7 เรื่องราวเกี่ยวกับวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวัง จากซีรีส์หนังอาชญากรรม: เรื่องจริง กับ จินตนาการ

จันทร์ ๐๗ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๖:๐๗

ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน

บริษัท แอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์

เมื่อนึกถึงการรักษาความปลอดภัย ระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังเป็นและยังคงเป็นพระเอกอยู่ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าและความสำเร็จทางเทคโนโลยีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมายังนำมาซึ่งความเข้าใจและความคาดหวังที่คลาดเคลื่อน นักประพันธ์ซีรีส์หนังอาชญากรรมนับไม่ถ้วน สร้างเนื้อเรื่องให้เห็นถึงปาฏิหาริย์ที่เกิดจากเทคโนโลยีวิดีโอ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อะไรเป็นจริงได้ และอะไรเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เรามาไขปริศนาเรื่องราว 7 ประการที่น่าสนใจที่สุดของเทคโนโลยีวิดีโอกัน

1. ดิจิทัลซูม: เรื่องที่แสนจะคลาสสิก

ซีรีส์: การซูมภาพด้วยระบบดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญที่ปรากฏอยู่ในซีรีส์หนังอาชญากรรมหลายๆ เรื่อง นักสืบนำภาพวิดีโอจากกล้องตรวจการณ์-เฝ้าระวังมาขยายจุดที่ต้องการจะเห็น เช่นภาพที่สะท้อนอยู่ในกระจกหน้าต่าง ซึ่งขั้นตอนในช่วงแรกๆ มักดูเหมือนจริงและเป็นไปได้ คือเมื่อซูมเข้ามาพิกเซลก็ขยายและไม่สามารถจำแนกอะไรออกมาได้ แต่เมื่อเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา ในหลายๆ ตอนของหนังมีการใช้โปรแกรมทางเทคนิคช่วยทำให้ภาพที่ได้จากวิดีโอชัดขึ้น และสามารถทำให้ภาพที่ขยายนั้นเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง ดูแล้วเป็นเรื่องสุดยอดจริงๆ ที่เมื่อเหล่านักสืบต้องการแค่จะรู้สีตาของผู้ต้องสงสัยแต่กลับได้เห็นละเอียดถึงม่านตาด้วยภาพที่คมชัด

เรื่องจริง: ซีรีส์ทางโทรทัศน์จินตนาการเรื่องดิจิทัลซูมที่ระดับเมกะพิกเซลด้วยตัวเลขสูงสองหลักหรือสามหลัก ความคมชัดระดับนั้นอาจจะเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่ถ้าพูดถึงข้อจำกัดมากมายของเทคโนโลยีตรวจการณ์ที่แท้จริง กล้องที่ติดตั้งใช้งานส่วนมากยังคงเป็นระบบอนาล็อก ในขณะที่กล้องไอพีระดับมืออาชีพซึ่งมีความละเอียดระดับ 1080p HDTV ก็ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกล้องมาตรฐานที่ใช้งานทั่วๆ ไป กล้องที่มีความละเอียดระดับ 4K ultra-high HD เพิ่งออกสู่ตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2557 และคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าที่จะมีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย

2. ภาพในความมืดคือความมืด

ซีรีส์: ฉากหนังอาชญากรรมจำนวนมากเกิดขึ้นในความมืด แต่พอถึงขั้นตอนการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ กลับได้ภาพที่คมชัด

เรื่องจริง: ภาพถ่ายตอนกลางคืนในพื้นที่ที่มีสภาพแสงไม่ดีโดยปกติภาพจะมัว การเคลื่อนไหวจะพร่ามากขึ้น ในสภาวการณ์เช่นนี้ช่างภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์เข้ามาช่วย แต่วิธีนี้นำไปใช้ในงานรักษาความปลอดภัยไม่ได้ ภาพถ่ายกลางคืนที่มีการเสริมแต่งแสงจะถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ในการระบุตัวตนได้น้อยมาก จะระบุตัวตนยานพาหนะต่างๆ ได้ก็เมื่อตอนที่พวกมันจอดอยู่นิ่งๆ หรือเคลื่อนที่ช้ามากๆ

3. มองจากที่สูง

ซีรีส์: พนักงานสืบสวนนำภาพด้านหน้าของผู้ต้องสงสัยที่ได้จากกล้องตรวจการณ์ไปใช้ และพวกเขาสามารถใช้ภาพนี้ในการสอบสวนด้านอื่นๆ เช่น นำภาพผู้ต้องสงสัยไปถามผู้คนที่อยู่ละแวกนั้น

เรื่องจริง: โดยปกติกล้องมักจะติดตั้งอยู่สูงมากหรือที่ที่เอื้อมไม่ถึงเพื่อปกป้องตัวกล้องจากการที่จะโดนปัดให้กล้องหันเหไปทางอื่นและจากการโดนทุบทำลาย นั่นหมายความว่ากล้องจะมีมุมมองจากข้างบนลงมาด้วยมุมที่สูงชันมาก หากจะจับภาพใบหน้าของคนได้ดังที่ปรากฏในซีรีส์ คนคนนั้นจะต้องแหงนหน้าขึ้นมองตรงไปที่กล้องเท่านั้น ภาพที่จะเล็งไปที่ด้านหน้าของผู้ต้องสงสัยเหมือนที่อยู่ในหนังได้นั้นหมายความว่ากล้องจะต้องติดตั้งอยู่บนขาตั้งสูง 1.70 เมตรในแนวเดียวกับด้านหน้าผู้ต้องสงสัย ซึ่งในระบบตรวจการณ์-เฝ้าระวังมีความแตกต่างกันเล็กน้อย

4. ความจริงที่บิดเบือน

ซีรีส์: ในละครทีวีเกี่ยวกับผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ การระบุตัวตนผู้คนทำได้อย่างง่ายดายแม้ว่าคนคนนั้นจะอยู่ด้านหน้าของอาคารใหญ่ๆ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นอยู่ตรงไหน ในซีรีส์ใช้กล้องเพียงตัวเดียวที่มีรูรับแสงกว้างเพื่อบันทึกภาพทั่วทั้งอาคารและผลที่ออกมาตามในหนังคือสามารถมองเห็นหน้าต่างและทางเข้าออกต่างๆ ได้ชัดเจน

เรื่องจริง: มุมมองรูรับแสงยิ่งกว้างมากเท่าไร ความชัดเจนของพิกเซลตรงบริเวณขอบของภาพก็จะลดลงมากเท่านั้น การระบุตัวตนได้ดีมักจะอยู่ที่ระดับกลางภาพประมาณ 45 องศา หากใช้กล้องที่มีรูรับแสงกว้างกับพื้นที่รอบนอกอาคารสถานที่อาจได้ความละเอียดพิกเซลต่ำเกินไป หรือถ้าไม่เช่นนั้นแกนของมุมมองที่ใช้จับตามองผู้กระทำผิดก็จะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ทั้งนี้สรุปภาพรวมคร่าวๆ ได้ว่ารูรับแสงกว้างใช้ได้จริงแต่การระบุตัวตนเป็นไปไม่ได้เสมอไป

5. ทุกอย่างทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด

ซีรีส์: เจ้าหน้าที่สืบสวนสามารถสลับไปดูวิดีโอจากที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายระหว่างกล้องที่ติดตั้งอยู่ที่ตู้เอทีเอ็ม กล้องที่ติดตั้งเพื่อการจราจร และกล้องตรวจการณ์รถไฟใต้ดิน ดูเหมือนรัฐบาลมีกล้องเป็นหูเป็นตาอยู่ทุกแห่งหน

เรื่องจริง: ในสถานการณ์จริงพนักงานสืบสวนต้องเผชิญกับปัญหาที่ต่างจากในภาพยนต์ เนื่องจากกล้องไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด แม้จะเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าหากวิดีโอที่ติดอยู่ในสถานที่ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ก็จะสามารถช่วยชีวิตผู้คนที่อยู่ในสถานการณ์ที่โหดร้ายต่างๆ ได้ก็ตาม สาเหตุเกิดจากการใช้ระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังที่มีระบบแตกต่างกันมากมาย แต่ไม่มีอินเตอร์เฟสที่เป็นมาตรฐาน ยิ่งไปกว่านั้นระบบส่วนใหญ่ทำงานแบบออฟไลน์ ซึ่งเมื่อเราต้องการจะนำภาพวิดีโอที่กล้องบันทึกไว้ไปใช้งานจริงเราต้องใช้เวลาเข้าไปยังสถานที่ที่จัดเก็บภาพวิดีโอนั้นๆ

6. ใช้กล้องจำลอง

ซีรีส์: ปัจจุบัน กล้องได้รับการติดตั้งอยู่เกือบจะทุกที่ในที่ที่เห็นได้ชัด เช่น ร้านขายยา ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ดังนั้นลูกค้าและผู้มาใช้บริการทุกคนรู้ว่าเขาถูกจับตามองอยู่ เหตุผลของการติดตั้งกล้อง "หลอก" ก็เพื่อยับยั้งการลักทรัพย์

เรื่องจริง: แม้แต่มือสมัครเล่นที่ไม่มีความชำนาญยังบอกได้อย่างง่ายดายว่ากล้องเป็นของปลอมหรือไม่ ซึ่งหมายความว่าการพยายามที่จะป้องปรามอาจกลับตาลปัตร มันอาจกลายเป็นการบอกหัวขโมยว่า "ลงมือได้เลย! ไม่มีใครคอยจับตาดู!"

7. กล้องสมบูรณ์แบบตลอดเวลา

ซีรีส์: กล้องในหนังไม่เคยมีฝุ่นจับ ไม่มีหยากไย่ใยแมงมุมเกาะ และกระจกกล้องก็ไม่เคยสกปรก มุมมองกล้องก็ชัดเจนและไม่ถูกบดบังด้วยกิ่งไม้หรือวัตถุอื่นใด

เรื่องจริง: ลูกค้าน้อยรายที่จะให้ความสนใจทำความสะอาดและรักษาระบบกล้องของพวกเขา และแทบจะไม่เซ็นสัญญาการใช้บริการ บ่อยครั้งที่เจ้าของระบบวิดีโอไม่ตระหนักเลยว่ากล้องได้รับการบำรุงรักษาไม่เพียงพอจนกระทั่งเมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และต้องการจะใช้ภาพจากกล้องแต่ภาพใช้ไม่ได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็สายไปเสียแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๒๖ พ.ย. EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๒๖ พ.ย. 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๒๖ พ.ย. ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๒๖ พ.ย. Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๒๖ พ.ย. ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๒๖ พ.ย. กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๒๖ พ.ย. เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๒๖ พ.ย. Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว