เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ความต้องการสินค้าเกษตรของไทย

ศุกร์ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๐๐
ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) พร้อมด้วย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยร่วมกันว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์และพยากรณ์อุปสงค์สินค้าเกษตร ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 21-22 สิงหาคม 2558 นี้ เพื่อทราบแนวทางการวิเคราะห์ความต้องการสินค้าภาคการเกษตรโดยใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ และพยากรณ์ความต้องการในอนาคต รวมทั้งประยุกต์ใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์กับการสถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และทันเหตุการณ์

ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ได้แสดงถึง Demand Estimation and Forecasting ในประเด็นของ Data Collection, Regression analysis, Subjects of forecasts, Prerequisites of a good forecast, Forecasting techniques, Steps in the Forecasting Process เป็นเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ และพยากรณ์ความต้องการสินค้าเกษตรในอนาคต ในส่วนของ ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ได้กล่าวถึง การประยุกต์ใช้แบบจำลองเศรษฐมิติจุลภาค อาศัยแนวคิดการวิเคราะห์แบบเส้นถดถอบเชิงเส้น และแบบระบบสมการ โดยใช้เทคนิคการจำลองค่า และวัดประสิทธิภาพด้วยวิธี U-Theil นองจากนี้ ยังมีการคำนวณแบบจำลองเศรษฐมิติจุลภาคที่ประกอบไปด้วย ด้านอุปทาน (Supply) ด้านอุปสงค์ (Demand Side)และ เงื่อนไขดุลยภาพทางตลาด (Market Clearing) รวมทั้งการนำแบบจำลอง เศรษฐมิติไปประยุกต์ใช้ ในกรณีของแบบจำลองข้าว เพื่อการคาดการณ์ความต้องการสินค้าข้าวในอนาคต รวมทั้งปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิต การตลาด และราคา เพื่อประกอบการวางแผนในเชิงนโยบายข้าวต่อไป

ขณะที่ ผศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หนึ่งในคณะกรรมการศูนย์ฯ ได้ถ่ายทอดความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง "การประยุกต์ใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์และพยากรณ์อุปสงค์สินค้าเกษตร"ซึ่งได้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์อุปสงค์ การประมาณการณ์อุปสงค์และการพยากรณ์อุปสงค์ ในส่วนของการวิเคราะห์อุปสงค์ได้บรรยายถึงความรู้พื้นฐานของทฤษฎีอุปสงค์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และการประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์อุปสงค์ ในส่วนของการประมาณการอุปสงค์ การบรรยายได้ครอบคลุมวิธีการประมาณการอุปสงค์ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การประมาณค่าอุปสงค์โดยวิธีการวิจัยตลาดและการประมาณค่าอุปสงค์โดยวิธีสมการถดถอย ท้ายสุดในส่วนของการพยากรณ์อุปสงค์การบรรยายได้ครอบคลุมถึงความสำคัญของการพยากรณ์อุปสงค์และประเภทของการพยากรณ์ทั้งหมด 7 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย 1) การพยากรณ์เชิงคุณภาพ 2) การพยากรณ์โดยการวิเคราะห์อนุกรมเวลา 3) การพยากรณ์แบบบาโรเมตริก 4) การพยากรณ์โดยเศรษฐมิติ 5) การพยากรณ์โดยตารางปัจจัย-ผลผลิต 6) การพยากรณ์โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพบางส่วน และ 7) การพยากรณ์โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version