เอื้อวิทยาเพิ่มพอร์ทพลังงานส่ง ยูดับบลิวซี โซล่าร์’เซ็นโรงไฟฟ้าสหกรณ์ 45 MW หลังมีแผนฮุบชีวมวล 50 MW

อังคาร ๑๕ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๑:๐๖
'เอื้อวิทยา' ส่งบริษัทลูก 'ยูดับบลิวซี โซล่าร์' เซ็นสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สหกรณ์ 9 แห่งรวม 45 MW เพิ่มพอร์ทรายได้พลังงาน หลังมีแผนฮุบชีวมวลกว่า 50 MW ในปีนี้ คาดอัตราผลตอบแทนในการลงทุน 12%

นายพีรทัศน์ ธนรัชต์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWC เปิดเผยว่าบริษัทฯได้ตั้ง 'ยูดับบลิวซี โซล่าร์' บริษัทลูกเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นการลงทุนเพิ่มเติมจากแผนการเข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลกว่า 50 เมกะวัตต์ในปี 2558 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการกำกับกิจการพลังงาน หรือกกพ. จะเปิดให้เอกชนยื่นเสนอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการ และสหกรณ์ภาคการเกษตรรวม 800 เมกะวัตต์

ซึ่งยูดับบลิวซี โซล่าร์ ได้เข้าไปให้ข้อมูลความรู้กับสหกรณ์ เกี่ยวกับประวัติ และความสามารถของบริษัทฯ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว กับสหกรณ์ทั้ง 9 แห่ง ซี่งเป็นสหกรณ์ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ โดยที่สหกรณ์ทั้ง 9 แห่งได้มีมติในการประชุมให้บริษัทฯเป็นผู้สนับสนุนในโครงการดังกล่าว โดยแต่ละโครงการจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 5 เมกะวัตต์ รวม 9 สหกรณ์ จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 45 เม็กกะวัตต์ ซึ่งโครงการดังกล่าวบริษัทฯจะจัดสรรส่วนแบ่งรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับสหกรณ์ทุกแห่งที่บริษัทจะเข้าลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าด้วย

โดยล่าสุด ยูดับบลิวซี โซล่าร์ ได้เตรียมพร้อมในการเข้าทำโครงการดังกล่าว เพื่อเตรียมยื่นเสนอเป็นผู้สนับสนุนในโครงการที่จะมีการเปิดให้เอกชนในเร็วๆนี้ โดยดำเนินการเข้าสำรวจพื้นที่สำหรับดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำหรับสหกรณ์ทั้ง 9 แห่งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจำนวนกว่า 600 ไร่ พบว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำโซล่าร์ฟาร์ม เมื่อประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะทำให้การผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินนี้มีประสิทธิภาพสูง โดยคาดว่าโครงการดังกล่าว จะมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 12% และหากได้เข้าร่วมโครงการจะสามารถรับรู้รายได้ในไตรมาส 4 ปี 2559

'เราได้เตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการของภาครัฐอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้จากพลังงานเพิ่มเติมจากโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีแผนลงทุนอยู่แล้ว โดยตั้งบริษัทลูกขึ้นมา และดำเนินการร่วมกับสหกรณ์ที่มีศักยภาพ และผ่านเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ซึ่งเมื่อประกอบกับบริษัทฯมีความมั่นคงทางการเงิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงทำให้มีความแข็งแกร่ง และทำให้สหกรณ์ทั้ง 9 แห่งยินดีที่จะให้เราเป็นผู้สนับสนุน และได้เริ่มสำรวจที่ดินตามที่สหกรณ์เป็นผู้จัดเตรียมไว้บ้างแล้ว' นายพีรทัศน์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ