แกนนำชุมชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.3 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.7 ไม่ได้ติดตาม และเมื่อสอบถามถึงความพอใจต่อการปฏิบัติการของทุกภาคส่วน ภายหลังเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 พอใจมาตรการเยียวยาผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิต รองลงมาคือร้อยละ 59.5 พอใจการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสนับสนุนการทำงานของราชการ ร้อยละ 59.3 พอใจต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้อยละ 59.2 พอใจต่อการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในขณะที่ร้อยละ 58.9 พอใจต่อการมีส่วนร่วมของสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสนับสนุนการทำงานของราชการ และร้อยละ 57.9 พอใจต่อการติดตามสืบสวนสอบสวนจับกุมคนร้ายและคลี่คลายสถานการณ์
ประเด็นสำคัญคือ เมื่อสอบถามถึงความวิตกกังวลต่อเหตุร้ายที่เกิดขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 วิตกกังวลลดลง ถึง ไม่กังวลเลย ในขณะที่ร้อยละ 15.5 ยังคงวิตกกังวลเหมือนเดิมและเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล คสช. และหน่วยงานด้านความมั่นคงในการคุ้มครองดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนและป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น นั้นพบว่า แกนนำชุมชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 86.4 ระบุเชื่อมั่น โดยให้เหตุผลสามารถสรุปได้ว่า ทุกหน่วยงานมีการร่วมมือและประสานงานกันเป็นอย่างดี หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาล ถึงแม้จะไม่รวดเร็วทันใจแต่ก็มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แกนนำชุมชน ร้อยละ 13.6 ระบุไม่เชื่อมั่น โดยให้เหตุผลว่า ความร่วมมือของทุกภาคส่วนยังไม่สอดคล้องกัน มีเหตุการณ์ระเบิดอย่างต่อเนื่อง ยังไม่สามารถจับคนร้ายที่ก่อเหตุได้ หวาดกลัวการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ
ลักษณะทั่วไปของแกนนำชุมชนตัวอย่าง
แกนนำชุมชนร้อยละ 88.2 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 11.8 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 6.1 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 36.0 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 57.9 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 38.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 43.7 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 6.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 12.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ