รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีนโยบายและมีความมุ่งมั่นที่จำทำให้กรุงเทพมหานครเป็น Green City หรือ มหานครสีเขียว เป็นเมืองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร พลังงาน รวมไปถึงลดการปล่อยของเสียในรูปมลพิษ ทางดิน น้ำ และอากาศให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครสีเขียวที่มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โครงการส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ภายใต้แนวคิด "Bangkok Green Community หรือชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ถือเป็นโครงการต้นแบบของการขับเคลื่อนการเข้ามามีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน ในการบริหารจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน ด้วยการจัดการประกวดชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามโครงการส่งเสริมการจัดการ สิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ระดับกรุงเทพมหานคร แบ่งการประกวดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เครือข่ายชุมขน เครือข่ายสถานศึกษา และเครือข่ายสถานประกอบการ ซึ่งคณะกรรมการตัดสินการประกวดชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระดับกรุงเทพมหานครได้พิจารณาตัดสินการประกวดเรียบร้อยแล้ว ดังรายชื่อต่อไปนี้
ประเภทเครือข่ายชุมชน แบ่งเป็น (1) ชุมชนขนาดเล็ก จำนวน 10 แห่ง ชนะเลิศ ชุมชนสื่อสารรวมใจสามัคคี เขตบางเขน รองชนะเลิศอันดับ 1 ชุมชนวัดจำปา เขตตลิ่งชัน รองชนะเลิศอันดับ 2 ชุมชนสงวนคำ เขตหนองแขม และรางวัลชมเชย ได้แก่ ชุมชนเกตุไพเราะ 3-4-5 เขตพระโขนง, ชุมชนพุ่มพวง เขตบางแค, ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า เขตดุสิต, ชุมชนเกาะกลาง เขตคลองเตย, ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ เขตคลองสาน, ชุมชนหมู่บ้านเปรมฤทัย เขตคลองเตย และชุมชนพุ่มโพธิ์กลาง เขตลาดพร้าว (2) ชุมขนขนาดกลาง จำนวน 5 แห่ง ชนะเลิศ ชุมชนบูรพา 18 เขตดอนเมือง รองชนะเลิศ อันดับ 1 ชุมชนสวนหลวง 1เขตบางคอแหลม รองชนะเลิศอันดับ 2 ชุมขนเพชราวุธ พัน 2 เขตบางเขน และรางวัลชมเชย ได้แก่ ชุมชนบ้านมั่นคงแดงสวนพลู เขตสาทร และชุมชนรุ่งสว่างวิลเลจ เขตบางเขน (3) ชุมชนขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง ชนะเลิศ ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย รองชนะเลิศ อันดับ 1 ชุมชนการค้าหนองแขม หมู่ 2 เขตหนองแขม รองขนะเลิศ อันดับ 2 ชุมชนหมู่บ้านร่วมเกื้อ เขตทวีวัฒนา และรางวัลชมเชย ได้แก่ ชุมชนสวัสดิการหนองแขม เขตหนองแขม
ประเภทเครือข่ายสถานศึกษา แบ่งเป็น (1) สถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่ง ชนะเลิศ โรงเรียนศาลาครืน เขตจอมทอง รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนวัดทองนพคุณ เขตคลองสาน รองชนะเลิศ อันดับ 2 โรงเรียนสามัคคีบำรุงวิทยา เขตดินแดง และรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนคลองบางพรหม เขตทวีวัฒนา, โรงเรียนปิยะพงษ์วิทยา เขตลาดพร้าว และโรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว เขตวังทองหลาง (2) สถานศึกษาขนาดกลาง จำนวน 4 แห่ง ชนะเลิศ โรงเรียนบ้านบำต้นกล้วย เขตหนองจอก รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนประภาสวิทยา เขตบึงกุ่ม และรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนบางแคเหนือ (3) สถานศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 6 แห่ง ชนะเลิศ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ เขตบางนา รองชนะเลิศ อันดับ 1 โรงเรียนโสมาภา เขตบึงกุ่ม รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนอุดมศึกษา เขตวังทองหลาง และรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) เขตดินแดง, โรงเรียนสุเหร่าจระเข้ขบ เขตประเวศ และโรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม เขตสายไหม
สำหรับประเภทเครือข่ายสถานประกอบการ แบ่งเป็น (1) ประเภทห้างสรรพสินค้า จำนวน 3 แห่ง ชนะเลิศ บริษัท น้อมจิตต์ อินเตอร์คอร์เปอเรชั่น จำกัด เขตบางกะปิ รองชนะเลิศ อันดับ 1 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) สาขารามอินทรา เขตบางเขน รองชนะเลิศ อันดับ 2 บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เขตราชเทวี (2) ประเภทโรงแรม จำนวน 4 แห่ง ชนะเลิศ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค เขตดินแดง รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงแรมพลูแมน คิงเพาเวอร์ เขตราชเทวี รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงแรมเดอะสุโกศล เขตราชเทวี และรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงแรมบันยันทรี เขตสาทร (3) ประเภทร้านอาหาร จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ รางวัลชมเชย ครัวเจ๊ง้อ เขตตลิ่งชัน
ผู้ชนะการประกวดจะได้ประกาศเกียรติคุณและรางเงินรางวัล โดยรางวัลชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท
นอกจากรางวัลประกาศเกียรติคุณยกย่องจากสำนักสิ่งแวดล้อมแล้ว ทุกองค์กรและชุมชนที่ได้รับรางวัล ยังได้รับการเชิดชูให้เป็นองค์กรและชุมชนต้นแบบของกรุงเทพมหานครอีกด้วย รวมถึงกรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดทำ QR Code ให้กับผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนผลิตขึ้น เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์สามารถติดต่อชุมชนได้โดยตรง และเป็นการต่อยอดการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มชุมชนอย่างยั่งยืน
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในท้ายสุดว่า การจัดการประกวดชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระดับกรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นการประกาศเกียรติคุณให้กับทุกองค์กรและชุมชนที่ได้รับรางวัลแล้ว ยังเป็นการเชิดชูองค์กรและชุมชนต้นแบบ ของกรุงเทพมหานคร อีกทั้ง ความสำเร็จในโครงการนี้ ในด้านการวิจัยและพัฒนา จะนำไปสู่การบริหารจัดการให้เกิดเครือข่ายองค์กร ชุมชน และเยาวชน รวมถึงเกิดศูนย์เรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมประจำย่านคลองที่มีความเข้มแข็ง ที่สามารถต่อยอดขยายผลไปทั่วกรุงเทพฯ และขยายผลไปสู่ระดับประเทศต่อไป