1. การรวมกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง เพราะปัจจุบันสินเกษตรมีการแข่งขันกันสูงมาก เกษตรกรจึงต้องมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุภาพรวมผลผลิต บริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพลดต้นทุนได้จริงๆ ซึ่งนอกจากการให้องค์ความรู้แล้ว ต้องให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งอย่างถูกต้อง ซึ่งส่วนนี้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ก็ต้องเข้ามาเสริม โดยใข้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ ทั้ง คน เทคโนโลยีที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เกษตรกรเข้าถึงให้ได้มากที่สุด
2. การทำงานอย่างโปร่งใส ปราศจากทุจริต ซึ่งได้เน้นย้ำกับทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะสหกรณ์ที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจากการรายงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ พบว่า ปัจจุบันสหกรณ์จำนวน 8,214 แห่งใน 7 ประเภทสหกรณ์มีความเข้มแข็งแล้ว แต่ยังมีบางสหกรณ์ยังต้องปรับปรุง ก็ได้สั่งการให้ไปจัดกลุ่มสหกรณ์ โดยให้มีการจัดเกรดสหกรณ์ชั้น A B C ซึ่งในส่วนที่เป็นสหกรณ์ในกลุ่มชั้นดี หรือ เกรด A อยู่แล้วก็ต้องรักษาไว้ให้ได้ ส่วนที่เป็นระดับ B หรือC ทั้งสองหน่วยงานก็ต้องร่วมกันดำเนินการพัฒนาให้ยกระดับสหกรณ์ให้ดีขึ้นให้ได้ โดยมีเป้าหมายกำหนดชัดเจน เพื่อประกาศได้เลยว่าทุกสหกรณ์ขึ้นสู่มาตรฐาน
ส่วนสุดท้าย คือ 3. การลดภาระปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ระยะเวลา วงเงินก็สูง ดังนั้น สิ่งจะเข้ามาทดแทนหรือช่วยได้มากที่สุด ให้เกษตรกรอยู่ได้ พึ่งพาตนเองได้ คือ การนำหลักเกษตรทฤษฏีใหม่ และหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งที่ตัวเองก่อน รวมถึงนำหลักการดังกล่าวไปใช้บริหารจัดการสหกรณ์ ได้ทั้งระดับกลางหรือระดับใหญ่ ซึ่งอยากจะเน้นย้ำสหกรณ์ทั้งประเทศเอาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นบทนำในการบริหาร