ซินโครตรอน จับมือ สดร. มทส. ร่วมสร้างเครื่องเคลือบกระจกกล้องดูดาวฝีมือคนไทย ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน ลดงบประมาณแผ่นดินได้กว่า 36 ล้านบาท

จันทร์ ๒๔ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๔:๐๔
สถาบันวิจัยแสงซินโครตอน (องค์การมหาชน) จับมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาเครื่องเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์ ขนาด 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ใช้งบประมาณในการดำเนินการไป 14 ล้านบาท หากนำเข้าจากต่างประเทศต้องใช้งบประมาณถึง 50 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงกดปุ่มสั่งงานและทอดพระเนตรการทำงานของเครื่องเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์ ขนาด 2.4 เมตร เป็นครั้งแรก ณ อุทยานดาราศาสตร์ จ.เชียงใหม่ อีกด้วย

ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบัน กล่าวว่า “กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือหอดูดาวแห่งชาติ ที่ตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนประกอบเป็นกระจกเคลือบผิวด้วยอลูมิเนียม มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้การบันทึกภาพวัตถุบนท้องฟ้าที่อยู่ไกลมากๆ และมีแสงสว่างน้อยเป็นเรื่องง่าย แต่หลังจากที่มีการใช้งานประมาณ 2 ปี การสะท้อนแสงของอลูมิเนียมที่เคลือบบนผิวกระจกจะเสื่อมสภาพลง ทำให้ภาพที่บันทึกได้มีคุณภาพลดลงตามไปด้วย การซ่อมบำรุงด้วยการเคลือบผิวอลูมิเนียมใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดกระจกที่ใหญ่ถึง 2.4 เมตร และน้ำหนักที่มากถึง 1.5 ตัน จึงทำให้ในประเทศไทยยังไม่มีที่ใดสามารถให้บริการเคลือบได้ และการจะนำเข้าเครื่องเคลือบกระจกจากต่างประเทศต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 50 ล้านบาท สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) จึงร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจก เพื่อผลิตเครื่องเคลือบกระจกขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่ทันสมัยและคุณภาพดีทัดเทียมกับการนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ เครื่องเคลือบกระจกดังกล่าวยังสามารถเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.4 เมตร ซึ่งสามารถให้บริการแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ได้ด้วย ขณะนี้ได้ดำเนินการสร้างและประกอบชิ้นส่วนเสร็จเรียบร้อยแล้วและได้ติดตั้ง ณ อุทยานดาราศาสตร์ จ.เชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 อีกทั้งได้มีพิธีเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการทำงานของเครื่องเคลือบกระจกเป็นครั้งแรกอีกด้วย”

นายสำเริง ด้วงนิล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาวิศวกรรม กล่าวว่า “การออกแบบและสร้างเครื่องเคลือบกระจกดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถทางเทคโนโลยีตลอดจนฝีมือช่างที่สะสมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะสามารถออกแบบและสร้างเครื่องเคลือบกระจกที่มีคุณภาพสูงได้ ตลอดระยะเวลาไม่ต่ำกว่าสิบปีที่ผ่านมาสถาบันฯ ได้สั่งสมประสบการณ์ในการออกแบบพัฒนา จัดสร้างอุปกรณ์และเครื่องมือสุญญากาศระดับสูงให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด ซึ่งเป็นฐานของการพัฒนาเครื่องเคลือบกระจกนี้ เทคโนโลยีเคลือบกระจกที่ใช้ เป็นระบบสุญญากาศ เคลือบด้วยวิธีการสปัตเตอริ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การเรียงตัวของโลหะบนพื้นผิวกระจกมีความเรียบสม่ำเสมอ อีกทั้งสามารถความคุมความบางของโลหะได้ในระดับนาโนเมตร ซึ่งถือเป็นหน่วยที่บางมาก นอกจากนี้ระบบยังถูกออกแบบให้ใช้ได้กับโลหะหลากหลายประเภท ตั้งแต่ อลูมิเนียม ทองคำ ทองแดง และซิลิกา เพื่อการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน

การจัดสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกฯ ใช้งบประมาณดำเนินการ 14 ล้านบาท ซึ่งหากสั่งซื้อจากต่างประเทศจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 50 ล้านบาท ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณของแผ่นดินไปถึง 36 ล้านบาท หรือประมาณ 72% จากการนำเข้าระบบดังกล่าวฯ ผลงานนี้ถือเป็นหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยที่สามารถผลิตขึ้นได้เองและมีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าครึ่ง เทคโนโลยีที่เกิดจากการพัฒนาเครื่องเคลือบกระจกนี้ สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยีเครื่องกระจกได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เช่น การเคลือบฟิล์มบางที่ต้องการการสะท้อนแสงได้ดีสำหรับเลนส์แว่นตาหรือกล้องถ่ายรูป ฟิล์มบางที่มีความโปร่งแสงแต่ป้องกันความร้อนได้ดี สำหรับกระจกรถยนต์หรือติดกระจกบนอาคารสูง ฟิล์มบางที่มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์จอสัมผัส เช่น Touch screen บนจอมือถือหรือจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version