การบูรณาการของอาเซียนส่งผลดีต่อธุรกิจโลจิสติกส์ และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์

ศุกร์ ๑๘ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๐:๕๐
การบูรณาการเป็นตลาดเดียวกันของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ที่จะเกิดขึ้นในช่วงสิ้นปี 2558 นั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ทันทีต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิก และอาจส่งผลดีต่อเนื่องมายังตลาดอาคารสำนักงานและค้าปลีกด้วย

จากรายงานฉบับล่าสุดของซีบีอาร์อี "ASEAN Economic Community - A Boost to South East Asia's Real Estate Market" จัดทำโดยแผนกวิจัยของซีบีอาร์อี คาดการณ์ว่า ความต้องการและปริมาณพื้นที่อุตสาหกรรมและพื้นที่สำนักงานในประเทศอาเซียนส่วนใหญ่จะพุ่งสูงขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ เอเอ็มอี และบริษัทข้ามชาติจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโลจิสติกส์นั้นเป็นที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตและมีการพัฒนามากขึ้นในอาเซียนซึ่งเป็นผลมาจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี มีแผนแม่แบบการจัดการที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) แบบค่อยเป็นค่อยไประหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมย่อมสนับสนุนให้เกิดความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากจะมีบริษัทข้ามชาติเริ่มเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น และธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคก็จะขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจให้บริการด้านการเงินและด้านกฎหมายในประเทศเกิดใหม่อาจจะเติบโตไปตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มมากขึ้นและแผนการเปิดเสรีของตลาดทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นที่คาดการณ์ว่าบริษัทค้าปลีกต่างชาติจะเข้ามาในตลาดอาเซียนมากขึ้น ต่อเนื่องจากเดิมที่ได้วางแผนไว้ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับการท่องเที่ยวนับเป็นจุดเด่นของชาติสมาชิกอาเซียน เพราะแผนแม่แบบการจัดการของเออีซีมุ่งเน้นการขยายระบบการขนส่งภาคพื้นดินและทางอากาศ รวมทั้งขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น

นายเดสมอนด์ ซิม หัวหน้าแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี ประจำสิงคโปร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "ถึงแม้จะมีอุปสรรคและข้อจำกัดหลายประการที่อาเซียนจำเป็นต้องก้าวข้ามไปให้ได้ แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะยังคงเป็นทำเลที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจจ่างๆ และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ด้วยการเปิดเออีซีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศในอาเซียนให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น"

อุปสรรคต่อการเติบโตของตลาดอาเซียนนั้นมีด้วยกันหลายประการ ในรายงานของซีบีอาร์อีระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีพื้นที่ค้าปลีกที่มีการบริหารจัดการไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกมีความผันผวน ส่งผลให้ผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกชะลอหรือยกเลิกการขยายสาขาออกไป และการมีแรงงานที่ความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอยังเป็นความท้าทายประการหนึ่งสำหรับตลาดอาคารสำนักงานและตลาดอุตสาหกรรมทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง รวมถึงความเชี่ยวชาญของแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศตามแผนที่มีการเสนอมีข้อจำกัด

ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งก็คือ การขาดนโยบายด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จะมาช่วยส่งเสริมนโยบายการลงทุนเสรีและการเคลื่อนย้ายทุน บ่อยครั้งที่นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์พบข้อจำกัดในเรื่องการถือครองที่ดินโดยชาวต่างชาติและเรื่องระยะเวลาการเช่าที่สั้น สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการลงทุนเป็นสิ่งที่จำเป็นในการกระตุ้นให้เกิดการไหลเข้ามาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และปรับปรุงขั้นตอนการพัฒนาโดยรวมในอาเซียน ดังนั้น การทบทวนนโยบายการถือครองที่ดินโดยชาวต่างชาติของแต่ละประเทศอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ชาวต่างชาติมีโอกาสเข้าร่วมในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น

หลายฝ่ายที่จับตามองตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงมองว่าการไหลเข้ามาของเงินทุนสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเรื่องที่ดี การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนทำสถิติเงินทุนไหลเข้าถึงราว 1 ล้านล้านบาท (28.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ระหว่างปี 2548 – 2557 และสำหรับในช่วงห้าปีที่ผ่านมาคือปี 2553 - 2557 จีนขึ้นครองตำแหน่งนักลงทุนอันดับ 1 ในตลาดอาเซียนด้วยสัดส่วนถึง 29% ของปริมาณการลงทุนทั้งหมดในอาเซียน หรือราว 1.59 แสนล้านบาท (4.423 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) รองลงมาเป็นสิงคโปร์ ด้วยเงินลงทุนราว 1.53 แสนล้านบาท (4.268 พันล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็น 28% ของเงินลงทุนทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ การลงทุนระหว่างประเทศที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในอาเซียนนั้นเกิดขึ้นพร้อมกันกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการกระจายตัวของเงินทุนโลกที่เข้ามาในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมดในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา

"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการลงทุนเสรีในอาเซียน ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับการลงทุนจากต่างชาติภายในประเทศสมาชิก ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลายในอาเซียนทำให้นักลงทุนมีโอกาสทางด้านการลงทุนที่กว้างขึ้น ดังนั้นการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอาเซียนจึงเป็นที่คาดว่าจะมีการเติบโต เนื่องจากนักลงทุนมองหาตลาดทางที่เป็นเลือกสำหรับพอร์ตการลงทุนอสังหาริมทรัพย์" นายเดสมอนด์กล่าวเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจากซีบีอาร์อีเพิ่มเติมได้ที่

Facebook: CBRE.Thailand และ CBRE.Condo.Society

Twitter: @cbrethailand

YouTube: CBREThailand

LinkedIn: company/cb-richard-ellis-thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version