นศ.มทร.ธัญบุรี คว้ารางวัล HIU & RMUTT 2015

พุธ ๐๗ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๔๕
กว่า 8 ปี ในการสร้างความร่วมมือระหว่างสองประเทศ นำโครงการการประกวด เชื่อมความสัมพันธ์ เพิ่มทักษะทางด้านเทคโนโลยี

รศ.ดร.ณฐา คุปตัษเฐียรเปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้ลงนามความเข้าใจ (MOU) กับ Hokkaido Information University ประเทศญี่ปุ่น ในการสร้างความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.ชัยยุทธ ช่างสาร Prof.Yuichi ANADA และ ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด เป็นผู้ดำเนินการประสานงานโครงการ และร่วมลงนามความเข้าใจ (MOU) ซึ่งมีอาจารย์และนักศึกษา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และกองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการผลักดัน กว่า 8 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัยเติบใหญ่และมีความแน่นแฟ้นกันมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารและคณาจารย์ จนถึงระดับนักศึกษา ก่อเกิดกิจกรรมต่างๆ รวมกันมากมาย

โดยเริ่มตั้งแต่การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหาร การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาผ่านโครงการประกวดออกแบบเว็บไซต์ (iWDC) ภาพยนตร์สั้น (iSFC) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (iCPC) และการแข่งขันหุ่นยนต์ (iETC) ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มนักศึกษาเกิดเป็นมิตรภาพที่ดีระหว่างสองมหาวิทยาลัย เป็นการเรียนรู้ถึงความเหมือนและความต่างของวัฒนธรรม เหมือนดังสะพานที่ทอดยาวเป็นสื่อกลางให้กับนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย สำหรับโครงการในปี 2015 ได้คัดเลือกนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 36 คน ภายใต้การประกวด 3 กิจกรรม ได้แก่ iWDC , iSFC และ iCPC โดยทำกิจกรรมร่วมกัน ณ ประเทศไทย 8 วัน ประเทศญี่ปุ่น 8 วัน กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ การลงมือปฏิบัติ (workshop) ทัศนศึกษาศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ และที่สำคัญเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักศึกษา การกล้าคิด การแสดงออกในทางที่ถูกต้อง การฝึกทักษะการสื่อสาร ถือเป็นกิจกรรมที่สอดประสานความเป็นวิชาการ และกิจกรรมได้อย่างลงตัว

โดยผลการประกวดของนักศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี การประกวดภาพยนตร์สั้น (iSFC) ผลงาน The law of happiness ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผลงานของนายรังสรรค์ พลอยสด และนางสาวฐิติพร ถาบู้ คณะศิลปศาสตร์ ผลงาน Loop ชนะเลิศอันดับสอง ผลงานของนายภูเบศ ชิตะปัญญา และ นายวรท สร้อยพงษ์ศิริ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ผลงาน 2025 รางวัลชนะเลิศอันดับสาม ผลงานของนายธีรพจน์ โกษา และนายณัฐนนท์ คงศรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน การประกวดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (iCPC) ผลงาน Location Detecting using AR location based Application ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผลงานของนายภัทราวุธ ชุมสาย ณ อยุธยา ผลงาน Tram Tracking Application รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานของ นายนิทัศน์ อนันต์ไพศาลสิน ผลงาน RMUTT information for touris รางวัลชมเชย ผลงาน ของนายสกุลเพชร บัวพันธ์ โดยทั้งหมดเป็นของนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน การประกวดออกแบบเว็บไซต์ (iWDC) ผลงาน HAPPY LIFE PRODUCT ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับสอง ผลงานของ นายวรายุทธ พานทอง ผลงาน Happy life is music รางวัลชนะเลิศอันดับสาม ผลงานของ นายภาณุศร อินทา ผลงาน Volunteer Sprit ผลงานของนายดุสิต มยาเศส และ ผลงาน happiness-change to giver ของนางสาวสุจิตรา ปิ่นศิริ ได้รับรางวัลชมเชย โดยทั้งหมดเป็นนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

"The law of Happiness" ชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดภาพยนตร์สั้น (iSFC) ผลงานของนายรังสรรค์ พลอยสด และนางสาวฐิติพร ฐาบู้ นักศึกษาสาขาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ สมาชิกทั้งสองเล่าว่า ในการประกวดมีโจทย์ "Future" โดยมีแนวคิดในการสร้างคือต้องการให้คนดูลืมเรื่องอนาคต ในการดำเนินเรื่องซึ่งมีตัวละคร ออกไปใช้ชีวิต โดยการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ และความสุขที่แท้จริงของชีวิต พร้อมทั้งต้องการบอกกับคนดูว่า "ลืมเรื่องอนาคตไปเสียบ้าง" แล้วมาใช้ชีวิตในทุกๆ วันให้มีความสุข มนุษย์ส่วนใหญ่จะฝากความหวังไว้กับอนาคต มีเพื่อนที่เข้าร่วมโครงการถามว่าทำไมเรียนศิลปศาสตร์จึงเข้าประกวด ด้วยความชอบ และรักในการเดินทาง จึงอยากบรรจุเรื่องราวต่างๆ ในรูปแบบวิดีโอ ภาพยนตร์สั้นจึงเป็นแนวการเดินทางตามสถานที่ต่างๆ และมีการเล่าเรื่องราวตามหัวข้อของการประกวด

ทางด้าน นายภัทราวุธ ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ชนะการประกวดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (iCPC) เล่าว่า ผลงาน Location Detecting using AR location โปรแกรมแอปพลิเคชั่นภายใต้หัวข้อ RMUTT Tour ระบบในการนำทางภายในมหาวิทยาลัย โดยการนำ (AR) ภาพเสมือนผสมโลกจริง เพื่อเพิ่มความสมจริงมากขึ้น ประโยชน์สามารถใช้นำทางในมหาวิทยาลัย สามารถดูรูปในสถานที่ต่างๆ "ทำให้การใช้แผนที่สนุก และสวยงามมากยิ่งขึ้น" การแข่งขันในครั้งนี้ได้รับประโยชน์ ได้ความรู้ใหม่ๆ ทางด้าน IT มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น

นายวรายุทธ พานทอง รางวัลชนะเลิศอันดับสองประกวดออกแบบเว็บไซต์ (iWDC) เจ้าของ ผลงาน HAPPY LIFE PRODUCT เล่าว่า เนื้อหาภายในเว็บไซต์สื่อถึงความสุขในรูปแบบ "ผลิตภัณฑ์แห่งความสุข" ใช้รูปแบบโรงงานแห่งความสุข (Happiness factory) ในการดำเนินเรื่อง ลักษณะภายในเว็บไซต์ ใช้อินโฟกราฟิก (Infographics) เพื่อสื่อให้มีความเข้าใจง่าย และสามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

16 วัน นักศึกษาทั้งสองประเทศได้เรียนรู้ประสบการณ์และพัฒนาทักษะในการออกแบบเว็บไซต์ เทคนิคการผลิตภาพยนตร์สั้นและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสอง พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ เรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และยกระดับขีดความสามารถด้านความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๔๖ นักศึกษา มจพ.คว้า 2 เหรียญทอง หมากรุกไทยและหมากรุกอาเซียน กีฬาแห่งชาติ จันท์เกมส์ ครั้งที่ 49 ณ จังหวัดจันทบุรี
๑๗:๒๗ JAS Group จัดกิจกรรม JAS Virtual Run ก้าวสู่ปีที่ 42 อย่างยั่งยืน
๑๗:๔๓ เจียไต๋เดินหน้าจัด เจียไต๋ โซเชียล เดย์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมพลังเจียไต๋อาสาทั่วประเทศปลูกความยั่งยืนให้ชุมชน
๑๗:๒๖ กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน อัลตร้า นอริชชิ่ง ลิป แอมพูล มาสก์ เติมความชุ่มชื้นให้ปากฉ่ำในช่วงฤดูหนาวนี้
๑๗:๔๑ 3 ร้านอาหารเครืออิมแพ็ค แนะนำเมนู Festive เชิญร่วมฉลองส่งท้ายปีกับเมนูแสนอร่อย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 ธันวาคม
๑๗:๒๔ กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน กิฟฟี่ ฟาร์ม คิดส์ เจล ทูธเพสท์ สำหรับเด็กๆ
๑๗:๑๑ โคคา-โคล่า ไทยน้ำทิพย์ นำโรงงานรังสิตคว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงาน ชูนวัตกรรมด้านความยั่งยืนในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
๑๗:๔๕ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับพันธมิตร เตรียมจัดงาน WOW 2025: Wonder Of Well-Living City เมืองดี คนมีพลัง ยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน
๑๗:๔๓ กทม. เร่งแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสอง ขอความร่วมมือชุมชนไม่ทิ้งขยะ-เศษอาหารลงคลอง
๑๗:๐๖ ดั๊บเบิ้ล เอ รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่อง