เนื้อเยื่อเต้านมประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมัน (fatty) และเนื้อเยื่อชนิดต่อมเต้านม (fibroglandular tissue) กรณีที่เต้านมมีเนื้อเยื่อชนิดต่อมเต้านมมากกว่า 50% จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "เนื้อเยื่อเต้านมมีความหนาแน่นสูง" ทั้งนี้ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เปิดเผยว่าประสิทธิภาพการทำแมมโมเกรมที่ใช้ตรวจคัดกรองผู้หญิงที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงจะลดลง 36 ถึง 38 เปอร์เซ็นต์ เพราะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมจะบดบังก้อนเนื้อไว้*2
*1. The Application of Breast MRI on Asian Women (Dense Breast Pattern), Ting Kai Leung, Taipei MedicalUniversity & Hospital, Taipei, Taiwan
*2. Mandelson et al. Breast density as a predictor of mammographic detection: comparison of interval- andscreen-detected cancers. J Natl Cancer Inst 2000; 92: 1081–1087
นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงจะมีโอกาสเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 4-6เท่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่เนื้อเยื่อเต้านมมีความหนาแน่นต่ำ3
เต้านมประกอบด้วยไขมันและเนื้อเยื่อเต้านม ผู้หญิงบางคนมีไขมันมากกว่าเนื้อเยื่อเต้านม ขณะที่บางคนก็มีเนื้อเยื่อเต้านมมากกว่าไขมัน เมื่อทำการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยเครื่องแมมโมแกรมในผู้หญิงที่มีเนื้อเยื่อเต้านมมากกว่าไขมัน ภาพถ่ายที่ได้บนฟิล์มเอ็กซเรย์จะเป็นสีขาว ซึ่งหมายถึงพบว่ามี "ภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อสูง" และเนื่องจากก้อนเนื้อในเต้านมก็จะปรากฏเป็นสีขาวบนฟิล์มเอ็กซเรย์จากการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเช่นกัน ดังนั้นก้อนเนื้อดังกล่าวจึงอาจถูกบดบังไว้โดยเนื้อเยื่อ
เต้านมส่วนที่มีความหนาแน่นสูง ดังที่มีการเปรียบเทียบว่าการมองหาเนื้อร้ายในเนื้อเยื่อเต้านมที่มีความหนาแน่นสูงนั้น เสมือนการมองหาลูกบอลหิมะท่ามกลางพายุหิมะ ซึ่งเป็นการอธิบายว่าทำไมความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมที่สูงจึงสามารถปกปิดมะเร็งเต้านมเอาไว้ได้ เราจะเห็นได้ว่าทั้งเนื้อเยื่อ
เต้านมที่มีความหนาแน่นสูงและก้อนเนื้อร้ายจะปรากฏเป็นภาพสีขาวบนฟิล์มเอ็กซเรย์ที่ได้จากการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม ดังนั้นเนื้อร้ายจึงสามารถซ่อนตัวได้อย่างง่ายดายอยู่เบื้องหลังเนื้อเยื่อ
เต้านมที่มีความหนาแน่นสูงโดยที่เราสังเกตไม่เห็นเนื่องจากต่างก็แสดงภาพเป็นสีขาว ในขณะที่เนื้อเยื่อที่เป็นไขมันจะแสดงผลภาพเอ็กซเรย์ออกมาเป็นสีเทาซึ่งเราจะสามารถแยกแยะส่วนที่เป็นก้อนเนื้อสีขาวที่เป็นเนื้อร้ายออกมาได้ทันที
ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการใช้มือคลำหรือโดยการแสดงพยาธิสภาพของเต้านมจากผลการตรวจร่างกาย หากแต่สามารถตรวจพบด้วยการประเมินผลจากการทำแมมโมแกรมเท่านั้น รังสีแพทย์สามารถประเมินภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมในขณะที่แปลผลที่ได้จากการทำแมมโมแกรม และเนื่องจากการเอ็กซเรย์เต้านม (แมมโมแกรม) มีข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยผู้หญิงที่มีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง ดังนั้นการเพิ่มวิธีการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการอัลตราซาวด์เพิ่มเติมจากการทำแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มโอกาสตรวจพบมะเร็งได้มากขึ้น
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว เป็นความจริงที่ว่าผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามักมีภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงกว่า และโดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นก็จะเกิดภาวะไขมันเข้าไปทดแทนเนื้อเยื่อเต้านม อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าอัตราการเกิดภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงจะแตกต่างกันตามอายุ โดยผู้หญิงในช่วงอายุ 40 ปี มีภาวะนี้ 74%, ผู้หญิงในช่วงอายุ 50 ปีมีโอกาสเกิดภาวะนี้ 57%, ผู้หญิงในช่วงอายุ 60 ปีมีอัตรา 44% และผู้หญิงในช่วงอายุ 70 ปีมีโอกาสเกิดภาวะนี้ 36%4
*3. Boyd NF et al. Mammographic Density and the Risk and Detection of Breast Cancer. NEJM 2007; 356: 227-36.
*4. Checka CM, Chun JE, Schnabel FR, Lee J, Toth H. The relationship of mammographic density and age:implications for breast cancer screening. AJR Am J Roentgenol. 2012 Mar; 198 (3): W292-5.
ภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงเป็นสิ่งที่เกิดกับร่างกายเช่นเดียวกับลักษณะทางร่างกายในส่วนอื่นๆ และไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถพยายามเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดก็คือการเป็นฝ่ายรุกด้วยการหมั่นดูแลตรวจสุขภาพเต้านมและมีความรู้ความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม
สนับสนุนโดย บริษัท จีอี ประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจาก จีอี เฮลธ์แคร์