วธ. จัดเสวนา "เซ็กส์ในสื่อโฆษณา" ระดมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหาแนวทางแก้ไขปัญหาการนำภาพลักษณ์ทางเพศที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในสื่อโฆษณา

อังคาร ๒๒ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๖:๐๕
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 ที่โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯ ศ.ดร อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการเปิดเสวนา "เซ็กส์ในสื่อโฆษณา" ว่า ปัจจุบันสื่อโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดจำนวนไม่น้อยได้นำเอาภาพลักษณ์ทางเพศมาเป็นแกนหลักในการโน้มน้าวผู้บริโภคจนไม่อาจแน่ใจได้ว่าการที่ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้านั้นเป็นความต้องการในการใช้ประโยชน์ที่แท้จริงของสินค้าหรือเพราะคาดหวังในแรงดึงดูดทางเพศ ขณะเดียวกันยังได้มีการร้องเรียนจากประชาชนจำนวนมากผ่าน 1765 สายด่วนวัฒนธรรม เกี่ยวกับปัญหาผู้ประกอบการดำเนินการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการในลักษณะดังกล่าวจำนวนมากโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมที่ตามมา กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินการจัดการเสวนา "เซ็กส์ในสื่อโฆษณา" ขึ้น เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการนำเอาภาพลักษณ์ทางเพศที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในสื่อโฆษณา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแสวงหาทางออกในการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาดอย่างจริงจัง

"ประเด็นเซ็กส์ในสื่อโฆษณาไม่ได้เกิดขึ้นมาใหม่ เนื่องจากมีการผลิตสื่อโดยใช้ภาพลักษณ์ทางเพศหรือสรีระของผู้หญิงมานำเสนออย่างต่อเนื่องจนทำให้สังคมเกิดความเคยชิน เพราะปัจจุบันสื่อต่างๆก้าวกระโดดรวดเร็วมาก โดยเฉพาะโทรทัศน์ระบบเคเบิ้ล ดิจิตอล รวมถึงระบบผ่านมือถือ ซึ่งมีผลกระทบต่อเยาวชนและประชาชนในวงกว้าง ดังนั้น การมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเสวนาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และที่สำคัญการตีความในด้านเนื้อหาต่างๆ โดยตระหนักถึงคุณค่า คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรมนั้นจะทำให้สังคมเกิดภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างมาก" ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว

นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานคณะกรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การสื่อความหมายของคนรับสารมีความเข้าใจต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท ประสบการณ์ และวัย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะทำให้การตีความหมายแต่งต่างกัน ยกตัวอย่าง เด็กคนนึงดูแล้วน่าเกลียด เด็กคนนึง อยากดูต่อ เด็กคนนึงดูต่อยังเกิดความรู้สึก เป็นต้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการตีความหมายของแต่ละบุคคล ทั้งนี้สื่อโฆษณาในปัจจุบันนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นสื่อวิทยุและโทรทัศน์จะมีสำนักงานคณะกรรมกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำกับดูแล และมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นตัวกลาง แต่ปัจจุบันสื่อที่น่าเป็นห่วงคือสื่อออนไลน์เนื่องจากภาพที่ปรากฎไม่ใช่แค่ภาพโป๊แบบมีศิลปะแต่เป็นภาพโป๊ลักษณะแบบอนาจารซึ่งเป็นอันตรายสำหรับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตามกระทรวงวัฒนธรรมควรเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version