กรมควบคุมโรค จับมือ สตช. และ สคบ. ร่วมหาแนวทางการดำเนินคดีกรณีการใช้ศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

พฤหัส ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๔๙
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 ที่กรมควบคุมโรค นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมพลตำรวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินคดีกรณีการใช้ศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551

จากกรณีดังกล่าว ตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บัญญัติไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิจารณาความผิด 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 "โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ซึ่งการโพสต์รูปเพื่อประโยชน์ทางการค้าต่อธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมายนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม้ได้รับค่าจ้างในการโฆษณาก็ตาม ส่วนกรณี 2 "การแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรืออ้อม"

ในกรณีนี้ก็อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม เพราะตนเองเป็นบุคคลสาธารณะที่เด็ก เยาวชน และบุคคลทั้งไปนิยมชมชอบและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม จึงย่อมเป็นความผิดเช่นกัน

นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวอีกว่า ในการปรึกษาหารือครั้งนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมให้ความร่วมมือกับกรมควบคุมโรคในการดำเนินการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และในวันนี้ กรมควบคุมโรค ได้ยื่นหนังสือขอความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบข้อมูลประกอบเชิงลึกของศิลปิน ดารา และผู้มีชื่อเสียงตามเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงความเชื่อมโยงของผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมเป็นคณะทำงานในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามเรื่องร้องเรียนและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551

ด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กล่าวเสริมว่า สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการ มีดังนี้ 1.รวบรวมหลักฐานจากสื่อออนไลน์ที่ลงภาพในลักษณะที่เข้าข่ายความผิด ทั้งพยานหลักฐาน พยานบุคคล รวมถึงการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำ ทั้งผู้ร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน และศิลปิน ดารา 2.นำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายจากหลายภาคส่วน เพื่อพิจารณาดำเนินการและให้ความคิดเห็นในเรื่องนี้ 3.นำสำนวนร้องทุกข์กล่าวโทษเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีต่อ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โทร 02 590 3342 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรคโทร 1422

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025