GPSC มองไทย...Biomass คือคำตอบสำคัญของพลังงานทางเลือก

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๔๘
นายโกวิท จึงเสถียรทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายแผนงานองค์กร บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ผู้ผลิตไฟฟ้าชั้นนำของไทย เผยแผนด้านการทำโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกว่า GPSC ได้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าที่เป็นโคเจนเนอเรชั่น (Cogeneration) ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงชนิดเดียว ควบคู่ไปกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก โดยมีทั้งโครงการพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ควบคู่กันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ Waste to Energy เพราะนอกจากจะได้พลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการกำจัดขยะของเสียทั้งในส่วนของภาคครัวเรือนและภาคการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยกำลังศึกษาทั้งโครงการที่ใช้ขยะชุมชน หรือ Municipal Solid Waste (MSW) และที่ใช้ของเสียทางการเกษตร หรือ Agricultural Waste มาเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

“GPSC ได้ตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐที่เน้นให้ความสำคัญลำดับต้น ๆ กับ Waste to Energy และ ชีวมวล หรือ Biomass ที่สามารถนำพลังงานที่สะสมไว้มาใช้ประโยชน์ได้ เพราะตระหนักดีว่าจะเอื้ออำนวยและเหมาะสมต่อลักษณะของประเทศเรา เพราะประเทศไทยเราเป็นสังคมเกษตร จึงสามารถหาวัสดุเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรมและกสิกรรมได้อย่างต่อเนื่องและหลากหลาย จึงน่าจะเป็นแหล่งพลังงานที่มีโอกาสที่ดีและพึ่งพาได้และมั่นคงกว่าลมหรือแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ จำเป็นจะต้องมีกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าปกติมาสำรองการผลิตอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่มีสายลมและแสงแดดเพียงพอสำหรับการผลิต ” นายโกวิท กล่าว

“นอกจากนั้น GPSC ยังศึกษาเรื่องการใช้ขยะชุมชนควบคู่กันไป เพราะไม่ใช่แค่สามารถช่วยแก้ปัญหาการจัดการขยะได้เท่านั้น แต่จะเป็นการสร้างประโยชน์จากขยะมูลฝอยและของเสีย ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะเริ่มด้วยที่ระยองเป็นที่แรก เป็น “ระยองโมเดล” เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมสูง ในขณะเดียวกันก็มีขยะชุมชนจำนวนมาก การจะทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีควบคู่กันไป ทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัย Waste to Energy มาช่วย”

สำหรับขั้นตอนการศึกษานั้น นายโกวิทกล่าวว่าขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานทั้งสองส่วน คือ การดำเนินการด้านใบอนุญาตต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และการเตรียมรายละเอียดงานก่อสร้าง สำหรับโครงการ Biomass ที่ใช้ของเสียและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น จำเป็นต้องร่วมกับพันธมิตรจากภาคการเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคงและต่อเนื่องในด้านแหล่งวัตถุดิบ โดยโรงไฟฟ้า Biomass คาดว่าขนาดที่เหมาะสมจะเป็นโรงไฟฟ้าขนาด 6-10 เมกะวัตต์ เพราะหากก่อสร้างขนาดใหญ่กว่านี้ จะต้องพึ่งพาการขนส่งวัตถุดิบจากพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป ต้นทุนการขนส่งจะไม่คุ้ม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ