หาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการตีความคำว่า "ค้ามนุษย์" และการปรับปรุงระบบคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
นายไมตรี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจใน "การตีความการค้ามนุษย์" เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างภาครัฐด้วยกัน และระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนต่างๆ เช่น กรณีโรฮีนจาการสมัครใจค้าประเวณี โดยเฉพาะกรณีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี และ แรงงานขัดหนี้ ว่าเป็นการค้ามนุษย์หรือไม่เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาแบบสัมภาษณ์เบื้องต้นสำหรับคัดแยกผู้เสียหายฉบับปรับปรุง คำอธิบายแบบสัมภาษณ์ และกรณีตัวอย่างประกอบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ
"หลังจากการประชุมในวันนี้ กระทรวงพัฒนาสังคมฯ จะได้เสนอคณะกรรมการการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ให้ความเห็นชอบการใช้แบบคัดแยกแบบเดียวกันทั่วประเทศ และจัดอบรมสร้างความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพต่อไป" นายไมตรี กล่าวท้าย