คำพูดและบทบาทของ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๑๐
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คำพูดและบทบาทของ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2558 จากประชาชน ทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกรณีที่มีคลิปวิดีโอของ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์ถึงสถานการณ์บ้านเมือง การทำงานของรัฐบาล และร่างรัฐธรรมนูณฉบับใหม่การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคำพูดของ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ว่า “รัฐธรรมนูญฉบับที่จะออกมาถือว่าเลวร้ายที่สุดแล้ว เป็นรัฐธรรมนูญที่คนไทยไม่ยอมรับ ไม่ทำให้ประเทศดีขึ้น” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.76 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับคำพูดของทักษิณ ชินวัตร รองลงมา ร้อยละ 20.40 ระบุว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคลในการวิพากษ์วิจารณ์ ร้อยละ 17.04 ระบุว่า เป็นการสร้างกระแสความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 14.08 ระบุว่า เห็นด้วยกับคำพูดของทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 3.68 ระบุว่า เป็นการปลุกแนวร่วมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 2.56 ระบุว่า สังคมและสื่อมวลชนไม่ควรสนใจและให้ความสำคัญกับคำพูดใด ๆ ของทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 0.72 ระบุว่า คำพูดของทักษิณ ชินวัตรจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจากประชาชน ร้อยละ 0.48 ระบุว่า เป็นการให้คำแนะนำอย่างบริสุทธิใจแก่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ร้อยละ 16.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ควรทำในสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.44 ระบุว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ควรอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องพูดหรือเคลื่อนไหวใด ๆ รองลงมา ร้อยละ 26.32 ระบุว่า ควรกลับประเทศไทยมารับโทษตามคำตัดสินของศาล ร้อยละ 14.72 ระบุว่า ควรให้คำแนะนำที่ดีและบริสุทธิ์ใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศต่อรัฐบาลและ คสช. ร้อยละ 6.16 ระบุว่า ควรประกาศล้างมือทางการเมือง รวมถึงการไม่ให้การสนับสนุนใด ๆ แก่พรรคเพื่อไทยและ นปช. ร้อยละ 4.48 ระบุว่า ควรประกาศสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างความปรองดองของคนในชาติ ร้อยละ 3.28 ระบุว่า ควรเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 1.12 ระบุว่า ควรเคลื่อนไหวปลุกแนวร่วมต่อต้านรัฐบาลและ คสช. ร้อยละ 0.80 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ควรเคลื่อนไหวในต่างประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลและ คสช. ขณะที่บางส่วนต้องการให้กลับมาสู้คดีและมาบริหารบ้านเมือง และขึ้นอยู่กับสิทธิและการตัดสินใจ และร้อยละ 3.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 17.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.20 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 12.96 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 55.76 เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.16 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.92 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 19.92 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 25.04 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.84 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 12.72 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 94.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.96 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.36 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.88 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 74.24 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 1.84 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 27.44 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.28 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.40 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.88 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 6.64 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 11.92 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 27.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.00 ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน

ตัวอย่างร้อยละ 14.80 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 2.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 0.24 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.80 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 21.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่าง ร้อยละ 28.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 11.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 7.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 8.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 7.36 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม