ซึ่งการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตและก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำการให้บริการออกแบบของตลาดอาเซียนได้นั้นกลยุทธ์สำคัญคือการปูพื้นฐานการศึกษาสร้างบุคลากรด้านการออกแบบสร้างสรรค์ตั้งแต่ยังเป็นเยาวชน มกร เชาวน์วาณิชย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ CEREBRUM Design หนึ่งในผู้ประกอบการในโครงการ Design Service Society ได้ให้ความคิดเห็นว่า "เราควรปลูกฝังแนวคิดด้านการออกแบบลงไปในหลักสูตรการศึกษาเพื่อผลิตเยาวชนให้เป็น บุคลากรสร้างสรรค์ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กสายอาชีพหรืออาชีวศึกษาซึ่งพวกเขามีความพร้อมในสายงานด้านการผลิต อยู่แล้ว หากเราเติมเรื่องกระบวนการคิดสร้างสรรค์เข้าไปผนวกกับความรู้สายอาชีพ เราจะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มี ความพร้อมสำหรับการทำงานเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมได้จริง อย่างโครงการนำร่องที่ทาง CEREBRUM Design ได้ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ (SIBA) จัดทำหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบขึ้นสำหรับนักเรียน ปวช. และปวส. หลักสูตร 3 ปี ในลักษณะของการศึกษาแบบบูรณาการ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Project Based เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติงานจริงแทนการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน โดยจะได้เรียน ด้านการออกแบบตั้งแต่กระบวนการคิดเพื่อเปลี่ยน Mindset ให้พวกเขาคิดเชิงนวัตกรรม มองถึงความเป็นไปได้ ในอนาคตและสร้างต้นแบบที่เป็นจริง โดยผู้สอนด้านการออกแบบเป็นนักออกแบบมืออาชีพเพื่อให้นักศึกษาได้เกิด ทักษะนอกตำราจากประสบการณ์จริง ซึ่งเราต้องการให้เยาวชนเหล่านี้เมื่อจบการศึกษาไปแล้วมีศักยภาพเพียงพอที่ สามารถเข้าทำงานได้ทันที เพราะทุกวันนี้อะไรๆก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันทางธุรกิจก็สูง ดังนั้นถ้าเรา ยิ่งพัฒนาตัวเองเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เราก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำได้เร็วเท่านั้น เมื่อรากฐานความคิดของเยาวชน แข็งแกร่งพวกเขาจะกลายเป็นบุคลากรเชิงสร้างสรรค์ที่สำคัญของประเทศ เพราะการส่งออกบุคลากรด้านบริการ ออกแบบนี่แหละ ที่จะช่วยสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนอย่างแท้จริง"
จิราพร ทภัคกนก หรือพรรณ อายุ 17 ปี เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 ในหลักสูตรวิชาการออกแบบสาขาคอมพิวเตอร์ กราฟฟิก ที่ SIBA กล่าวถึงประสบการณ์การเรียนในหลักสูตรดังกล่าวว่าตนเองมีความสนใจด้านกราฟฟิคและ เมื่อได้เข้ามาเรียนได้ลงมือทำงานจริงตั้งแต่อยู่ชั้นปีที่ 1 ได้เรียนรู้วิธีการคิดเพื่อการออกแบบ กล้าที่จะนำจินตนาการ ออกมาทำให้เป็นรูปร่างจริง ประกอบกับได้ฝึกฝนการคิดและฝีมือในการออกแบบโดยระหว่างที่เรียนก็ได้ส่งผลงาน Animation เข้าประกวดในรายการกบนอกกะลา จนตอนนี้ขึ้นปีที่ 2 สามารถรับจ้างทำงานจริงได้แล้วโดยมีผลงาน วาดการ์ตูนกราฟฟิคให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งนั่นถือเป็นรายได้ครั้งแรกจากฝีมือการออกแบบของตนเอง ซึ่งพรรณมองว่าถ้าเรามีกระบวนการคิดสร้างสรรค์สามารถออกแบบผลงานที่ดีได้ ความคิดของเราก็สามารถขายและ หารายได้ได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับอายุของพรรณแล้วในวัยเพียง 17 ปีเทียบเท่ากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่านั้นเอง ก็สามารถทำงานจริงในองค์กรได้แล้ว นอกจากนี้การเรียนด้านการออกแบบอย่างบูรณาการนี้ ทำให้พรรณสามารถ กำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ โดยเธอมองว่าจะนำเอาแนวคิดและกระบวนการออกแบบมาสร้างแบรนด์สินค้าแฟชั่นของ ตัวเอง ประกอบกับมีการสนับสนุนในสายอาชีพออกแบบจากภาครัฐและสมาคมฯอย่างโครงการ Design Service Society ยิ่งทำให้เธอรู้สึกมั่นคงและมั่นใจที่จะเดินบนเส้นทางสายอาชีพการออกแบบ
การวางรากฐานสร้างบุคลากรด้านการออกแบบควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมบริการออกแบบที่ เข็มแข็งเพื่อรองรับบุคลากรที่จบใหม่ให้มีเวทีแสดงความสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ ถือเป็นโรดแมบที่จะนำพา ประเทศไทยก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นผู้นำทรัพยากรด้านความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถซับไพรส์ไปยังตลาดอาเซียน และ นานาประเทศได้ อันจะนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจการค้าการส่งออกให้เกิดการขยายตัว เพราะอุตสาหกรรม บริการออกแบบเป็นการให้บริการถ่ายทอดกระบวนการคิด สร้างต้นแบบนวัตกรรมแห่งอนาคตให้เป็นไปได้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำตามกระแสแต่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อให้เกิดความต้องการใหม่ๆของตลาด ดังนั้นการส่งออก ความคิดที่ไม่มีวันหมดสิ้นจึงยั่งยืนกว่าการเร่งผลิตสินค้าตามปริมาณดีมานด์ที่นับวันความต้องการก็จะเปลี่ยนแปลงเร็ว คู่แข่งก็มากขึ้น แถมเทคโนโลยีที่ทันสมัยยังทำให้คุณภาพสินค้าเท่าเทียมกันได้ไม่ยาก