อุตสาหกรรมเตรียมพร้อมสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล”

พุธ ๓๐ กันยายน ๒๐๑๕ ๑๕:๑๗
สศอ. สำรวจ ความพร้อมภาคอุตสาหกรรม สู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล พบว่า ทุกภาคส่วนยังต้องการมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเร่งด่วน พร้อมการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานหรือบริการจากภาครัฐ เพื่อรองรับการดำเนินงานของผู้ประกอบการในการนำดิจิตอลอิโคโนมีมาใช้

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ศึกษาถึงความพร้อมของผู้ประกอบการไทยกับเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) จากการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการใน 16 สาขาอุตสาหกรรมถึงข้อดีและข้อเสียในการนำดิจิทัลอิโคโนมีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ มาตรการสนับสนุนที่ภาครัฐและเอกชนควรต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย และปัจจัยพื้นฐานหรือบริการที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนเพื่อรองรับการดำเนินงานของผู้ประกอบการ รวมถึงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอิโคโนมีที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุน

ข้อดีในการนำดิจิทัลอิโคโนมีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 49.55 เห็นว่าช่วยในการติดต่อสื่อสารกับทั้งในองค์กรและนอกองค์กร รวมไปถึงติดต่อกับลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น รองมาร้อยละ 25.08 ช่วยในการทำธุรกิจ ทำให้ระบบงานคล่องตัว สะดวกรวดเร็วและสามารถทำงานได้ทุกที่ ร้อยละ 15.11 เห็นว่าช่วยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและสินค้าของบริษัทได้หลายช่องทางมากขึ้นโดยมีค่าใช้จ่ายลดลง ร้อยละ 9.06 ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของงานเอกสารและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ที่เหลือร้อยละ 1.21 เห็นว่าช่วยเพิ่มยอดขายให้กับอุตสาหกรรม

ส่วนข้อจำกัดในการนำดิจิทัลอิโคโนมีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจที่ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นส่วนใหญ่ร้อยละ 43.82 เนื่องจากข้อมูลและรูปของผลิตภัณฑ์จะไม่เป็นความลับเพราะมีการโฆษณาออนไลน์ทำให้คู่แข่งรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ ซึ่งอาจโดนแฮ็กข้อมูลหรือโดนคัดลอกผลงานและผลิตภัณฑ์ได้ รองมาร้อยละ 41.01 เห็นว่าความแรงและระบบเครือข่ายของสัญญาณอินเตอร์เน็ตบางครั้งช้า หรือใช้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหากับการติดต่อสื่อสาร ร้อยละ 11.24 เห็นว่าการใช้งานผ่านระบบออนไลน์ทำให้อาจมีไวรัส แอบแฝงมาซึ่งเป็นอันตรายต่อข้อมูล ร้อยละ 2.25 เห็นว่า บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านไอทีมีอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูงและหายาก และร้อยละ 1.69 เห็นว่าการส่งข้อมูลที่สามารถทำได้รวดเร็ว ถ้ามีการส่งข้อมูลที่ผิดพลาดไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อบริษัทได้

เมื่อทำการสำรวจถึงมาตรการสนับสนุนที่ภาครัฐควรต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 52.86 เห็นว่าต้องจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงความรู้และข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้ดิจิทัลอิโคโนมีในการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้มีความเข้าใจและการนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ร้อยละ 30.48 เห็นว่าต้องพัฒนา

และขยายเครือข่ายสัญญาณให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 8.57 เห็นว่า ต้องประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลให้ผู้ประกอบการได้มีความเข้าใจมากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกิจ และร้อยละ 8.10 เห็นว่าต้องสร้างมาตรการการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้งานเกิดความมั่นใจในการนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้งานในภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น

ด้านมาตรการสนับสนุนที่ภาคเอกชนควรต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.12 ต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงระบบสื่อสาร สัญญาณอินเตอร์เน็ตให้มีความพร้อมและความเร็วสูงรองรับการใช้งานให้ได้ดีมากขึ้น รองมาร้อยละ 22.73 เห็นว่าต้องพัฒนาและใช้ความรู้พนักงานในองค์กรของตนเองให้มีความเข้าใจเรื่องระบบออนไลน์มากขึ้น ร้อยละ 11.62 เห็นว่า ผู้ประกอบการควรศึกษาหาข้อมูล เรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธภาพ และร้อยละ 3.54 ต้องจัดทำโปรแกรมหรือควรสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อเป็นตัวช่วยในการใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ส่วนปัจจัยพื้นฐานหรือบริการที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนเพื่อรองรับการดำเนินงานของผู้ประกอบการในการนำดิจิทัลอิโคโนมีมาใช้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.33 เห็นว่าต้องพัฒนาและขยายเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต วายไฟ และเพิ่มความเร็วของการใช้งานอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อรองรับการใช้ดิจิตอลอิโคโนมีในภาคธุรกิจมากขึ้น รองมาร้อยละ 34.01 เห็นว่าให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับดิจิตอลอิโคโนมีกับผู้ประกอบการเพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 9.14 เห็นว่าควรมีมาตรการการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้งานเกิดความมั่นใจในการนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้งานในภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น และร้อยละ 1.52 เห็นว่าควรพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเข้ามาเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการในการรองรับการแข่งขันที่มีมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอิโคโนมี ที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 54.47 เห็นควรให้สนับสนุนในการให้บริการสัญญานอินเตอร์เน็ตและวายไฟฟรีของทางภาครัฐให้มีเครือข่ายที่ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น รองมาร้อยละ 24.39 เห็นว่าควรสนับสนุนและพัฒนาในด้านการศึกษาให้สร้างและผลิตบุคลากรทางด้านไอทีที่มีความเชี่ยวชาญในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้มีเพียงพอต่อความต้องการที่มีมากขึ้นในอนาคต ร้อยละ 10.57 เห็นควรให้สนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพื่อให้การบริการสาธารณะแก่ประชาชนให้มีคุณภาพที่ ดีขึ้น ร้อยละ 4.07 เห็นควรให้สนับสนุนการใช้ดิจิทัลอิโคโนมีในธุรกิจการขนส่งเพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 4.07 เห็นควรให้สนับสนุนและพัฒนาให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ด้วยอัตราค่าบริการไม่แพง สะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพดี และ ที่เหลือร้อยละ 2.44 เห็นควรสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐปรับเปลี่ยนแนวคิดจากระบบการทำงานเดิมที่ล่าช้าเข้าสู่ระบบการทำงานดิจิตอล เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการกับประชาชนให้มากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๕ เม.ย. Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๒๕ เม.ย. ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๒๕ เม.ย. สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๒๕ เม.ย. คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๒๕ เม.ย. ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๒๕ เม.ย. ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๒๕ เม.ย. ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๒๕ เม.ย. พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๒๕ เม.ย. ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๒๕ เม.ย. SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ