UWC จ่อแบ่งเค้กภาครัฐ 1.1 หมื่นลบ.ขยายระบบส่งไฟฟ้า เปิดประมูล 4G

จันทร์ ๐๗ กันยายน ๒๐๑๕ ๐๙:๐๐
'เอื้อวิทยา' เตรียมแบ่งเค้กก้อนโต 1.1 หมื่นล้านบาท หลังครม.เคาะลงทุนขยายระบบส่งไฟฟ้ารองรับพลังงานทดแทน และเปิดประมูล 4G พย. 58 นี้ ดันความต้องการเสาส่งเพียบ หนุนรายได้ 3 ปีขยาตัวต่อเนื่อง

นายพีรทัศน์ ธนรัชต์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWC เปิดเผยว่า ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. จะมีการขยายระบบสายส่งไฟฟ้าเพื่อให้สามารถรองรับโครงการพลังงานทดแทนที่ขยายตัวไปทั่วประเทศ ซึ่งจะมีความต้องการสายส่งขนาด 500 กิโลโวลต์ (kV)เป็นจำนวนมากใน 3 ภูมิภาค ทั้ง ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งจะสามารถรองรับพลังงานทดแทนทั้งประเทศรวมได้ 5,180 เมกะวัตต์ ทำให้มีความต้องการใช้เสาส่งสายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์ (kV) เป็นมูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ปีพศ. 2559 – 2561

โดยหลังจากที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการดังกล่าวแล้วนั้น ทำให้บริษัทฯจะได้รับผลประโยชน์ทางตรง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเสาส่งสายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์ (kV) และเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นผู้ผลิตรายแรกของประเทศ และได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะได้รับงานจากโครงการภาครัฐเพิ่มเติม และส่งผลให้รายได้ใน 3 ปีข้างหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่องแน่นอน

ในขณะเดียวกันโครงการด้านโทรคมนาคมที่บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 4G ในเดือนพฤศจิกายน 2558 นี้ จะส่งผลให้ความต้องการใช้เสาส่งโทรคมนาคมในปี 2559 จะมีมูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านบาท โดยบริษัทฯก็จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าวเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเสาโทรคมนาคมชั้นนำ สามารถเข้าถึงการขยายโครงข่ายการให้บริการคลื่นความถี่กับโอเปอร์เรเตอร์ทุกรายของประเทศไทย

'การขยายการลงทุนของภาครัฐทั้งในด้านของพลังงาน และการสื่อสารซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จะช่วยให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบจำนวนมากซึ่งการลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องลงทุนด้านเสาส่งไฟฟ้า และเสาส่งสัญญาณ ซึ่งเราเองเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ทำให้มีโอกาสสูงในการรับงานเพิ่มเติมได้อีกจำนวนมาก'

ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทฯในปีหน้า คาดว่ารายได้ในส่วนของเสาส่งสายไฟฟ้าแรงสูง และเสาโทรคมนาคมจะมีการเติบโตไม่น้อยกว่า 40% ทั้งนี้ยังไม่รวมรายได้จากการขายไฟฟ้าของโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลที่จะเข้าลงทุนปลายปีนี้ ซึ่งได้รับ PPA แล้ว และเป็นโครงการที่มีการขายไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่แล้ว หากบริษัทเข้าลงทุนจะสามารถรับรู้รายได้ได้ทันที

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ