ศ. ดร. เพทาย เย็นจิตโสมนัส นายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย หน่วยอณูเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เรื่อง โรพันธุกรรมที่คนไทยควรรู้ว่า มี 3 กลุ่มใหญ่คือ 1. โรคที่มีมาแต่กำเนิด คนไทยเป็นมากคือ ธาลัสซิเมียมาก โรคเลือด อาการตัว ซีด เหลือง การเจริญเติบโตช้า คนไทยเป็นโรคนี้มาก เกิดจากผู้ใหญ่มียีนส์ที่ผิดปกติมาแต่งงานกัน ดังนั้นลูกที่เกิดจะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ ต้องรักษากันตลอดชีวิต หรือเปลี่ยนถ่ายข้อกระดูก จะรักษาได้ดีแต่มีข้อจำกัดในการหาไขข้อกระดูก และโรคพันธุกรรมที่เป็นกันมากอีกโรคคือ โรคเกี่ยวกับไต ถุงน้ำในไต และอาจจะพัฒนาไตไม่ทำงาน ต้องรับการฟอกเลือด
กลุ่มที่2 โรคพันธุกรรม ที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นยีนส์ในผู้ป่วย โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนป่วยเอง กลุ่มนี้เป็นกันมากทั้งคนไทยแต่ทั่วโลก เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัลไซเมอร์ ภูมิแพ้ กลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมล้วนๆ หรือสิ่งแวดล้อมล้วนๆ แต่อาศัยร่วมกัน โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ผุ้ป่วยจะมีวิถีชีวิต ออกกำลังกายน้อย พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่ถูกลักษณะ กินอาหารไม่ครบหมู่ กินฟาสฟู้ดส์ต่างๆ กินน้ำตาลมาก แป้งมาก ทำให้เสี่ยงเกิดเบาหวาน เพราะในตัวผู้ป่วยมียีนส์เสี่ยงเป็นโรคนี้อยู่แล้ว โรคอื่นๆในกลุ่มนี้ก็เช่นกัน โรคในกลุ่ม 2 สามารถป้องกันได้ กล่าวคือผู้ป่วยต้อง มีวิถีชีวิตถูกต้อง ทั้งการออกกำลังกาย เลือกกินที่ถูกต้อง พักผ่อนไม่เครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุการเกิดโรค
กลุ่มที่ 3 เป็นโรคที่เกิดจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมในร่างกลาย เกิดการกลายพันธุ์ของเซล ตัวยีนส์ จีโดรมเปลี่ยนแปลง โรคที่เป็นกันมาก มีการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย คือโรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกอวัยวะในร่างกายคนเรา อาทิ มะเร็งตับ สมอง เต้านม มดลูก อวัยวะอื่นๆ สาเหตุเกิดจากยีนส์กลายพันธุ์ และผู้ป่วยมีการใช้วิถีชีวิตเสี่ยงต่อการกระตุ้นโรค ทำให้เกิดการภูมิกันต่ำ การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงและกระตุ้นโรค อาทิ การได้รับสารพิษจากการกินอาหาร รับมลพิษ จากสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เซลในร่างการกลายพันธุ์ เซลในร่างกายเปลี่ยนแปล ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง 2 ปัจจัยสำคัญทำให้เกิดมะเร็งขึ้น เซลมะเร็งจะแตกตัวกระจายแทรกตามอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายผิดปกติ ทนไม่ได้ ทำให้เกิดการตายในคนไทยมากกว่า โรคหัวใจ หรืออุบัติเหตุ หน่วยงานสาธารณะสุข บุคลากรทางการแพทย์ของไทยต้องทำงานวิจัย หาวิธีที่รักษาโรคมะเร็งมากขึ้น คนไทยจะรู้เรื่องนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวิจัยโรคเพื่อการรักษามากขึ้น
ทั้งนี้ หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้หาวิธีการใหม่ๆในการวิจัยทันสมัยเพื่อนำมารักษาโรคมะเร็ง ใช้ควบคู่ กับวิธีการเดิมๆ อาทิ การผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายแสง วิธีเหล่านี้ยังใช้อยู่ ตอนนี้ได้พัฒนาวิจัยหม่ๆ คือ การทำเซลบำบัด ใช้เซลในระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เอาเซลเหล่านี้ออกมา ข้างนอกร่างกาย นำมากระตุ้น แต่งตัวเพิ่มความแข็งแรงขึ้น ทำให้รู้จักเซลมะเร็งแล้วใส่กลับเข้าไปในร่างกายเหมือนเดิม เพื่อฆ่าเซลมะเร็ง ใช้เซลตัวเองที่มีประสิทธิภาพเข้าไปฆ่าเซลมะเร็ง อันนี้อยู่ในขั้นตอนวิจัยเพื่อรักษา แต่ในต่างประเทศได้มีการวิจัยไปมากแล้ว ไทยเริ่มนำมาทดลอง อีก3ปีคงใช้กับคนไข้ หรือวิจัยทางคลินิก และมีศักยภาพนำมาใช้รักษาได้ในอนาคต อีกไม่เกิน 5ปี แต่วิธีการนี้เอามาประกอบใช้กับการรักษาแบบเดิม การใช้วิธีการแบบใหม่นี้จะมี ผลข้างเคียงน้อย แต่ขึ้นกับเซลมะเร็งในร่างกายมีมากน้อยแค่ไหน ทางแพทย์จะมีวิธีการรักษา อีกโรคในกลุ่มที่3 นี้คือโรคแพ้ภูมิตนเอง มีพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติ เซลภูมิคุ้มกันผิดเพี้ยนมาทำลายเซลตัวเอง ไม่สามารถจดจำเซลตนเองได้
อย่างไรก็ตามสำหรับองค์ความรู้ด้านวิชาการในปีนี้ ทาง เครือข่ายชีวสารสนเทศศาสตร์ สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย และหน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. จัดการประชุมวิชาการจีโนมิกส์ ชีวสารสนเทศศาสตร์ และชีววิทยาเชิงระบบ (Genomics, Bioinformatics, and System Biology Conference; GBSBC2015) ในวันที่ 10-11 กันยายน 2558 ณ ห้อง Conference Room 105A ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ เนื้อหาการประชุมที่เกี่ยวข้อง Principles and Technology Platforms of Next Generation Sequencing (NGS),Principles of Bioinformatic Analysis,Applications of NGS and Bioinformatics in Genomics,Applications of NGS and Bioinformatics in Transcriptomics,Principles and Applications of Proteomics,Principles and Applications of System Biology
สนใจข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ สามารถลงทะเบียนชมงานล่วงหน้าได้ที่ www.thailandlab.com หรือ Email:[email protected] หรือสอบถามข้อมูลได้ ที VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. Tel: +662-670-0900 Ext. 201-209 Fax: +662-670-0908
Facebook page:www.facebook.com/ThailandLab Twitter: twitter.com/ThailandLab Youtube Channel:www.youtube.com/ThailandLab
Thailand LAB 2015
Trade : 9-11 September 2015 (10.00-17.00 hrs.)
Venue : EH 105 - EH 107 , BITEC, Bangkok, Thailand