สมศ. ดึง 3 หน่วยงานการศึกษาร่วมหารือ ปั้น 3 ตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

จันทร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๒๐:๓๔
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. รับนโยบายพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับคณะทำงาน จากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นต้น โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะทำงาน กรอบการหารือเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ภายใต้ 3 กลุ่มตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์/เอกลักษณ์ และ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม การประชุมหารือจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ.2558 ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล

สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาการประเมินคุณภาพภายนอก 3 รอบที่ผ่านมา สมศ. ได้มีการพัฒนาเกณฑ์ตัวบ่งชี้มาเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 โดยล่าสุดเพื่อคุณภาพของการประเมินในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 (พ.ศ.2559 – พ.ศ.2563) ที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะทำงาน จากหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมหารือ กับ สมศ. เกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน เพื่อให้ได้ข้อยุติในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ในวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ.2558

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ในการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และ สมศ. เพื่อกำหนดเกณฑ์ตัวบ่งชี้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา หลักการพัฒนาตัวบ่งชี้ยึดกรอบมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐานตามกฎกระทรวง ได้แก่การบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการจัดการศึกษา และการประกันคุณภาพภายใน โดยการประเมินจะคำนึงถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ จากผลการจัดการเรียนการสอนของครูโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้กำหนดเป็น 3 กลุ่มตัวบ่งชี้ เพื่อให้การประเมินมีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถกำหนดตัวบ่งชี้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ความเชี่ยวชาญของสถานศึกษา นำไปสู่การร่วมพัฒนาสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ตัวบ่งชี้พื้นฐาน เป็นตัวบ่งชี้ที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ตามภารกิจของสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพมาตรฐานขั้นต่ำตามที่ สมศ. กำหนดและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ต้องการให้เด็กไทยได้รับโอกาสศึกษาในสถานศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ผลการประเมินจาก สมศ. จะเป็นแนวทางในการให้ต้นสังกัดให้การสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษาได้ตรงจุด ตรงประเด็น รัฐบาลจะให้ข้อมูล ที่ ถูกต้องเป็นจริง ในการกำหนดนโยบายและให้การสนับสนุน เพื่อให้สถานศึกษาได้พัมนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

2. ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์/เอกลักษณ์ คือคุณลักษณะของลูกศิษย์ที่เกิดขึ้นตามปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่สถานศึกษาต้องกำหนดขึ้นเอง เพื่อให้สะท้อนเป้าหมายที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ โดยตัวบ่งชี้อัตลักษณ์จะเป็นผลผลิตที่ขยายวงจากพื้นที่ห้องเรียนไปสู่พื้นที่รั้วโรงเรียน ส่วนเอกลักษณ์หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา (Best Practice) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา

3. ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้สถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ทำหน้าที่ชี้แนะ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐบาล โดยให้สถานศึกษาทุกระดับกำหนดเองตามความจำเป็น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา และสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป อาทิ ปัญหาสุขภาพ อาชญากรรม การล่วงละเมิดทางเพศ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ดังนั้นตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมจึงเป็นการสร้างห้องเรียนให้มีชีวิตจากพื้นที่ภายในรั้วโรงเรียนออกไปสู่สังคม

ทั้งนี้ สมศ. ได้ถือเป็นหลักปฏิบัติในการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบการพิจารณา ปรับปรุงตัวบ่งชี้ให้เหมาะสมตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 โดยกำหนดเป็นนโยบาย "ลดภาระ สร้างสรรค์ กัลยาณมิตร" อันเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพอันจะส่งผลให้สถานศึกษาสามารถนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ