ทีมมารผจญ ศิษย์ตากะจะ ครองแชมป์จรวดขวดน้ำประเภทแม่นยำระดับมัธยม ด้วยสถิติ 0.19 เมตร อพวช. พร้อมส่งเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมแข่งขันระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กับตัวแทนเยาวชนอีกกว่า 11 ประเทศ

จันทร์ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๒๕
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด และมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค เดินหน้าสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ จัดการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 14 โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและปิดการแข่งขัน ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี ผลปรากฎว่า ทีม.... จากโรงเรียน... คว้าแชมป์ชนะเลิศประเภทแม่นยำระดับมัธยม โดยจะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยกับตัวแทนเยาวชนอีกกว่า 11 ประเทศ ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่อไป

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 14 รอบชิงชนะเลิศว่า ผู้ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนในครั้งนี้ ทั้งที่ผ่านการคัดเลือกและไม่ผ่านการคัดเลือก ถือได้ว่าทุกคนได้ร่วมกันสร้างสังคมของประเทศไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้ ซึ่งประเทศเราจะพัฒนาหากทุกคนช่วยกัน เพราะกระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดที่ได้จากกิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่จะสามารถนำไปใช้กับการค้นหาคำตอบ และการหาความรู้ในด้านต่าง ๆ ในอนาคต จึงขอให้ทุกคนเก็บประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป แม้ว่าเราจะไม่ได้รางวัลก็ตาม

สำหรับกิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำที่มีการจัดการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 14 ปี จนถึงวันนี้เราก็ได้เห็นผลผลิตที่ทุกภาคส่วนช่วยกันการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ปลูกฝังเยาวชนเรื่องกระบวนการคิด ทดลอง วิจัย และพัฒนาเป็นตัวอย่างของ Project – based Learning ที่เป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น บางคนได้เข้าไปอยู่ในทีม Formula One ของสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลายคนเข้าไปเรียนต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ บางคนเรียนจบไปเป็น Logistics Engineer Manner ของ SCG Chemical หรือทำงานในตำแหน่ง Production Planning ของบริษัท NSGT เป็นต้น

นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า กิจกรรมแข่งขันจรวดขวดน้ำ เป็นกิจกรรมหนึ่งของ อพวช. ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่เน้นกระบวนการคิด การวิเคราะห์ และการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา และลงมือทำเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ โดยนำเรื่องที่กำลังกล่าวถึง คือ STEM มาใช้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์(S) ได้แก่ แรง โพรเจคไทล์ มุมยิง ฯลฯ เรื่องเทคโนโลยี(T) ได้แก่ การบิน การลอยตัว วิศวกรรม(E) ได้แก่ การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำให้มีความเหมาะสมในการแข่งขันแต่ละประเภท คณิตศาสตร์(M) ได้แก่ คำนวณแรงลม ทิศทาง มุมยิงจากแท่นยิง ความไกล เรียกว่าใช้คำว่า STEM มาประยุกต์ใช้ในการแข่งขันจรวดขวดน้ำได้อย่างครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างสรรค์ประดิษฐ์จรวดให้เกิดความสวยงามอาจจะรวมถึงศิลปะ(A) เข้ามาอีกด้วยที่ผ่านมา อพวช. ได้กำหนดให้กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมประจำปี จนถึงปัจจุบันรวมเป็นระยะเวลา 14 ปีแล้ว โดยได้รับความสนใจจากทั้งอาจารย์และนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ยืนยันได้จากจำนวนทีมที่สนใจสมัครเข้าแข่งขัน จาก 267 ทีมในปีแรก กลายเป็น 1,137 ทีมในปีนี้ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากบริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด ในการประชาสัมพันธ์โครงการและของรางวัลสนับสนุน

และในปีนี้ ทางมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ได้ร่วมทำงานในฐานะเจ้าภาพหลักในการจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา โดยมีเยาวชนจากทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบรองชนะเลิศจำนวน 298 ทีม และเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 49 ทีม สำหรับทีมเยาวชนที่ชนะการประกวดประเภทแม่นยำจะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกต่อไป

นายประพาฬพงษ์ มากนวล รองผู้อำนวยการกลุ่มด้านสื่อสารองค์กร และกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มทรู กล่าวว่า ทรูวิชั่นส์ ในฐานะสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมไทย ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนทั้งในด้านการศึกษา และกีฬาอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 10 ปี โดยร่วมมือกับองค์กรหลาย ๆ องค์กรที่มีความมุ่งหวังในการทำประโยชน์เพื่อสังคม ในการจัดกิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชนขึ้น เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเปิดประสบการณ์ใหม่ เปิดโลกแห่งการเรียนรู้และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์

สำหรับความร่วมมือกับ อพวช. นั้น กลุ่มบริษัททรู ได้ร่วมจัดโครงการที่เป็นประโยชน์กับเยาวชน อาทิ โครงการค่ายเยาวชนทรู โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย และโดยเฉพาะโครงการการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ที่ทรูวิชั่นส์ให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยการประมวลเป็นภาพกิจกรรมการแข่งขัน ออกอากาศผ่านทางทรูวิชั่นส์กว่า 20 ช่องรายการ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับทราบว่าเยาวชนไทยของเรามีความสามารถ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชนที่มีความสนใจต่อไป และขอแสดงความยินดีกับเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ การที่ได้ก้าวเข้ามาสู่รอบชิงชนะเลิศในวันนี้จึงเป็นความสำเร็จที่เกิดจากทักษะความสามารถทางวิทยาศาสตร์และความสามัคคีของทุกคนในทีม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

โดยทีมโรงเรียนที่ชนะเลิศในประเภทความไกลและคะแนนรวม จะได้รับทุนการศึกษาจาก อพวช. ทีมละ 20,000 บาท ประเภทแม่นยำ 10,000 บาท และประเภทการนำเสนอผลงานฯ 5,000 บาท นอกจากนั้น ยังมีโล่เกียรติยศและของรางวัลอีกมากมายจาก บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version