EXIM BANK เสนอบริการช่วยผู้ส่งออกไทยแข่งขันได้ในภาวะเงินหยวนอ่อนค่า โดยทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าและประกันการส่งออก

พฤหัส ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๕๙
นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของเงินหยวน เพื่อปรับค่าเงินให้สอดคล้องกับกลไกตลาดมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าจีนมีราคาถูกลงในตลาดโลกและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นนั้น ปัจจุบันผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าและบริการของไทยในภาพรวมยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากค่าเงินบาทและค่าเงินหยวนของจีนเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากในอนาคตจีนยังดำเนินมาตรการลดค่าเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนเงินหยวนอ่อนค่าลงมากกว่าเงินบาท สินค้าและบริการของไทยก็อาจได้รับผลกระทบชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ไทยเป็นคู่แข่งกับจีน ตลอดจนสินค้านำเข้าจากจีนจะมีราคาถูกลงและเข้ามาแข่งขันด้านราคากับสินค้าในประเทศมากขึ้น

รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า ขณะเดียวกัน สินค้าไทยอาจได้รับผลดีในกลุ่มที่ส่งออกไปจีนเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศที่ 3 โดยได้รับอานิสงส์จากการขยายการส่งออกของจีนในภาวะนี้ เช่น ยางพาราและชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์จากไทย ส่วนสินค้าไทยที่จีนนำเข้าเพื่อใช้บริโภคในประเทศจะแข่งขันด้านราคาได้ลดลง แต่อาจได้รับผลกระทบไม่มาก โดยจีนอาจลดการนำเข้าหรือขอลดราคาสินค้า เช่น มันสำปะหลัง และผลไม้สด ทั้งนี้ จีนเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญของไทย โดยเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยด้วยสัดส่วน 10.8% และเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของไทยด้วยสัดส่วน 18.8%

นายสุธนัย กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม EXIM BANK พร้อมช่วยผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านเงินทุน ปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ด้วยบริการสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Foreign Exchange Forward Contract) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกทราบล่วงหน้าว่าจะได้เงินจากการส่งออกจำนวนเท่าไรในอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนตามที่ได้ทำสัญญาไว้กับธนาคาร รวมทั้งบริการประกันการส่งออก ที่จะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยเสนอเทอมการชำระเงินแก่ลูกค้าที่ผ่อนปรนและแข่งขันได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ อันเนื่องมาจากสาเหตุทางการค้า ได้แก่ ผู้ซื้อล้มละลาย ปฏิเสธการชำระเงิน และปฏิเสธการรับมอบสินค้า หรือสาเหตุทางการเมือง ได้แก่ การควบคุมการโอนเงิน การห้ามนำเข้าสินค้าหรือยกเลิกการนำเข้า การเกิดสงคราม จลาจล ปฏิวัติ รัฐประหาร เป็นต้น

“ผู้ส่งออกไทยควรมุ่งพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้แข่งขันได้มากขึ้น โดยไม่เน้นแข่งขันด้านราคาอย่างเดียว และไม่คิดเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้บริการสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศด้วยประกันการส่งออก เพื่อให้ค้าขายได้อย่างมั่นใจและธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง” นายสุธนัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ