ก.ไอซีที ชูเทคโนโลยี GNSS ยกระดับภารกิจด้านการจัดการภัยพิบัติ

อังคาร ๒๒ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๑:๓๗
กระทรวงไอซีที เดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถของระบบสื่อสารแบบควบรวม ชูเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมหลายระบบ (GNSS) ยกระดับภารกิจด้านการจัดการภัยพิบัติของชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นางสาวมาลี วงศาโรจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการเพิ่มสมรรถนะของระบบสื่อสารแบบควบรวม ด้วยเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมหลายระบบ เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการจัดการด้านภัยพิบัติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558 ณ ห้องแกรนด์ C โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Space Cooperation Organization : APSCO) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2548 พร้อมกับอีก 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ปากีสถาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย อิหร่าน มองโกเลีย และเปรู เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ การศึกษา การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาและสาธิต การประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์รองรับการทำงาน สำหรับการจัดการในภาวะฉุกเฉินและการช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติ (โครงการ EMDR) ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้งานจากข้อมูลดาวเทียมระบุพิกัดแบบหลายระบบ (Global Navigation Satellite System : GNSS) มาใช้เพื่อการระบุพิกัดอย่างแม่นยำในการแจ้งเหตุภัยพิบัติ เส้นทางอพยพ การเข้าให้ความช่วยเหลือ และอื่นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือ

ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงการดังกล่าว กระทรวงไอซีทีเห็นว่านอกเหนือจากการเข้าร่วมสาธิตระบบ EMDR ในฐานะผู้ใช้งานขององค์กร APSCO แล้ว ประเทศไทยควรริเริ่มการวิจัย ออกแบบ และพัฒนาระบบในฐานะผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้มีระบบที่มีศักยภาพต่อการใช้งานที่เหมาะสม สามารถควบรวมการสื่อสารในพื้นที่ประสบภาวะภัยพิบัติและรองรับความต้องการสื่อสารพื้นฐานทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสามารถรองรับการระบุพิกัดที่แม่นยำจากเทคโนโลยี GNSS โดยผ่านระบบเว็บเซอร์วิส เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ด้วยข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ที่ทันสมัยและใช้งานได้ง่าย

ต่อมาในปี 2552 กระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินโครงการสร้างต้นแบบระบบการสื่อสารแบบควบรวมด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เพื่อใช้ประสานงานหรือเชื่อมโยงการสื่อสารภายในพื้นที่ และสามารถสื่อสารออกนอกพื้นที่ได้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถรองรับการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ เช่น วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์แบบประจำที่ รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารทางเสียงอื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ด้วยเทคโนโลยี Voice over Internet Protocol (VoIP) เป็นการสถาปนาการสื่อสารที่เป็นเอกภาพในลักษณะของ Single Command ในภาวะภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับหนึ่งด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม หรือผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ยังสามารถใช้งานได้ในขณะนั้น

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จของระบบการสื่อสารแบบควบรวมให้เป็นไปตามกรอบความร่วมมือ APSCO กระทรวงไอซีทีร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการปรับปรุงระบบด้วยเทคโนโลยี GNSS และระบบ GIS โดยการปรับปรุงและเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้สามารถรองรับการทำงานที่สำคัญเพิ่มเติม อาทิ การระบุตำแหน่งที่เกิดภัยพิบัติ การวางแผนระบบสื่อสาร การให้ข้อมูลการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ข้อมูลเส้นทางอพยพ ข้อมูลพื้นที่ประสบภัยและการแจ้งเตือนภัย ซึ่งจะทำให้ระบบดังกล่าวมีศักยภาพในการสนับสนุนภารกิจในการจัดการด้านภัยพิบัติของประเทศได้ดียิ่งขึ้น

"การจัดสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้จากการพัฒนาระบบสื่อสารแบบควบรวมด้วยเทคโนโลยี GNSS แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถต่อยอดและพัฒนาปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการในอนาคต เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาระบบสื่อสารแบบควบรวมด้วยเทคโนโลยีระบุพิกัดจาก GNSS และสาธิตการใช้งานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามาถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการภัยพิบัติ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนให้มีความเข้มแข็งและสามารถแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างกันได้ในอนาคต รวมทั้งเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ปรับปรุงสมรรถนะของระบบสื่อสารแบบควบรวม ด้วยเทคโนโลยี GNSS ให้ดียิ่งขึ้น" นางสาวมาลี กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version