จิตแพทย์แนะ “ดูข่าวร้าย ฟังข่าวเศร้า ยิ่งดูยิ่งเครียด” ควรทำอย่างไรดี

จันทร์ ๒๔ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๓๓
บทความสุขภาพ

จิตแพทย์แนะ “ดูข่าวร้าย ฟังข่าวเศร้า ยิ่งดูยิ่งเครียด” ควรทำอย่างไรดี

โดย นพ.จิตริน ใจดี

จิตแพทย์, ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในกรุงเทพของเราในช่วงเวลานี้ มีสื่อหลากหลายช่องทางต่างนำเสนอข่าวสารรายงานข่าวกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการสร้างความตื่นตัว ระมัดระวังให้กับคนในสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ทันท่วงที แต่ก็อาจทำให้ประชาชนบางกลุ่มเกิดความวิตกกังวล เกิดความกลัว ไม่กล้าที่จะออกมาดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ โดยเฉพาะบางคนเมื่อยิ่งดูข่าวสารทาง Social media ต่างๆ ดูซ้ำไปซ้ำมา ยิ่งดูยิ่งเครียดแต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไรดี วันนี้จิตแพทย์มีคำแนะนำดีๆมาฝากกัน

นพ.จิตริน ใจดี จิตแพทย์ ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ แนะนำว่า เราควรมีวิธีการกลั่นกรองข่าวสารต่างๆ จากหลายๆ มุมมอง ไม่ควรแช่อยู่แต่ในมุมของความเสียหายเพียงอย่างเดียว เพราะหากเรามองลบ จิตใจก็เครียด ก็แค้น หมกมุ่นอยู่แต่ในความเศร้า และคงไม่ได้ช่วยอะไร ก็แค่มีคนที่เป็นทุกข์เพิ่มขึ้นคนหนึ่ง แต่หากลองเปลี่ยนมุมมอง มองสถานการณ์เดียวกันในมุมอื่นๆ ที่เป็นบวกบ้างก็จะช่วยให้ไม่เครียด เช่น ข่าวของคนไทยที่มีน้ำใจไปช่วยบริจาคโลหิต ข่าวของคนที่มีจิตอาสาไปสมัครเป็นล่ามแปลภาษาจีน หรือข่าวของชาวต่างชาติที่มีท่าทีเข้าใจในสถานการณ์ของไทยเป็นต้น ในฐานะผู้รับสาร หากเกิดภาวะตึงเครียด วิตกกังวล หวาดระแวง ควรมีแนวทางการดูแลสุขภาพจิตของตัวเองอันดับแรก เราต้องรู้จักวิธีสำรวจจิตใจและร่างกายของตัวเองว่าเข้าสู่ “ภาวะเครียด” หรือไม่ เช่น ถ้าเริ่มมีความคิดซ้ำๆ หมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวร้ายๆ ที่ได้รับมาตลอดเวลา เริ่มมีความกลัวจนไม่กล้าจะทำอะไร หรือเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ แยกตัวไม่พูดคุยกับใคร หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่สะท้อนถึงความเครียด เช่น หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น คลื่นไส้ กระสับกระส่าย มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม เป็นๆ หายๆ ตลอดทั้งวัน เป็นต้น หากมีภาวะดังกล่าว ควรมีสติ เตือนตัวเองให้ถอยห่างจากการเสพข่าวสารดังกล่าวชั่วคราว และหาเวลาไปพักผ่อนหรือพูดคุยระบายความเครียดกับคนใกล้ชิด แต่หากอาการไม่ทุเลาก็ควรไปขอคำแนะนำหรือฝึกวิธีผ่อนคลายความเครียดจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เพื่อช่วยให้อาการไม่เป็นมากขึ้น ผู้คนที่ต้องออกไปใช้ชีวิตประจำวันในการทำงาน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดแบบนี้ คอนเซ็ปต์ คือ “ทำดีเท่าที่ทำได้ หลังจากนั้นควรปล่อยวาง” เช่น เมื่อมีภาวะฉุกเฉินเราควรเตรียมการรับมือแบบดีที่สุด เช่น กลับบ้านเร็วขึ้น หลีกเลี่ยงจุดเสี่ยง ศึกษาเส้นทางการเดินทางให้ดีก่อนออกจากบ้าน แต่หากเราเตรียมพร้อมทำดีที่สุดแล้ว ก็ควรวางใจ สบายใจว่าทำได้เท่านี้ ไม่ควรเก็บเรื่องดังกล่าวมาวิตกกังวลอีก

สุดท้ายเราทุกคนจะมีแนวคิดมุมมองอย่างไร ให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ การมีสติเลือกรับข่าวสารทางบวกและมีกำลังใจทางบวกอยู่เสมอๆ เมื่อฝึกฝนอยู่เป็นประจำจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถรับมือกับความวิตกกังวลและเอาชนะความกลัวเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ตื่นเต้นคับขันไปได้ครับ

โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 02-732-6069-70

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ