พัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมคุณภาพสูงด้วยแสงซินโครตรอน ส่งต่อภาคอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จริง

ศุกร์ ๑๑ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๒:๑๖
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ใช้แสงซินโครตรอนศึกษาและพัฒนาวัสดุในแบตเตอรี่ลิเทียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มีคุณภาพสูง ส่งต่อองค์ความรู้ให้กับภาคอุตสาหกรรมยืดยันงานวิจัยใช้ประโยชน์จริง!

ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวว่า "แบตเตอรี่ที่เราใช้งานในปัจจุบันนี้มีอยู่มากมายหลายประเภท หนึ่งในแบตเตอรี่ที่กำลังนิยมใช้อย่างกว้างขวางในวงการอิเล็กทรอนิกส์คือ แบตเตอรี่ชนิดลิเทียม (Li-ion batteries) ซึ่งตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าชนิดนี้ ปัจจุบันมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่นใช้กับโทรศัพท์มือถือ ไอแพด แล็ปท็อป กล้องวีดีโอ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่นๆ เนื่องจากมีข้อดีคือ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีระยะเวลาใช้งานก่อนจะประจุไฟใหม่ยาวนานขึ้น มีความหนาแน่นของพลังงานสูงทำให้สามารถใช้งานได้นาน ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้งานหลังจากเก็บเป็นเวลานาน มีอัตราการคายประจำตัวเองต่ำ ไม่ต้องดูแลรักษามาก นอกจากนั้นแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมนี้ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังมีความพยายามนำแบตเตอรี่ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านอวกาศ ด้านการทหาร ด้านการไฟฟ้าและสาธารณูปโภคอีกด้วย"

ดร.พินิจ กิจขุนทด นักวิจัย กล่าวว่า "ความสามารถในการกักเก็บพลังงานของแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนที่สำคัญขึ้นอยู่กับชนิดและสมบัติของวัสดุที่นำมาทำขั้วลบ(แคโทด)และขั้วบวก(แอโนด) ซึ่งงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์จากแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสง SUT-NANOTEC-SLRI เพื่อศึกษาและพัฒนาศักยภาพของวัสดุชนิดใหม่สำหรับแบตเตอรี่ชนิดลิเทียม โดยวิเคราะห์วัสดุที่จะนำมาใช้เป็นขั้วบวก (แอโนด) ในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียม และได้พัฒนากระบวนการสังเคราะห์โดยการใช้เทคนิคอิเล็กโทรสปินนิ่งเพื่อสังเคราะห์เส้นใยคาร์บอนในระดับนาโนเมตรที่มีการเกาะตัวของสารแม่เหล็กชนิดเฟอร์ไรต์ต่างๆบนเส้นใยนาโน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขั้วแอโนดนี้ แสงซินโครตรอนได้ถูกประยุกต์ใช้ในการศึกษาโครงสร้างเชิงลึกในระดับอะตอมของสารแม่เหล็กชนิดดังกล่าว เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของศักยภาพที่เกิดขึ้น อีกทั้งเมื่อสามารถเข้าใจถึงโครงสร้างของสารเหล่านี้แล้ว องค์ความรู้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาสารอื่นๆเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้อีก งานวิจัยนี้เป็นการร่วมมือวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ ศ.ดร.สันติ แม้นศิริ หัวหน้ากลุ่มวิจัยวัสดุเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง (Advanced Materials Physics) จากสาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผลจากการวิจัยพบว่าสารที่ศึกษาดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการนำไปใช้เป็นขั้วแอโนดสำหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนศักยภาพสูงได้ดีกว่าการใช้วัสดุแบบดั้งเดิมได้ โดยองค์ความรู้ที่ได้นี้จะถูกส่งต่อไปยังภาคอุตสาหกรรมในการผลิตใช้งานจริงได้ในอนาคต"

ผู้ประสานงาน น.ส.ศศิพันธุ์ ไตรทาน, น.ส.กุลธิดา พิทยาภรณ์

เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1252,1601 โทรสาร 0-4421-7047

อีเมลล์: [email protected], [email protected], [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO