"ปัจจุบันผู้ประกอบการมาใช้ ศูนย์ BOC ยังไม่มากนัก ผมจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงเป็นศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ (BSC: Business Service Center) ซึ่งจะมีการพัฒนา 3 จุดสำคัญ เพื่อให้บริการเอสเอ็มอีที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น คือ 1.ข้อมูลเนื้อหาต้องครบวงจร (Content) ตามที่เอสเอ็มอีต้องการและเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ 2.มีที่ปรึกษาซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ประจำอยู่ที่ศูนย์ฯ เพื่อให้บริการกับผู้มาติดต่อ และ3.การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้บริการแบบออนไลน์" ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
โดยเบื้องต้นจะพัฒนาศูนย์หลัก เพื่อให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบ 4 ศูนย์ คือ ศูนย์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 และกล้วยน้ำไท ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ส่วนศูนย์ที่ให้บริการแบบทั่วไปอีก 8 ศูนย์จะอยู่ตามศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคต่างๆ
ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขอรับบริการศูนย์ BOC ได้ 3 ช่องทาง คือ การติดต่อโดยตรงที่ศูนย์ฯ ผ่าน Call Center1358 และผ่านทางเว็บไซต์http://boc.dip.go.th/ ทั้งนี้ การยกเครื่องศูนย์จาก BOC เป็น BSC จะช่วยบริการเอสเอ็มอีในลักษณะเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ในบริการหลักที่จำเป็น และสามารถส่งต่อเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ด้วย
"สำหรับงบประมาณปกติในการช่วยเหลือและพัฒนาเอสเอ็มอีของภาครัฐ มีประมาณ 2,600 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะของบประมาณจาก สสว. วงเงิน 630 ล้านบาท มาช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาและได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งภาคการค้าบริการ และภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยกระทรวงฯจะว่าจ้างที่ปรึกษาธุรกิจ เข้าไปช่วยวินิจฉัยปัญหาและแนะนำถึงในสถานประกอบการตั้งแต่ 3-12 วันขึ้นอยู่กับโครงการ เพื่อปรับแผนธุรกิจแบบเร่งด่วนได้อย่างทันท่วงที ตั้งเป้าหมายช่วย เอสเอ็มอีจำนวน 17,000 ราย เพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้ต่อไป ส่วนมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้านต่างๆแบบบูรณาการ กสอ. อยู่ระหว่างการรวบรวมอยู่ และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีในเร็วๆนี้" นายอาทิตย์ กล่าวส่งท้าย