ซีพีเอฟ ย้ำจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย เป็นธรรม ตามหลักสิทธิมนุษยชน

จันทร์ ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๑:๐๖
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตอกย้ำนโยบายจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายตามมาตรฐานสากล มีความเป็นธรรมและมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย โดยเฉพาะการจ้างแรงงานกัมพูชากว่า 3,400 คน เพื่อทำงานในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ที่สระบุรีและนครราชสีมา ตามบันทึกข้อตกลงการนำเข้าแรงงานระหว่างประเทศไทยกับประเทศภาคี

นายสุชาติ สิทธิชัย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ในฐานะผู้บริหารโรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา กล่าวว่า บริษัทฯตระหนักดีถึงความสำคัญของแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศกัมพูชาและประเทศเมียนมา ในการช่วยสนับสนุนการผลิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้นบริษัทจึงกำหนดเป็นโยบายการจ้างแรงงานต่างด้าวด้วยความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ได้มาตรฐานสากล ตามหลักสิทธิมนุษยชน และต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์

ปัจจุบัน โรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา มีการจ้างแรงงานกัมพูชาจำนวน 2,300 คน ซึ่งทุกคนเป็นการจ้างตรงโดยบริษัทฯ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทย ในการคัดเลือกบริษัทตัวแทนด้านแรงงานที่ได้ใบรับรองจากรัฐบาลในกัมพูชาและตรวจสอบมาตรฐานโดยกระทรวงแรงงานไทย เพื่อรวบรวมแรงงานสมัครใจส่งมอบให้กับ ซีพีเอฟ

ในการนี้ ซีพีเอฟ ได้ให้การต้อนรับ ฯพณฯ อีท โซเฟีย เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย ในโอกาสที่เดินทางไปเยี่ยมชมการทำงานของแรงงานชาวกัมพูชาที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา เพื่อรับฟังแนวนโยบายของบริษัทในเรื่องแรงงานต่างด้าว และให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สวัสดิการและมาตรฐานการปฏิบัติต่อแรงงานชาวกัมพูชาอย่างเท่าเทียมกันกับแรงงานไทย เป็นธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ

นายสุชาติ กล่าวว่า แรงงานชาวกัมพูชาที่ได้รับการเลือกจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีตั้งแต่ ตัวแทนด้านแรงงานกัมพูชาส่งมอบแรงงานให้กับบริษัทที่ชายแดน ด่านคลองลึก ตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว ทั้งอาหารและพาหนะ รวมถึงการนำไปทำใบอนุญาตทำงาน ตรวจร่างกาย ฯลฯ ซีพีเอฟ เป็น ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าทั้งหมด ตามนโยบายจ้างตรงของบริษัท หลังจากนั้น แรงงานชาวกัมพูชาจะได้รับความรู้และการฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นเวลา 5 วัน ก่อนเข้าทำงานจริงในสายการผลิต รวมถึงการจัดหอพักและรถรับ-ส่งฟรี ระหว่างที่พักกับโรงงานให้เพื่ออำนวยความสะดวก

นอกจากนี้ แรงงานชาวกัมพูชายังได้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานไทยเท่าเทียมกับแรงงานไทย เช่น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าในวันทำงานปกติ และ 2 เท่าในวันหยุด (วันหยุดนักขัตฤกษ์ 16วัน/ปี) ลาป่วย 30 วัน ลากิจ 7 วัน และลาพักผ่อนไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี มีประกันสังคม และค่ารักษาพยาบาล

ซีพีเอฟ ยังได้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของแรงงานชาวกัมพูชาในเรื่องของภาษาด้วย โดยจัดตั้งศูนย์ประสานงานกัมพูชา-ไทย ซึ่งมีล่ามภาษากัมพูชาประจำศูนย์ เพื่อช่วยการสื่อสารทั้งในโรงงานและกรณีฉุกเฉิน นายสุชาติ กล่าว

"แรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานกับเราสามารถส่งเงินกลับไปให้ญาติที่บ้านอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเดือนละประมาณ 8,000 บาท และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งหลายคนมากที่มาจากหมู่บ้านเดียวกัน" นาย สุชาติ กล่าว

นายสุชาติ กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกับแรงงานไทย ซึ่งล่าสุดบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) ระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุด ตอกย้ำแนวทางการดูแลแรงงานของซีพีเอฟมุ่งสร้างความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และได้มาตรฐานสากล เพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงานทุกคนในสถานประกอบการ./

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ