CAC เป็นโครงการที่บริษัทเอกชนเข้าร่วมตามความสมัครใจ ปัจจุบัน มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันกับโครงการ CAC แล้ว 525 บริษัท (เป็นบริษัทจดทะเบียน 295 บริษัท) เพิ่มขึ้นจาก 406 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557 ขณะที่จำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเพิ่มขึ้นเป็น 133 จาก 78 บริษัทเมื่อสิ้นปี 2557 ทั้งนี้ CAC ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็น 600 บริษัท และเพิ่มจำนวนบริษัทที่ผ่านการรับรองเป็น 200 บริษัทภายในปี 2558
"การพิจารณาให้การรับรองของ CAC รอบนี้ เป็นครั้งแรกที่ดำเนินการภายใต้กระบวนการใหม่ที่มีความเข้มข้นมากขึ้น การที่มีบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมประกาศเจตนารมณ์และยื่นขอรับรองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนกำลังตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการที่จะสร้างระบบธุรกิจของไทยให้เป็นระบบที่สะอาดปราศจากการทุจริตได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการลงมือทำจริงของบริษัทในภาคเอกชน" ดร. บัณฑิต กล่าว
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ทางคณะกรรมการ CAC ได้เพิ่มข้อกำหนดเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระบวนการรับรองบริษัทที่ผ่านการประเมินตนเองว่ามีนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนด โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับในภาคเอกชน 8 ท่านมาร่วมทำหน้าที่คณะกรรมการพิจารณารับรอง (Certification Committee) และได้เพิ่มข้อกำหนดให้บริษัทจัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการขอการรับรอง รวมถึงได้กำหนดกรอบเวลาให้บริษัทที่ยื่นประกาศเจตนารมณ์ต้องมีการดำเนินการให้ผ่านการรับรองภายใน 18 เดือน และเมื่อผ่านการรับรองครบสามปีแล้วต้องยื่นขอรับรองใหม่ (Re-certification)
รายชื่อ 11 บริษัทที่ผ่านการรับรองในไตรมาสที่ 3/58
1) บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด
2) บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน)
3) บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ตะวันอออกพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
5) บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
6) บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
7) บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
8) บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน)
9) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บางกอกแคปปิตอล จำกัด
10) บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
11) บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน)
* ในไตรมาสนี้ คณะกรรมการ CAC ได้พิจารณาให้การรับรอง บริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งยื่นขอรับรองใหม่ (Re-certification) หลังจากที่ใกล้ครบกำหนดสามปี
การประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันและการจ่ายสินบนของบริษัทที่เข้าร่วม ส่วนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC หมายถึงบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC และได้ผ่านกระบวนการประเมินตนเอง ที่มีการสอบทานและลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ว่าบริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตครบถ้วนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด ซึ่งกระบวนการรับรองของโครงการ CAC รวมถึงการชี้แจงข้อมูลและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้กับคณะกรรมการ CAC พิจารณา ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อสงสัยหรือบริษัทเคยมีข่าวเกี่ยวกับการทุจริตมาก่อน
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CAC และรายชื่อของบริษัทที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ และผ่านการรับรองได้จาก: , http://www.thai-cac.com