สพฉ.จัดโครงการอบรมการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์สำหรับบุคคลากรผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิด

จันทร์ ๒๑ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๔:๔๙
เพื่อกระตุ้นการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ได้อย่างถูกต้อง "นพ.ไพโรจน์" ระบุไทยยังมีทุ่นระเบิดตกค้างประมาณ 435 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ใน 15 จังหวัด พร้อมเตรียมขยายผลช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด

ที่ห้องประชุมบอลรูม C โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้จัดโครงการอบรมการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์สำหรับบุคคลากรผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิด เพื่อกระตุ้นการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ได้อย่างถูกต้อง โดยการจัดงานในครั้งนี้นั้นได้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิด (นปท.) กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร (NGOs) เข้าร่วมทำการอบรมเป็นจำนวนมาก

นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่าโครงการอบรมการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์สำหรับบุคคลากรผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้แล้วยังเป็นการประสานความร่วมมือและการสร้างสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หน่วยปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์ และประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุ โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้การประเมินและดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บจากทุ่นระเบิด การจัดการทางเดินหายใจและการช่วยหายใจ (Airway & Breathing)การประเมินและจัดการภาวะช็อค (Shock: Assessment & Management)รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ซึ่งเป็นผลจากความขัดแย้งในประเทศเพื่อนบ้านและความไม่สงบจากสงครามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะบริเวณชายแดนยังไม่สามารถเก็บกู้ทุ่นระเบิดได้ทั้งหมด ทำให้ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและพิการจากทุ่นระเบิดอยู่เสมอ และจากการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-Personnel Mines and on their Destruction) หรือที่เรียกว่า "อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล" ประเทศไทยจึงได้ให้ความสำคัญต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพิ่มมากขึ้นโดยจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบโดยเฉพาะคือ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ศทช.ศบท.บก.ทท.) ขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ.2542

นพ.ไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสนามทุ่นระเบิดระหว่างปี 2543-2544 ได้ประมาณพื้นที่ซึ่งอาจมีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตกค้างประมาณ 2,560 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ 27 จังหวัด 84 อำเภอ 530 หมู่บ้าน และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 503,682 คน ซึ่งในปัจจุบันมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดเหลือ 15 จังหวัด และได้พื้นที่ปลอดภัยรวม 2,125 ตารางกิโลเมตร คงเหลือพื้นที่อันตรายที่ต้องดำเนินการเก็บกู้กวาดล้างอีก 435 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ติดหรืออยู่ใกล้ชายแดน ส่วนมากบริเวณแนวชายแดนไทยและกัมพูชา

รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเพื่อส่งเสริมบทบาทในด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะการผลิตขาเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ที่ผ่านมามีหน่วยงานของประเทศไทยที่มีขีดความสามารถในเรื่องนี้ได้แก่องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร (NGOs) เช่น มูลนิธิขาเทียมฯ มูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ได้มีการจัดการฝึกอบรมช่างทำขาเทียม และการจัดบริการหน่วยเคลื่อนที่เพื่อผลิตและแจกขาเทียม แก่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนาม เมียนมาร์ รวมทั้งให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน เช่น กัมพูชา เมียนมาร์

"นอกจากนี้ ประเทศไทยสามารถนำความร่วมมือทวิภาคีที่ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านมาเชื่อมโยงและขยายผลต่อสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ อาทิเช่น ความร่วมมือทวิภาคีทางวิชาการกับลาว โดยประเทศไทยให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสำหรับความร่วมมือด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลให้ขยายผลต่องานนวัตกรรมต่างๆ อีกด้วย"นพ.ไพโรจน์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version