบบเทียบโอนรายวิชา หลังคว้า 5 ดาวด้านความเป็นนานาชาติจาก QS

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้กำกับดูแลและขับเคลื่อนนโยบายด้านการต่างประเทศของ มธ.เปิดเผยว่า นโยบายความเป็นนานาชาติของ มธ. ถือเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนด้านความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากลของ มธ. โดยฝ่ายวิเทศสัมพันธ์มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศทั่วโลก รวมทั้งประสานความร่วมมือกับสถานทูตต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาในบริบทของต่างประเทศ และนำธรรมศาสตร์ก้าวออกไปสู่เวทีโลกมากยิ่งขึ้น

ล่าสุด มธ.ได้รับการประเมินระดับ 5 ดาวในด้านความเป็นนานาชาติ (Internationalization) จาก QS สถาบันจัดอันดับและประเมินมาตรฐานด้านการศึกษาระดับโลก โดยพิจารณาจากเครือข่ายความร่วมมือเชิงวิชาการและการทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ มีจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มาจากต่างประเทศและไปต่างประเทศสูงกว่าเกณฑ์ และมีนักศึกษาต่างชาติศึกษาที่ มธ.จากกว่า 50 ประเทศ

ปัจจุบัน มธ. มีความร่วมมือด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 300 แห่งจาก 40 ประเทศทั่วโลก ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ครอบคลุมทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และอาเซียน โดยมีขอบเขตความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (student exchange) การแลกเปลี่ยนอาจารย์ (faculty exchange) การทำวิจัยร่วม (research collaboration) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ (knowledge exchange) และการจัดทำโครงการการศึกษาต่างๆ

“มธ. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบการเทียบโอนรายวิชา หน่วยกิต และการแสดงผลการเรียนบนทรานสคริปต์ ครบทั้งระบบ ระหว่าง มธ. กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือ ทำให้นักศึกษา มธ. ที่ไปแลกเปลี่ยน 1 ภาคการศึกษา หรือ 1 ปีการศึกษาในต่างประเทศสามารถสำเร็จการศึกษาในเวลาที่กำหนดในหลักสูตร โดย มธ. เปิดกว้างการเรียนวิชาต่าง ๆ ในต่างประเทศ โดยกำหนดเป็นวิชาการศึกษาเฉพาะเรื่อง (Selected topic) เพื่อให้นักศึกษาสามารถไปเรียนวิชาที่สนใจและไม่ได้เปิดสอนที่ มธ. และโอนหน่วยกิตมาที่ มธ. ได้ โดยไม่กระทบเวลาเรียนทั้ง 4 ปี”

ทั้งนี้ มธ. มีหลักสูตรนานาชาติและภาคภาษาอังกฤษกว่า 300 หลักสูตรครอบคลุมในทุกคณะ ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ศูนย์อาเซียนศึกษา ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเปิดสอนภาษาอาเซียน เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาเวียดนาม ที่บรรจุเข้าไว้ในหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“นอกจากการเรียนรู้ศิลปวิทยาการทั้งศาสตร์และศิลป์แล้ว มธ. ยังมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมสากล เพื่อการสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถแบบองค์รวม มีความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และมีทักษะทางการสื่อสารและการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีคุณภาพ” รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ